การวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จากทั่วทุกมุมโลกทำให้เทคโนโลยีในด้านนี้มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ และหากเราสังเกตดูดีๆแล้ว การพัฒนาหุ่นยนต์ในแต่ละทวีปนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันเล็กน้อย
การพัฒนาหุ่นยนต์ในโซนเอเชียโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นนั้น เน้นหนักในงานวิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์เสมือนคน (Humanoid) ในขณะที่งานวิจัยจากประเทศตะวันตกนั้น กลับเป็นงานวิจัยหุ่นยนต์ในเชิงระบบอัตโนมัติและเครื่องจักรอัจฉริยะ
จนมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ความเชื่อทางศาสนาของนักวิจัยนั้นมีผลต่องานวิจัยเหล่านี้หรือไม่?
ทาง The folks กลุ่่มนักพัฒนาโปรแกรม iphone ได้เผยแพร่โปรแกรมปลดล็อก iphone เพื่อที่จะให้สามารถใช้ ซิม ของเจ้าอื่นแบบฟรีๆแล้ว
โปรแกรมรวมทั้ง source code ยังคงเปิดให้ดาวน์โหลด ควบคู่กันไปด้วยที่ Gizmodo mirror ส่วนวิธีการใช้ทีมพัฒนายังไม่ทำออก ซึ่งคาดว่าจะนำออกมาเผยแพร่เร็วๆนี้
ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ทาง iphonesimfree เพิ่งจะขาย โปรแกรมปลดล็อกในราคา 99$
ไมโครซอฟท์เริ่มออกโรง กันวิสตาเถื่อน
โดยทำการเปิด Reduced Functionality mode ทำให้หน้าจอของผู้ใช้งานวิสต้าแบบไม่มีลิขสิทธิ์ทั้งหมด แสดงสีดำสนิททั้งหน้าจอ เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง ผู้ใช้ไม่สามารถกดอะไรได้เลยแม้กระทั่งตัว desktop เอง (หรือกดได้แต่มองไม่เห็น)
คนที่ใช้วิสต้าอยู่คงร้อนๆ หนาวๆ กันนิดหน่อยละครับ
ปล. รอดูตัวแก้อีกเหมือนเดิม
ที่มา : Slashdot,,
บริษัท TerraNet AB. ในสวีเดน ได้พัฒนาระบบการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ ให้ใช้พื้นฐานแบบ peer-to-peer ซึ่งจะทำให้เครื่องลูกข่ายติดต่อกันได้โดยตรงในรัศมี ๒ ก.ม. โดยไม่ต้องมีสถานีฐาน (Base Station) และสามารถเชื่อมโยงสัญญาณต่อกันเป็นเครือข่าย ซึ่งจะทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป ผ่านทางเครื่องที่อยู่ระหว่างทางได้ด้วย (อ่านจากเว็บไซต์ สามารถเชื่อมต่อได้ 7 ช่วงเครื่อง) ทั้งหมดนั้นหมายความว่า ผู้ใช้ จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์แต่ละครั้งด้วย
ทุกวันเสาร์ที่สามของเดือนกันยายนจะเป็นวัน Software Freedom Day หรือวันส่งเสริมการใช้งานซอฟต์แวร์เสรี/โอเพนซอร์ส โดยบรรดาอาสาสมัครจะช่วยกันจัดงานส่งเสริมโอเพนซอร์สในรูปแบบต่างๆ กระจายกันไปตามที่ต่างๆ ทั่วโลกในวันเดียวกัน (ตัวเลขปี 2005 มีมากกว่า 300 ทีมจาก 60 ประเทศ ส่วนของปีนี้ดูแผนที่)
ไมโครซอฟท์และบริษัท Tmsuk จากญี่ปุ่นได้ประกาศความร่วมมือในการนำซอฟต์แวร์ Microsoft Robotics Studio (MSRS) มาใช้ในหุ่นยนต์ของตัวเอง
บริษัท Tmsuk นั้นเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ได้ทำการผลิตเครื่องจักรและหุ่นยนต์มาตั้งแต่ปี 1992 ซึ่งหุ่นยนต์ที่ผลิตนั้นมีทั้งหุ่นยนต์ที่ใช้ล้อในการเคลื่อนที่ และหุ่นยนต์เสมือนคน (Humanoid) โดยหุ่นยนต์แต่ละชนิดจะถูกออกแบบสำหรับงานที่แตกต่างกันไป เช่นหุ่นยนต์ทำงานออฟฟิศ และหุ่นยนต์ช่วยดูแลสุขภาพมนุษย์
หลายๆ คนติดใจกับข่าวเมื่อการย่อและขยายภาพไม่จำเป็นต้องคงอัตราส่วนเสมอไป และเรียกร้องให้ Adobe ซื้อฟีเจอร์นี้ไปใช้ แต่ที่ไหนได้ GIMP มาแรงแซงทางโค้ง พัฒนาฟีเจอร์นี้เสร็จไปเรียบร้อย ที่ไม่ธรรมดาคือมีคนทำถึง 2 ทีมเสียด้วย
ของทีมแรกพัฒนาด้วย Python และผู้เขียนบอกว่าอัลกอริทึมที่ทีมนักวิจัยเขียนอธิบายนั้นเข้าใจได้ง่ายมาก เผอิญว่าตอนที่ผมเขียนนี้เว็บพังเลยไม่รู้รายละเอียดเพิ่มเติม
แม้จะสนับสนุนอยู่เรื่อยมา แต่ทางไอบีเอ็มก็เพิ่งประกาศตัวเข้าร่วมพัฒนาโปรแกรมชุด OpenOffice.org อย่างเต็มรูปแบบแล้วในวันนี้ พร้อมประเดิมด้วยการบริจาคโค้ดจากโปรแกรมของทางไอบีเอ็มเช่น Lotus Notes และโค้ดอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งให้เป็นก้อนแรก พร้อมคำมั่นว่าจะมีการใช้ทรัพยากรของทางไอบีเอ็มอีกบางส่วนมาเพื่อช่วยพัฒนาต่อไป
งานนี้นอกจากซันที่ออกมาแสดงความยินดีที่ไอบีเอ็มเข้าร่วมอย่างเต็มตัวแล้ว ยังมีบรรดาผู้ผลิตดิสโทรต่างๆ ของลินุกซ์พากันออกมาแสดงความยินดีอย่างครบถ้วนนับแต่ Red Hat, Ubuntu และ Red Flag Linux
หวังว่าเราคงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของ OpenOffice.org เร็วขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนี้ไป
เมื่อประมาณสัปดาห์ก่อน นักวิจัยด้านความปลอดภัยชาวสวีเดน Dan Egerstad ได้เปิดเผยชื่อและรหัสผ่านของกว่า 100 บัญชีจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ เขาได้เปิดเผยว่าได้ข้อมูลเหล่านี้มาจากการดักฟังทางโหนดปลายทาง (exit node) ของ Tor 5 เครื่องที่เขาได้กระจายติดตั้งไว้ในที่ต่างกันบนอินเทอร์เน็ต ระบบของ Tor จะใช้เครื่องสามเครื่องส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอด ๆ เพื่อป้องกันการติดตามที่มา การส่ง-รับข้อมูลระหว่างโหนดต่าง ๆ จะถูกเข้ารหัสไว้ อย่างไรก็ตามที่โหนดสุดท้าย ข้อมูลจะต้องถูกถอดรหัสก่อนส่งไปยังเครื่องภายนอกซึ่งทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีดักฟังได้
ในวันนี้แอปเปิลได้ขาย iPhone เครื่องที่หนึ่งล้านไปแล้ว โดย Steve Jobs ซีอีโอของแอปเปิลก็ได้ออกมาบอกว่าเพียงแค่ 74 วันเท่านั้นก็สามารถขาย iPhone ได้หนึ่งล้านเครื่องแล้ว มันใช้เวลากว่า 2 ปีกว่าที่ไอพ็อดจะทำได้ขนาดนี้
นอกจากนี้แล้วเขายังได้กล่าวถึงความตั้งใจที่จะเห็นตัวเลขยอดขายพุ่งขึ้นอีกในช่วงวันหยุดยาววันขอบคุณพระเจ้าและช่วงคริสต์มาสปลายปีนี้
ก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ปรับลดราคา iPhone รุ่น 8GB ลงมากว่า $200 (ประมาณ 7300 กว่าบาท) และได้เลิกขายรุ่น 4GB โดยลูกค้าผู้ที่ซื้อ iPhone ในราคาเดิมจะได้รับเงินชดเชยจำนวน $100 แก่ลูกค้าทุก ๆ คนเพื่อใช้จับจ่ายสินค้าจากแอปเปิลโดยมีข้อแม้ว่าลูกค้าคนเดียวกันนี้จะต้องไม่ได้รับการชดเชยไปก่อนหน้านี้แล้วจากแอปเปิล
โปรแกรม Google Earth เวอร์ชัน 4.2 มีความสามารถที่ซ่อนอยู่คือ Flight Simulator หรือการจำลองการบิน โดยผู้ใช้บนวินโดวส์ หรือ Linux สามารถทดลองด้วยการกด Ctrl + Alt + A พร้อมกัน ส่วนผู้ใช้บนแมค สามารถทดลองด้วยการกด Command/Open Apple Key + Option + A ครับ
สามารถเลือกเครื่องบินได้ 2 แบบ คือ F16 และ SR22 ส่วนสนามบิน เท่าที่ลองดู (บนเวอร์ชันแมค) สามารถเลือกได้ 27 สนาม แต่ยังไม่มีดอนเมือง กับ สุวรรณภูมิ ให้เห็นครับ
เมื่อสามปีก่อนหน้านี้องค์การอาหารและยาของสหรัฐเพิ่งออกใบรับรองให้กับชิป RFID สำหรับใช้ในมนุษย์ไป ในวันนี้แม้ยังไม่มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางเท่าใดนัก แต่นักวิจัยก็เริ่มตั้งคำถามกับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว เมื่อมีการพบความเกี่ยวเนื่องระหว่างการฝังชิปกับการเกิดโรคมะเร็ง จากการทดลองในสัตว์
การทดลองให้ข้อสังเกตว่าเหตุที่ทำให้สัตว์ที่ติดตั้งชิป RFID มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมากขึ้นอาจจะเนื่องจากการอักเสบของแผลที่ฝัง RFID นั่นเอง โดยในปัจจุบันมีคนประมาณ 2000 คนฝังชิปดังกล่าวไปแล้ว
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้บอกว่า ISP ควรจะมีสิทธิในการเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อที่จะจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Traffic Prioritization) ในขณะเดียวกันได้แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้ข้อมูลทุกชนิดบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีความสามารถในการเข้าถึงและเชื่อมต่อที่เท่าเทียมกัน
ก่อนหน้านี้นั้น ISP หลาย ๆ รายในอเมริกาเหนือ รวมไปถึง AT&T, Roger และ Verizon ได้ออกมาบอกว่าบริษัทน่าจะมีสิทธิในการเก็บเงินเพิ่มเติมสำหรับลูกค้าที่ต้องการชนิดของข้อมูลที่แตกต่างกัน
กล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆ เราอาจจะเห็นระบบตรวจจับใบหน้ากันเป็นเรื่องปรกติไปแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากล้องดิจิตอลบอกได้ด้วยว่าหน้าที่อยู่ในกล้องนั้นยิ้มแย้มดีแค่ไหน เรื่องนี้กำลังจะไม่ไกลเกินความจริงเมื่อบริษัท Omron ได้เสนอซอฟต์แวร์ที่สามารถประมวลผลภาพและบอกได้ว่าหน้าใดในภาพบ้างกำลังยิ้ม และที่เท่กว่านั้นคือยังบอกได้ด้วยว่ายิ้มมากน้อยเพียงไร
โปรแกรมที่ว่านี้จะให้คะแนนระดับความยิ้มแย้มตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยสามารถบอกได้แม้แต่หน้าที่ไม่ได้มองกล้องโดยตรงก็ตาม ที่น่าสนใจคือความเร็วที่ทำได้ค่อนข้างดี โดยทาง Omron อ้างว่าโปรแกรมสามารถให้คำตอบได้ใน 0.044 วินาทีเมื่อใช้เครื่องเดสก์ทอปประมวลผลภาพ
หลังจากที่แอปเปิลได้ออก iTunes 7.4 ได้ไม่นานนักตัวอัพเดทใหม่ 7.4.1 ก็ออกตามมาติด ๆ
ล่าสุดพบว่าตัวอัพเดทตัวใหม่นั้นทำออกมาเพื่อปิดช่องโหว่ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถทำริงโทนฟรี ๆ ได้จากไฟล์ AAC ธรรมดาที่ผมได้เขียนมาในข่าวก่อนหน้านี้ได้อย่างง่าย ๆ โดยวิธีการ Rename ให้นามสกุลของไฟล์มาเป็น M4R ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป
ถ้าใครตามข่าวในหมวดสิทธิบัตรมาบ้าง คงพอรู้ว่าระบบกฎหมายสิทธิบัตรในสหรัฐมันออกจะมั่วๆ แถมยังไม่ทันสมัยเพราะออกเมื่อปี 1952 โน่น พอเอาปัญหานี้มารวมกับการที่สหรัฐมีสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ (ซึ่งประเทศไทยและอีกหลายประเทศไม่มี แต่ในความเป็นจริงซอฟต์แวร์ที่เราใช้ก็มาจากสหรัฐซะมาก) จึงเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไฮเทคอย่างเลี่ยงไม่ได้
ถึงแม้การโหวตรับ Office OpenXML เข้าเป็นมาตรฐาน ISO จะลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของไมโครซอฟท์ (ข่าวเก่า) แต่การโหวตครั้งนี้ก็ส่งผลสะเทือนวงการผู้ออกมาตรฐานอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งดูได้จากข่าวการล็อบบี้ของไมโครซอฟท์ต่อหน่วยงานผู้ออกมาตรฐานในประเทศต่างๆ ทั่วโลก (ข่าวเก่า)
จากเหตุการณ์นี้จึงมีคนเสนอว่ากระบวนการโหวตรับของ ISO ที่ใช้คะแนนจากหน่วยงานผู้ออกมาตรฐานของประเทศสมาชิกนั้นยังไม่มีมาตรฐานเพียงพอ จึงเสนอว่าถึงเวลาแล้วที่ ISO จะต้องปรับปรุงกระบวนการของตัวเองเสียใหม่ ดังนี้
หลังจากออก iPod Nano ตัวใหม่พร้อมหน้าตาเป็นที่ชวนถกเถียงว่าดีหรือไม่ดีกันแน่ ทางเวบ Arstechnica จึงได้ทำการรวบรวมผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายเดียวกัน (คือหน้าตาชวนถกเถียงกัน) ในรอบ 10 ปีของแอปเปิลมาให้ดูกันครับ
โปรแกรม Terminal เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้บนระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ (ถึงแม้ว่าคุณจะใช้ Mac OS X ก็ตาม!!) แต่ท่ามกลางโปรแกรม Terminal ที่มีมากมายในท้องตลาด การเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมก็ทำได้ยากพอสมควร นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติตามที่เราต้องการแล้ว เรื่องของความเร็วยังเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะวันนึงต้องพิมพ์คำสั่งกันตั้งเยอะ ถ้าบนจอแสดงผลไม่ทันใจก็คงแย่
จากเดิม KDE 4.0 มีกำหนดออกเดือนตุลาคม (ข่าวเก่า) แต่เพราะเวอร์ชันนี้มีการยกเครื่องขนานใหญ่ในระดับล่างๆ ทำให้การพัฒนาล่าช้าออกไปบ้าง โครงการ KDE จึงประกาศเลื่อนวันออก KDE 4.0 ออกไปเป็นเดือนธันวาคม
ส่วนเดือนตุลานี้ KDE4 จะออก KDE Development Platform ซึ่งเป็นชุดไลบรารีและส่วนประกอบพื้นฐานออกมาก่อน (เทียบได้กับ GNOME Development Platform) เพื่อให้บรรดา 3rd party ทั้งหลายมีเวลาปรับโปรแกรมของตัวเองให้เข้ากับ KDE4 ตัวจริงเดือนธันวาคม
MacRumors ได้บอกวิธีที่จะทำริงโทนใน iPhone อย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องเสียเงินเลยแม้แต่น้อย
ที่จริงมันง่ายมาก ๆ เนื่องจากว่า iTunes 7.4 นั้นเห็นไฟล์นามสกุล M4R เป็นไฟล์ริงโทนอยู่แล้ว แต่จุดเด็ดจริง ๆ ก็คือไฟล์ M4R นั้นที่จริงก็คือไฟล์คลิปดนตรีประเภท AAC แต่ดันเปลี่ยนนามสกุลเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากทำริงโทนใส่ iPhone เองง่าย ๆ ก็คือเอาไฟล์เพลงที่ต้องการที่เป็นไฟล์ประเภท AAC นั้นเปลี่ยนนามสกุลของมันให้เป็น M4R ใน Windows Explorer หรือแค่ทำการ Rename มันบน Finder บนเครื่องแมคเท่านั้นก็เรียบร้อยแล้ว จากนั้นเมื่อทำการดับเบิลคลิ๊ก iTunes ก็จะรู้จักไฟล์นี้ในฐานะของริงโทนใน Library ทันที
จากงาน SIGGRAPH 2007 ที่เพิ่งจบลงไปในเดือนที่แล้ว ได้มีการแสดงผลงานวิจัยเกี่ยวกับการย่อและขยายภาพ โดยคำนึงถึงบริบทของภาพเป็นหลัก แทนที่จะคำนึงถึงอัตราส่วนทางกายภาพแบบเดิมๆ
นักวิทยาศาสตร์ทั้งสอง Shai Avidan และ Ariel Shamir ได้อธิบายผลงานของเขาไว้ว่า ไฟล์ภาพนั้นสามารถถูกย่อและขยายได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยการลบภาพส่วนที่มีความสำคัญทางบริบทน้อยที่สุดออก
พวกเขาได้กำหนดฟังก์ชันพลังงาน (Energy function) สำหรับภาพแต่ละภาพ และใช้ฟังก์ชันนั้นหาพื้นที่ที่มีพลังงานต่ำติดๆกันจากบนลงล่างและจากซ้ายไปขวา เขาเรียกพื้นที่เหล่านั้นว่า "ตะเข็บ" (seam) ซึ่งตะเข็บเหล่านี้แหละที่สามารถลบออกไปได้โดยที่ข้อมุลของภาพนั้นไม่สูญหายไปมาก