Yann LeCun นักวิจัยสาย AI ชื่อดังผู้สร้างอัลกอริทึม convolutional nets และปัจจุบันเป็นหัวหน้านักวิจัย AI ของบริษัท Meta ออกมาให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นต่อ ChatGPT ว่าไม่ได้มีนวัตกรรมมากนัก (not particularly innovative)
เหตุผลเพราะเทคนิคที่ ChatGPT ใช้งานเบื้องหลัง ไม่ได้พัฒนาโดย OpenAI แต่เป็นการนำเทคนิคจากนักวิจัยคนอื่นๆ มาประกอบรวมกัน (ซึ่ง LeCun บอกว่านำมารวมได้ดี it's well put together)
Rentokil บริษัทด้านความสะอาด-กำจัดสัตว์รบกวน (pest control) เตรียมนำเทคโนโลยี AI จดจำใบหน้ามาใช้กับสิ่งที่เราอาจคาดไม่ถึง นั่นคือ "ใบหน้าของหนู"
รูปแบบการใช้งานคือตั้งกล้องไว้ตามจุดต่างๆ ของอาคาร แล้วส่งภาพเข้าไปวิเคราะห์พฤติกรรมของหนูแต่ละตัว การแยกแยะใบหน้าของหนูได้ทำให้เรารู้พฤติกรรมของหนูอย่างแม่นยำ เช่น ชอบมาบริเวณไหน ชอบกินอะไร นำไปสู่การวางแผนได้ว่าจะจัดการหนูแต่ละตัวที่ไหน อย่างไร
เทคโนโลยีของ Rentokil เกิดจากการซื้อกิจการสตาร์ตอัพและบริษัทด้านกำจัดสัตว์หลายราย โดยรายล่าสุดคือ Eitan Amichai จากอิสราเอล ช่วยให้บริษัทมีเทคโนโลยีดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด และตอนนี้เริ่มนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับไซต์ของลูกค้าบางรายแล้ว
Sam Altman ซีอีโอของ OpenAI ไปขี้นเวทีงานของ StrictlyVC พูดถึงอนาคตของโมเดล AI ในสังกัดคือ GPT-4 ที่ถูกพูดถึงกันมาก โดยเขาไม่ยอมบอกว่าจะออกเมื่อไรและมีพารามีเตอร์จำนวนเท่าไร เพื่อลดกระแสความคาดหวังของผู้คนลง
โมเดล GPT-3 เปิดตัวครั้งแรกในปี 2020 จากนั้นได้อัพเกรดเป็น GPT-3.5 ตัวที่ใช้ใน ChatGPT ในปี 2022 ที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก ทำให้ผู้คนคาดหวังกันมากว่า GPT-4 จะพัฒนาไปจากปัจจุบันอีกมาก
OpenAI เปิดบริการ ChatGPT แบบ Professional Plan ตามที่ออกแบบสอบถามก่อนหน้านี้ คิดราคาเดือนละ 42 ดอลลาร์ แลกกับการใช้งานที่ไม่ติดลิมิตช่วงคนใช้เยอะๆ ได้คำตอบเร็วกว่าเวอร์ชันฟรี และได้ใช้ฟีเจอร์ใหม่ในอนาคตก่อนคนอื่น
แผนการเก็บเงิน ChatGPT เป็นส่วนสำคัญของโมเดลการหารายได้ของ OpenAI ที่คาดว่าปีนี้จะมีรายได้ 200 ล้านดอลลาร์
มีรายงานจาก The New York Times เผยว่าเมื่อเดือนที่แล้ว Larry Page และ Sergey Brin สองผู้ก่อตั้งกูเกิล ซึ่งปัจจุบันลดบทบาท และไม่ได้ทำงานกับกูเกิลมากนัก ได้เรียกประชุมผู้บริหารระดับสูงของกูเกิล เพื่อหารือผลกระทบจากเสิร์ชแชตบอต และวางกลยุทธ์การนำแชตบอตมาใช้กับเสิร์ชของบริษัท
ในสไลด์การประชุม พูดถึงแผนการนำแชตบอตไปใช้กับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของกูเกิลที่มีอยู่แล้ว ซึ่งโครงการนี้ซีอีโอ Sundar Pichai ให้ความสำคัญสูง มีโค้ดเนมภายในว่า code red ซึ่งกูเกิลตั้งเป้าเปิดตัวแชตบอตในมากกว่า 20 ผลิตภัณฑ์ของบริษัทภายในปีนี้ โดยคาดว่าจะเปิดตัวในงาน I/O ช่วงกลางปี
Scott Belsky หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ออกมาให้สัมภาษณ์ชี้แจง ประเด็นที่มีการรายงานเมื่อต้นเดือนว่า Adobe ปรับปรุงเงื่อนไขการใช้งาน ระบุว่าจะนำข้อมูลที่เก็บไว้ใน Creative Cloud มาใช้เทรนอัลกอริธึมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเป็นข้อตกลงแบบ opt-out ที่เปิดการยินยอมเป็นค่าเริ่มต้น ทำให้เกิดความกังวลว่า Adobe อาจใช้ข้อมูลนี้สำหรับใช้ในงานสร้างภาพจาก AI (Generative AI) ซึ่งเวลานั้น Adobe ก็ยืนยันว่าไม่ใช่
Getty Images ประกาศยื่นฟ้องบริษัท Stability AI ผู้สร้างโมเดล Stable Diffusion ต่อศาลลอนดอน ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ภาพในสังกัดของ Getty Images นับล้านภาพ เพื่อนำไปใช้เทรนโมเดลของตัวเอง
Getty Images ยังแสดงจุดยืนว่าเทคโนโลยี AI มีอนาคตต่อวงการสร้างสรรค์ แต่ถ้าอยากได้ภาพไปเทรนก็มีแพ็กเกจเฉพาะงานลักษณะนี้ขายด้วย ซึ่ง Stablility AI ตั้งใจเพิกเฉยและนำภาพมาใช้โดยไม่มีลิขสิทธิ์
คดีนี้เป็นอีกคดีต่อเนื่องจาก กลุ่มนักวาดรวมตัวกันฟ้อง Stability AI ด้วยข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ภาพเช่นกัน
ที่มา - Getty Images
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Azure OpenAI Service อย่างเป็นทางการ เข้าสถานะ General Availability (GA) หลังจากเปิดทดสอบมาตั้งแต่ปลายปี 2021
ไมโครซอฟท์เข้าลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ใน OpenAI มาตั้งแต่ปี 2020 และได้สิทธิการใช้งาน GPT-3 แต่เพียงผู้เดียว (ล่าสุดมีข่าวลือว่าจะลง 1 หมื่นล้านดอลลาร์แลกกับหุ้น 49%) ไมโครซอฟท์จึงนำโมเดลหลายตัวของ OpenAI เช่น GPT-3.5, Codex, DALL-E 2 มาให้บริการกับลูกค้าภายนอกบน Azure
ศิลปินและนักวาดกลุ่มหนึ่ง ยื่นฟ้องบริษัทด้าน AI สายวาดภาพคือ Stability AI, DeviantArt, Midjourney ที่ใช้อัลกอริทึม Stable Diffusion สร้างภาพวาด ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์
Stable Diffusion เป็นเอนจิน AI ของบริษัท Stability AI ออกมาในเดือนสิงหาคม 2022 โดยเรียนรู้จากภาพวาดนับล้านบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งศิลปินกลุ่มนี้บอกว่าละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะนำภาพไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้วาดก่อน
ผู้ฟ้องคดีนี้ประเมินว่า Stable Diffusion เรียนรู้จากภาพจำนวน 5 พันล้านภาพ หากคิดความเสียหายภาพละ 1 ดอลลาร์ มูลค่าจะสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์ และเชิญชวนให้ศิลปินคนอื่นๆ มาร่วมฟ้องแบบกลุ่ม (class-action) ด้วยกัน
กลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ 8 แห่งในประเทศออสเตรเลียปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการสอบสำหรับนักศึกษาใหม่ หลังมีนักศึกษาทุจริตการสอบด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนบทความและบางครั้งซอฟต์แวร์ตรวจสอบการคัดลอกผลงานไม่สามารถตรวจจับได้
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ ยังเพิ่มกฎอย่างชัดเจนว่าการใช้ปัญญาประดิษฐ์ทำข้อสอบถือเป็นการทุจริต ในแต่ละมหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนวิธีสอบต่างกันไปอย่าง University of Sydney ใช้วิธีออกแบบการสอบใหม่และปรับปรุงระบบการตรวจสอบขณะที่ Australian National University เปลี่ยนเป็นให้คะแนนจากกิจกรรมในห้องเรียนและงานเป็นหลัก รวมถึงเพิ่มคะแนนส่วนการนำเสนอปากเปล่า
NVIDIA ประกาศคุณสมบัติใหม่ของ NVIDIA Broadcast ซอฟต์แวร์สำหรับการสตรีมถ่ายทอดสด ที่ใช้ A.I. เข้ามาช่วยประมวลผลภาพและเสียง โดยในเวอร์ชัน 1.4 มีของใหม่เพิ่มมา 2 รายการดังนี้
ฟีเจอร์แรกคือเอฟเฟกต์ Eye Contact (สถานะเบต้า) แก้ไขดวงตาให้อยู่ในตำแหน่งที่มองกล้องตลอด เป็นการสื่อสารกับผู้ชม แม้ตอนนั้นสายตาอาจเหลือบมองอย่างอื่นอยู่ แบบเดียวกับที่มีใน FaceTime ทั้งนี้ NVIDIA บอกว่าเนื่องจากสีของดวงตามีความหลากหลาย และแสงโดยรอบ อาจทำให้การปรับตำแหน่งตาผิดเพี้ยน หากผู้ใช้งานพบปัญหาให้ร่วมแจ้งปัญหามาได้
อีกฟีเจอร์คือเอฟเฟกต์ Vignette ปรับภาพฉากหลังให้เบลอเป็นโบเก้ ซึ่งช่วยให้ภาพรวมการนำเสนอมีความสวยงามมากขึ้น
Google Cloud เปิดตัวโซลูชัน AI สำหรับร้านค้า ก่อนงานสัมมนาประจำปี NRF 2023 (National Retail Federation) ซึ่งช่วยทั้งการบริหารสินค้าในชั้นวาง เสริมระบบการขายออนไลน์ และปรับแต่งผลค้นหาส่วนบุคคล ในการแนะนำสินค้า
โดยเทคโนโลยีที่นำมารวมเป็นโซลูชันได้แก่ Vertex AI Vision สำหรับตรวจสอบชั้นวางสินค้า ว่าสินค้าหมดหรือมีจำนวนน้อย จนถึงเวลาต้องเติมสินค้าหรือไม่, Discovery AI สำหรับช่วยคัดเลือกสินค้าที่มาแสดงในหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้แม่นยำ และตรงกับความต้องการสินค้าในช่วงเวลานั้น และ Retail Search solution เครื่องมือสำหรับแนะนำและเก็บข้อมูล เพื่อคัดเลือกสินค้าแนะนำให้กับลูกค้าแต่ละคนได้ตรงใจมากขึ้น
Hewlett Packard Enterprise หรือ HPE ประกาศซื้อกิจการ Pachyderm สตาร์ทอัพที่พัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ส สำหรับสร้าง Machine Learning Pipeline แบบอัตโนมัติ เพื่อใช้ในงานแอพพลิเคชัน AI ทั้งนี้ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่าที่เข้าซื้อ
Justin Hotard รองประธานและผู้จัดการทั่วไปส่วนธุรกิจ HPC และ AI ของ HPE พูดถึงดีลดังกล่าวว่าโครงการ AI ในองค์กรมีความซับซ้อนและขนาดข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลมีความต้องการสร้างโซลูชัน AI ที่จัดการ Machine Learning อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานน้อยที่สุด ซึ่งซอฟต์แวร์ของ Pachyderm มีจุดเด่น รองรับข้อมูลทุกรูปแบบในงาน AI
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ได้เปิดกระทู้ตอบคำถาม Ask Me Anything (AMA) บน Reddit ว่าเขาใช้สมาร์ทโฟน Samsung Galaxy Z Fold4 ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย
มีผู้ใช้คนหนึ่งถามว่า Gates คิดว่าขณะนี้มีเทคโนโลยีอะไรที่สำคัญมากๆ บ้าง โดยเขาตอบว่า AI เป็นสิ่งสำคัญและจะมาปฏิวัติวงการ (AI is quite revolutionary) ในขณะที่ Web3 นั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ รวมถึง Metaverse ก็ไม่ใช่ของที่จะปฏิวัติวงการ (I don't think Web3 was that big or that metaverse stuff alone was revolutionary) นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้อีกคนถามว่า Gates คิดอย่างไรกับ ChatGPT ซึ่งเขาตอบว่านี่เป็นเพียงน้ำจิ้มของสิ่งที่กำลังจะมาในอนาคต และเขาประทับใจในความเร็วของการพัฒนา
OpenAI เตรียมหาโมเดลสร้างรายได้จาก ChatGPT ด้วยการออกเวอร์ชัน Professional ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดราคา แต่มีให้ลงชื่อเป็น waitlist แล้ว
จุดต่างสำคัญของ ChatGPT Professional คือใช้งานได้ตลอดเวลา ไม่มีช่วงพัก (blackout windows) ตอบสนองเร็วกว่าเวอร์ชันฟรี และไม่จำกัดปริมาณข้อความที่แชทคุยกับ AI
ตอนนี้ OpenAI ยังอยู่ระหว่างการสอบถามความคิดเห็นผู้ใช้จากห้องแชทใน Discord เพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสม และยังไม่มีประกาศผ่านช่องทางอื่นอย่างเป็นทางการ
BioNTech SE บริษัทยาจากเยอรมนี ที่เรารู้จักชื่อกันดีจากการคิดวัคซีน COVID-19 แบบ mRNA และร่วมผลิตกับ Pfizer ประกาศซื้อกิจการ InstaDeep บริษัทด้าน AI เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในการวิจัยยา ด้วยมูลค่า 362 ล้านปอนด์ (เกือบ 1.5 หมื่นล้านบาท)
InstaDeep เป็นบริษัทที่ก่อตั้งในตูนิเซีย ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่ในลอนดอน มีพนักงานราว 240 คน ทำเรื่อง machine learning มาตั้งแต่ปี 2014 ให้กับลูกค้าหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ลอจิสติกส์ พลังงาน (บริษัทระบุตัวเองว่าเป็น Decision-Making AI For The Enterprise) ผลงานด้านการวิจัยยามีแพลตฟอร์มชื่อ DeepChain สำหรับการออกแบบและวิเคราะห์โปรตีน
เว็บ Semafor อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง เผยว่าไมโครซอฟท์กำลังเจรจาเพื่อขอลงทุนใน OpenAI บริษัทผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์แชทบ็อต ChatGPT ด้วยวงเงินถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเงินลงทุนนี้คิดที่มูลค่ากิจการของ OpenAI 29,000 ล้านดอลลาร์ (ตามข่าวก่อนหน้า) ทั้งนี้หากดีลดังกล่าวเจรจาลงตัว คาดว่าจะประกาศเป็นทางการได้ภายในปีนี้
Microsoft เปิดตัวปัญญาประดิษฐ์ใหม่ใช้ชื่อว่า VALL-E ที่สามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้เพียงแค่ป้อนเสียงตัวอย่างที่มีความยาว 3 วินาที จุดที่น่าสนใจ คือ VALL-E สามารถเลียนน้ำเสียงและอารมณ์ของเสียงต้นแบบและปรับได้ตามโหมดต่าง ๆ ได้ ทำให้แตกต่างจากโมเดลอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังสามารถพูดในสิ่งที่เสียงต้นแบบไม่ได้พูดได้ด้วย
Microsoft ใช้เสียงภาษาอังกฤษ 60,000 ชั่วโมงในการเทรนปัญญาประดิษฐ์ อย่างไรก็ตาม เสียงที่สร้างจาก VALL-E บางครั้งก็ดูธรรมชาติ แต่บางครั้งก็ยังเป็นเสียงที่ไม่เหมือนมนุษย์อยู่ดีซึ่งต้องพัฒนาต่อไปในอนาคต
Adobe เปลี่ยนแปลงนโยบายการวิเคราะห์เนื้อหาใหม่โดยจะนำข้อมูลของผู้ใช้ที่เก็บไว้ในบริการ Creative Cloud ทั้งในรูปแบบภาพ เสียง วิดีโอ ตัวอักษรและเอกสารมาใช้ในการเทรนอัลกอริธึมเพื่อปรับปรุงบริการและผลิตภัณฑ์ของบริษัทโดยอัติโนมัติหากผู้ใช้ไม่กด opt-out ออก ส่วนข้อมูลที่อยู่บนอุปกรณ์ของผู้ใช้ไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ร่วมด้วย
นโยบายนี้ได้รับการอัปเดตในช่วงเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ทางฝั่ง Adobe เผยว่าบริษัทให้ผู้ใช้มีสิทธิ์ในการตัดสินใจอยู่แล้วเพราะหากไม่ต้องการให้ทาง Adobe นำข้อมูลไปใช้ก็สามารถกด opt-out ได้ นอกจากนี้ Adobe ไม่ได้นำข้อมูลผู้ใช้ไปเทรน Generative AI ด้วย
งานประชุมวิชาการ International Conference on Machine Learning (ICML) ประกาศห้ามนักวิจัยเขียนงานวิจัยด้วยปัญญาประดิษฐ์ เช่น ChatGPT มาส่ง โดยระบุประเด็นปัญหาว่ายังไม่แน่ชัดว่าจะถือว่าใครเป็นผู้เขียน โดยอาจจะเป็นได้ทั้งผู้พัฒนา ChatGPT, ตัว ChatGPT เอง, หรือจะเป็นคนสั่งให้ ChatGPT เขียน นอกจากนี้การส่งรายงานวิจัยที่สร้างโดย ChatGPT เข้ามาก็จะทำให้กระบวนการรีวิวรายงานยุ่งยากขึ้น ทาง ICML จึงขอให้นักวิจัยงดใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนงานวิจัยในปีนี้ไปก่อน และจะพิจารณากฎนี้อีกครั้งในอนาคต
ข้อห้ามนี้ไม่รวมถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยแก้คำผิด, แก้แกรมมาร์, หรือเกลาประโยคด้วยเครื่องมือต่างๆ รวมถึงโมเดลปัญญาประดิษฐ์ แต่ตัวนักวิจัยต้องเขียนข้อความเริ่มต้นด้วยตัวเอง
อย่างที่รู้กันว่าปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์ได้รับการพัฒนาไปมากโดยเฉพาะ ChatGPT ที่สามารถตอบคำถามไปจนถึงเขียนบทความได้ใกล้เคียงมนุษย์ ล่าสุด Edward Tian นักศึกษาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัย Priceton ได้พัฒนาแอปพลิเคชันตรวจจับบทความที่เขียนด้วย ChatGPT โดยใช้ชื่อว่า GPTZero
Tian เปิดเผยผ่าน Twitter ของตนเองว่าสาเหตุที่พัฒนาแอปดังกล่าวขึ้นมาเพราะต้องการป้องกันปัญหาการคัดลอกผลงาน (plagiarism) และเขียนบทความโดยปัญญาประดิษฐ์ที่เริ่มมีมากขึ้น พร้อมแสดงตัวอย่างการใช้งานแอปที่ระบุว่าบทความหนึ่งเขียนโดนมนุษย์จริง ๆ ขณะที่โพสต์หนึ่งบน LinkedIn เขียนด้วยบ็อต
เว็บ The Information อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวสองคน ระบุว่าไมโครซอฟท์กำลังผนวก ChatGPT เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Bing คาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในเดือนมีนาคมนี้
ไมโครซอฟท์ลงทุนใน OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT มาตั้งแต่ปี 2019 จนได้สิทธิ์ใช้งานเทคโนโลยีของ OpenAI มาใช้งานหลายอย่าง เช่น OpenAI Codex ที่นำมาเปิดบริการ GitHub Copilot หรือ DALL·E ที่กลายเป็น Bing Image Creator มาก่อนแล้ว
กูเกิลอธิบายการทำงานของแอป Recorder ใน Pixel ที่ปีนี้เพิ่มฟีเจอร์แยกเสียงคนพูดให้ด้วย นอกจากการแปลงเสียงเป็นข้อความตามปกติ จุดสำคัญคือฟีเจอร์นี้รันบนโทรศัพท์ทั้งหมดโดยไม่ต้องส่งข้อมูลเสียงกลับเซิร์ฟเวอร์
กูเกิลประกาศพัฒนาเทคโนโลยีปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (privacy-enhancing technologies - PET) ให้เข้าถึงกันได้ง่ายขึ้น โดยรอบนี้ประกาศไลบรารี Magritte ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยให้เบลอใบหน้าหรือข้อมูลระบุตัวตนอื่นๆ เช่น ทะเบียนรถออกจากวิดีโอได้โดยยังใช้พลังประมวลผลไม่มากนัก
กูเกิลระบุว่า Magritte จะช่วยในงานหลายอย่าง เช่น นักข่าวต้องการเบลอใบหน้าของคนที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากวิดีโอโดยไม่ต้องให้ช่างภาพมาเบลอด้วยตนเอง ตัวไลบรารีสร้างบนเฟรมเวิร์ค Media Pipe จึงน่าจะทำให้พัฒนาแอปแอนดรอยด์หรือ iOS ได้โดยง่าย
Open AI เปิดโอเพนซอส Point-E ซึ่งเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างภาพ 3 มิติด้วยการที่ผู้ใช้ป้อนข้อความลงไป พร้อมปล่อยงานวิจัยแสดงรายละเอียดการทำงานของ Point-E
Point-E ได้รับการเทรนโดยชุดข้อมูลหลายล้านชุด โดยประกอบด้วยโมเดลปัญญาประดิษฐ์ 2 ตัว คือ โมเดลที่เปลี่ยนจากข้อความไปเป็นรูปภาพที่ทำงานเหมือนกับ DALL-E 2 หรือ Stable Diffusion และโมเดลที่เปลี่ยนจากรูปภาพไปเป็นภาพ 3 มิติอีกที