ไมโครซอฟท์ประกาศข่าวในงานสัมมนา Ignite 2017 ว่าจะดัน Microsoft Teams มาเป็นศูนย์กลางของการทำงานร่วมกันในชุด Office 365 และจะลดความสำคัญของ Skype for Business (Lync เดิม) ลง
Teams จะทยอยได้ฟีเจอร์เพิ่มขึ้น โดยฟีเจอร์ล่าสุดที่ประกาศในงานคือการสนทนาด้วยเสียง และการเชื่อมต่อกับ Skype for Business ในการแชทหรือโทรคุยระหว่างกันได้
Skype for Business จะยังให้บริการกับลูกค้าเดิมต่อไป ทั้งแบบผ่านคลาวด์ Office 365 และผ่านเซิร์ฟเวอร์ on-premise โดยไมโครซอฟท์จะยังออกเซิร์ฟเวอร์ Skype for Business เวอร์ชันใหม่ในครึ่งหลังของปี 2018 ให้ด้วย
ที่มา - Microsoft
สัปดาห์ที่ผ่านมา ออราเคิลเปิดตัวซีพียู SPARC M8 ซึ่งเป็นรุ่นต่อของ SPARC M7 ที่ออกในปี 2015
ออราเคิลคุยว่า SPARC M8 มีประสิทธิภาพดีว่า SPARC M7 ถึง 2 เท่า, มีประสิทธิภาพด้านการประมวลผล Java และการเข้ารหัสดีกว่าซีพียูสถาปัตยกรรม x86 (ไม่ระบุว่ารุ่นไหน) 2 เท่า, มีประสิทธิภาพด้านฐานข้อมูลดีกว่า x86 ถึง 7 เท่า
ฟีเจอร์อีกอย่างของ SPARC M8 ที่ต่อเนื่องมาจาก M7 คือ Software in Silicon v2 หรือการป้องกันมัลแวร์ในหน่วยความจำ และ Data Analytics Accelerator (DAX) ที่ช่วยเร่งความเร็วในงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล
นอกจาก Java SE 9 แล้ว ออราเคิลยังออก Java EE 8 มาพร้อมกัน (ทิ้งช่วงจาก Java EE 7 ที่ออกในปี 2013 นาน 4 ปีกว่า) ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
Hitachi Data Systems (HDS) บริษัทลูกด้านผลิตภัณฑ์สตอเรจองค์กรของฮิตาชิ ประกาศเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น Hitachi Vantara
การเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ไม่ได้เป็นแค่การรีแบรนด์ แต่ยังเป็นการผนวกเอาบริษัทในเครืออีก 2 รายคือ Hitachi Insight Group และ Pentaho บริษัทซอฟต์แวร์ Business Intelligence ที่ซื้อมาในปี 2015 เข้ามารวมเป็นบริษัทเดียวกันด้วย
ธุรกิจของ Hitachi Vantara ยังจะเน้นเรื่อง "ข้อมูล" เช่นเดิม โดยเป็นโซลูชันครบวงจรตั้งแต่การจัดการข้อมูล (data management) ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) แถมบริษัทยังประกาศขยายตลาดไปยังข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ผ่านซอฟต์แวร์ Lumada 2.0 อีกด้วย
แอพพลิเคชั่นช่วยการทำงานไม่ว่าจะเป็น อีเมล, Slack, Dropbox, Microsoft ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่จำนวนแอพที่มากเกินไปอาจทำให้เสียเวลาการทำงานมากกว่าเดิม มีผลสำรวจจาก Harmon.ie บริษัททำซอฟต์แวร์จากอิสราเอล สัมภาษณ์คนทำงาน 881 ราย มีทั้งผู้เชี่ยวชาญธุรกิจและบุคลากรไอที พบว่า โดยเฉลี่ยมีการใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการทำงานถึง 9.4 แอพ และถ้าเป็นคนไอทีใช้มากถึง 10.4 แอพ
ไมโครซอฟท์โชว์ต้นแบบของ Project Honolulu หรือระบบจัดการ Windows Server จากระยะไกลผ่านเว็บเบราว์เซอร์
ไมโครซอฟท์บอกว่า Windows Server ในอนาคตจะสามารถจัดการได้หลากหลายวิธี ทั้ง GUI จากบนเครื่อง, PowerShell และล่าสุดคือ GUI ผ่านเว็บที่จะมาช่วยเติมเต็มงานที่ PowerShell ทำไม่ได้
Project Honolulu จะติดตั้งแบบโลคัลในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ สามารถเข้าถึงได้จากเครือข่ายภายในโดยไม่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ต และมันสามารถจัดการคลัสเตอร์ VM ที่รันอยู่บน Hyper-V (Hyper-Converged Cluster Manager) ได้ด้วย
บริษัทยิบอินซอย (Yip In Tsoi) อาจไม่มีชื่อในวงกว้างมากนัก แต่ในแวดวงไอทีก็เป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทด้าน SI (Systems Integrator) รายใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน อยู่เบื้องหลังโครงการไอทีขนาดใหญ่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
แต่ในยุคที่ทุกวงการถูก disrupt จากกระแสความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บริษัทไอทีอย่างยิบอินซอยก็หนีไม่พ้นความจริงข้อนี้ Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัทสองท่านคือ คุณมรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และ คุณสุภัค ลายเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ว่าบริษัท SI จะมีแนวทางการปรับตัวรับมืออย่างไร
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของ Azure ชื่อว่า confidential computing สำหรับลูกค้าที่กังวลเรื่องปัญหาข้อมูลรั่วไหล
ปกติแล้ว Azure เข้ารหัสข้อมูลในฐานข้อมูล SQL Server ตลอดเวลา (Always Encrypted) อยู่แล้ว แต่ตอนที่นำข้อมูลออกมาประมวลผล ย่อมต้องถอดรหัสข้อมูลออกมาก่อนเสมอ เป็นช่องโหว่ที่อาจทำให้ลูกค้ากังวล
Blognone ได้รับเชิญจากบริษัท Hewlett Packard Enterprise (HPE) เข้าร่วมงานสัมมนา CIO.NXT Forum 2017 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับทิศทางของไอทีองค์กร (ซึ่งเป็นตลาดหลักของ HPE หลังแยกบริษัทกับ HP)
ธีมหลักของงานพูดถึงคำว่า "Hybrid IT" หรือการเชื่อมระหว่างไอทีระบบเก่ากับใหม่ ที่มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว แต่จำเป็นต้องมีทั้งสองระบบรันขนานกันไป (บ้างก็เรียกว่า bimodal IT คือฝ่ายไอทีเดียวมีสองโหมด) คำถามคือในแง่การบริหารจัดการจะทำได้อย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพ
คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ยังมีองค์กรที่มีวัฒนธรรมในการทำงานแบบเดิมๆ อยู่ ขณะเดียวกันองค์กรที่ต้องการและอยู่ระหว่างการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีและยุคสมัย ตามกระบวนการที่เรียกว่า Digital Transformation ก็มีอยู่ไม่น้อย
ด้าน AIS เองนอกจากการเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายและบรอดแบรนด์ ก็มีวิสัยทัศน์ในการเป็นตัวกลางและผู้ช่วยให้ภาคธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลตั้งแต่ปีที่แล้ว จากการเปิดตัว AIS Business Cloud เมื่อปีที่แล้ว ปีนี้ AIS ยังคงวิสัยทัศน์เดิม พร้อมด้วยการพัฒนาฟีเจอร์ โซลูชันและบริการต่างๆ ของ Business Cloud ที่ AIS เรียกว่า End-to-End Cloud Service ให้ครบเครื่องและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
หลังเปิดตัวได้เพียง 6 เดือน ไมโครซอฟท์ประกาศยอดผู้ใช้ Microsoft Teams ว่ามีองค์กร 125,000 รายจาก 181 ประเทศทั่วโลกใช้งานเป็นประจำทุกเดือนแล้ว
ไมโครซอฟท์ยังเพิ่มฟีเจอร์ guest access ให้เพิ่มผู้ใช้งานจากนอกองค์กรเข้ามาร่วมพูดคุยใน Teams ได้ด้วย โดยแขกที่ได้รับเชิญจะต้องมีบัญชี Azure Active Directory และในอนาคตจะเปิดให้ผู้ใช้บัญชี Microsoft Account ล็อกอินได้ต่อไป
นอกจากนี้ Botkit ตัวช่วยสร้างแช็ทบ็อตของไมโครซอฟท์เองก็สามารถใช้ร่วมกับ Teams ได้แล้ว ส่วนแอพภายนอกที่เข้ามาเชื่อมต่อได้ก็เพิ่ม GitHub, Jira, BitBucket และบริการอื่นของ Atlassian ด้วย
เมื่อวันพุธที่ผ่านมาในการประชุม Huawei Connect 2017 วันที่ 2 มีการพูดถึงกรณีตัวอย่างในการใช้งานจริงที่ใช้โซลูชั่นของบริษัท รวมถึงบริการและสินค้าใหม่ๆ ที่บริษัทได้เปิดตัวในงานนี้ด้วย
หมายเหตุ ผมเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยคำเชิญของทาง Huawei ครับ
ช่วงนี้ Western Digital มีความเคลื่อนไหวเรื่องซื้อกิจการอย่างคึกคัก หลังจากซื้อบริษัทคลาวด์ Upthere ก็ตามมาด้วยการประกาศซื้อ Tegile Systems บริษัทด้านสตอเรจแบบแฟลชสำหรับตลาดองค์กร
Tegile ก่อตั้งเมื่อปี 2012 มีจุดเด่นที่ผลิตภัณฑ์สตอเรจแบบ persistent memory ที่แบ่งระดับของสตอเรจตามการใช้งาน (มีทั้งแบบหน่วยความจำ แฟลช และฮาร์ดดิสก์) สินค้าของบริษัทใช้แบรนด์ IntelliFlash ทำตลาด โดยมีทั้งแบบแฟลชล้วน, แบบ NVMe ที่เน้นประสิทธิภาพสูงสุด และแบบไฮบริดที่เน้นราคาคุ้มค่า ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าอยู่ประมาณ 1,700 ราย
Tegile จะถูกผนวกเข้าในส่วนของ Western Digital Data Center Systems (DCS) ที่ทำตลาดศูนย์ข้อมูลองค์กร
วานนี้ที่การประชุม Huawei Connect 2017 อันเป็นการประชุมประจำปีฝั่งองค์กร (enterprise) ของ Huawei ระดับนานาชาติ จัดขึ้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอยู่หลายประการ แต่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นปาฐกถา (keynote) ช่วงเช้าที่มี Guo Ping รองประธานและซีอีโอหมุนเวียนของ Huawei ขึ้นมาเป็นผู้กล่าวนำครับ
หมายเหตุ ผมเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยคำเชิญของทาง Huawei ครับ
VMware เปิดตัว AppDefense โซลูชันด้านความปลอดภัยสำหรับแอพที่รันใน virtual machine
VMware AppDefense เป็นระบบความปลอดภัยที่รันอยู่ในระดับของ hypervisor ทำให้มันสามารถเก็บสถานะของ VM ที่รันอยู่บน hypervisor ได้ทั้งหมด และสามารถมอนิเตอร์พฤติกรรมของแอพพลิเคชันใน VM ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ อีกทั้งสามารถสั่งให้ vSphere และ NSX ดำเนินการรับมือภัยคุกคามได้อัตโนมัติ ช่วยให้ผู้ดูแลระบบตอบสนองปัญหาได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แอปเปิลยังเดินหน้าผลักดัน iOS ในตลาดองค์กร ผ่านความร่วมมือกับบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่างต่อเนื่อง (ก่อนหน้านี้คือ IBM, Cisco, SAP, Deloitte) พันธมิตรรายล่าสุดคือ Accenture บริษัทที่ปรึกษาด้านไอทีชื่อดังระดับโลก
ภายใต้ข้อตกลงนี้ Accenture จะพัฒนาโซลูชันธุรกิจบน iOS โดยใช้ทีม Accenture Digital Studios ที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากแอปเปิลที่เข้ามานั่งทำงานด้วยกัน (co-locate) ช่วยกันสร้างต้นแบบแอพใหม่ๆ ขึ้นมา
ช่วงนี้ VMware มีงานใหญ่ประจำปี VMworld 2017 ข่าวสำคัญที่ประกาศในงานคือ VMware Cloud บน AWS เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว
VMware ประกาศโครงการนี้เมื่อเกือบ 1 ปีก่อน มันคือการนำซอฟต์แวร์คลาวด์ของ VMware vSphere/VSAN/NSX ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาด private cloud ขององค์กร ไปรันบนโครงสร้างพื้นฐานของ AWS ที่เป็นเบอร์หนึ่งในตลาด public cloud ผลคือองค์กรสามารถย้ายงานข้ามไปมาระหว่างคลาวด์ทั้งสองฝั่งได้ง่ายขึ้น
บริการนี้เริ่มเปิดให้เช่าแล้วใน AWS เขต US West คิดราคาเริ่มต้นที่ 8.3681 ดอลลาร์ต่อโฮสต์ต่อชั่วโมง (ซื้อเยอะมีลดราคามากกว่านี้) ผู้ขาย ออกบิล และซัพพอร์ตจะเป็น VMware ทั้งหมด
เมื่อปีที่แล้ว กรมตำรวจนิวยอร์ก (New York Police Department - NYPD) มีแผนซื้อสมาร์ทโฟนแจกตำรวจจำนวน 36,000 เครื่องเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ในโลกยุคดิจิทัล อย่างไรก็ตาม NYPD เลือกซื้อสมาร์ทโฟน Lumia ของไมโครซอฟท์จำนวน 36,000 เครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone 8.1 (Lumia 830 และ Lumia 640XL) ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานก็ถูกลอยแพ
New York Post อ้างแหล่งข่าวว่า NYPD ต้องทยอยเปลี่ยนจาก Windows Phone มาเป็น iPhone แทน
PureStorage แถลงผลประกอบการประจำไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2018 (นับตามปฏิทินคือ พ.ค.-ก.ค. 2017) และประกาศเปลี่ยนตัวซีอีโอด้วย
Scott Dietzen ซีอีโอที่อยู่ในตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2010 จะขยับขึ้นเป็นประธานบอร์ด และดึงเอา Charles Giancarlo อดีตผู้บริหารของ Cisco และอดีตซีอีโอของ Avaya มาดำรงตำแหน่งแทน ส่วนเหตุผลที่เปลี่ยนตัวก็มาจากตัวของ Dietzen เองที่รู้สึกว่าทำงานมานานพอแล้วและต้องการลงจากตำแหน่ง กระบวนการสรรหาซีอีโอคนใหม่เริ่มมาได้สักพักและคาดว่าจะต้องใช้เวลานาน 1 ปี แต่พอมาได้ Giancarlo ที่คุณสมบัติลงตัว ทำให้การเปลี่ยนผ่านรวดเร็วขึ้นมาก
จากที่ไมโครซอฟท์ประกาศ วิธีออกรุ่นแบบใหม่ของ Windows Server แยกเป็นรุ่นออกบ่อยเน้นฟีเจอร์ใหม่ทุก 6 เดือน (Semi-Annual Channel) และรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว ออกทุก 2-3 ปี (Long-Term Servicing Channel - LTSC)
วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows Server รุ่นออกบ่อยตัวแรกจะใช้ชื่อว่า Windows Server, version 1709 (ของแท้ต้องมี comma) โดยจะเปิดตัวในงานสัมมนา Microsoft Ignite วันที่ 25-29 กันยายนนี้
Windows Server, version 1709 พัฒนาต่อมาจากฐานของ Windows Server 2016 โดยจะเน้นที่ฟีเจอร์ใหม่ 3 ด้านคือ container, security และ software defined datacenter ซึ่งรายละเอียดของฟีเจอร์ต้องรอประกาศในงาน
กูเกิลเปิดตัว Chrome Enterprise เป็นบริการรวมมิตรสำหรับการใช้งาน Chrome OS ในองค์กร โดยคิดราคา 50 ดอลลาร์ต่ออุปกรณ์ต่อปี
การจ่าย 50 ดอลลาร์จะเพิ่มฟีเจอร์ด้านการจัดการต่างๆ เข้ามาจาก Chrome OS ตัวปกติ เช่น ระบบ Single Sign-On, ระบบจัดการพรินเตอร์, ระบบจัดการแอพบน Play Store ที่รันบน Chrome OS, ระบบจัดการส่วนขยายของ Chrome และการจัดการอัพเดตระบบปฏิบัติการ, ระบบป้องกันเครื่องหาย, บริการซัพพอร์ต 24 ชั่วโมง
ที่น่าสนใจคือกูเกิลยังมีระบบเชื่อมต่อกับ Microsoft Active Directory และ VMware Workspace ONE ที่ตลาดองค์กรใช้งานอยู่แล้วด้วย
ที่มา - Google Blog
Cisco ประกาศซื้อกิจการบริษัท Springpath ด้วยมูลค่า 320 ล้านดอลลาร์
Springpath เป็นบริษัทที่ทำซอฟต์แวร์สำหรับสตอเรจแบบ hyperconverged ที่ใช้ฮาร์ดแวร์ทั่วไปมาทำเป็นระบบสตอเรจสำหรับองค์กร บริษัทก่อตั้งในปี 2012 และเคยรับเงินลงทุนจาก Cisco มาครั้งหนึ่งแล้วในปี 2015 ทั้งสองบริษัทเคยมีสัมพันธ์ต่อกันในการพัฒนา HyperFlex ผลิตภัณฑ์สตอเรจแบบ hyperconverged ของ Cisco ที่เกิดจากซอฟต์แวร์ของ Springpath กับฮาร์ดแวร์ Cisco UCS
เป้าหมายในการซื้อกิจการของ Cisco ก็ชัดเจนว่าความร่วมมือกับ Springpath เป็นไปด้วยดี และต้องการนำ Springpath ไปต่อยอดในสินค้ากลุ่มสตอเรจของตัวเองนั่นเอง
Dell EMC เปิดตัวสินค้าหลักกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge รุ่นใหม่ (นับเป็นรุ่นที่ 14 หรือ 14G) ที่อัพเกรดมาใช้ซีพียู Xeon Scalable รุ่นใหม่ของอินเทล และถือเป็นเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge รุ่นแรกที่ปรับมาใช้แบรนด์ของบริษัทใหม่ Dell EMC (เอกลักษณ์คือเปลี่ยนหน้ากากด้านหน้ามาเป็นลายรังผึ้งแบบ 6 เหลี่ยม)
จุดเด่นของ Dell EMC PowerEdge 14G มีด้วยกัน 3 ส่วนคือ
ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการบริษัท Cycle Computing เจ้าของซอฟต์แวร์จัดการคลาวด์ข้ามค่าย
ซอฟต์แวร์ของ Cycle Computing จะช่วยให้องค์กรที่ใช้คลาวด์หลายยี่ห้อร่วมกัน เช่น AWS, Azure, GCP หรือคลัสเตอร์ภายในองค์กร สามารถบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ (orchestration/provisioning) รวมถึงจัดการข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น
ไมโครซอฟท์ระบุว่าซอฟต์แวร์ของ Cycle Computing ช่วยให้งานประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) และการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Computing) ย้ายจากการรันบนเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรมาสู่คลาวด์
ซอฟต์แวร์ของ Cycle Computing จะยังใช้งานได้กับคลาวด์ยี่ห้ออื่นๆ อย่าง AWS และ GCP แต่ในอนาคตจะโฟกัสไปที่ Azure มากขึ้น
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Coco Framework ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับรัน blockchain ในองค์กร
ไมโครซอฟท์ระบุว่าข้อจำกัดของเครือข่าย public blockchain อย่าง Bitcoin หรือ Ethereum คือประมวลผลช้า (Ethereum ทำได้ 20 ธุรกรรมต่อวินาที) และใช้พลังงานในการประมวลผลมาก ในขณะที่ blockchain ในองค์กรมีรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป เพราะสมาชิกในเครือข่ายคือหน่วยงานที่รู้จักตัวตนกันอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติบางอย่างแบบที่เครือข่าย public blockchain มี
อย่างไรก็ตาม การดัดแปลงซอฟต์แวร์ public blockchain มาใช้กับตลาดองค์กรกลับไม่ประสบความสำเร็จนัก เพราะมันออกแบบมาสำหรับเครือข่ายเปิดมาตั้งแต่แรก ไมโครซอฟท์จึงพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยการสร้าง Coco ขึ้นมาสำหรับตลาดองค์กรโดยเฉพาะ