Frank K. Dickman จากเมืองแอลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโกได้ยื่นฟ้องไมโครซอฟท์ หลังแล็บท็อป ASUS 54L ของเจ้าตัวที่มาพร้อมกับ Windows 7 แบบ OEM ถูกบังคับอัพเดตเป็น Windows 10 แล้วไม่สามารถใช้งานได้ และกระบวนการอัพเดตทำให้แคชไฟล์และแบ็คอัพของ Windows 7 หายไปด้วย
Dickman ระบุว่าเรียกร้องให้ไมโครซอฟท์ส่งลิงก์ดาวน์โหลด Windows 7 เวอร์ชัน OEM สำหรับติดตั้งบนแล็บท็อปของเขา แน่นอนว่าไมโครซอฟท์ปฏิเสธ Dickman จึงฟ้องไมโครซอฟท์ พร้อมเรียกร้องให้ผู้พิพากษามีคำสั่งให้ไมโครซอฟท์ปฏิบัติตามคำร้องภายใน 30 วัน มิเช่นนั้นจะต้องจ่ายค่าเสียหายกว่า 600 ล้านเหรียญ
เมื่อไม่กี่วันก่อน ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจ้าง Lindsay-Rae McIntyre อดีตหัวหน้าฝ่ายความหลากหลายในองค์กร (CDO) และรองประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ IBM ให้มารับตำแหน่งหัวหน้าความหลากหลายในองค์กรของไมโครซอฟท์
วันนี้ IBM แถลงว่าบริษัทยื่นฟ้องไมโครซอฟท์แล้ว และกล่าวว่า McIntyre รู้ข้อมูลลับของบริษัททั้งด้านความหลากหลาย และกลยุทธ์ต่างๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ IBM หากเธอย้ายไปร่วมงานกับไมโครซอฟท์ได้ในทันทีและนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งาน อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อความสามารถการแข่งขันของบริษัทได้
สม รังสี อดีตผู้นำพรรคฝ่ายค้านของกัมพูชาฟ้องศาลสหรัฐฯ ให้ Facebook เปิดเผยข้อมูลว่า สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซื้อยอดไลค์ใน Facebook หรือไม่ โดยตั้งข้อสังเกตว่ายอดไลค์มากจนผิดปกติ
เพจ Facebook ของ สมเด็จฮุน เซน มียอดไลค์ประมาณ 9 ล้าน ซึ่งถือว่ามากทีเดียวสำหรับการเพิ่งจะเข้าร่วม Facebook ในเดือนกรกฎาคม ปี 2016 คิดเป็นยอดไลค์เพิ่มขึ้น 3 ล้านภายในเวลาไม่กี่เดือน โดย Facebook ของ สมเด็จฮุน เซน มียอดกดไลค์มากเป็นอันดับสามเมื่อเทียบกับบรรดาผู้นำการเมืองระดับโลก
มีการวิเคราะห์ที่ The Guardian ระบุบอกว่า 80% ของบัญชี Facebook ที่กดไลค์เพจของสมเด็จฮุนเซน เป็นบัญชีที่มาจากประเทศ อินเดีย ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก ซึ่งเป็นประเทศที่มีบริษัททำกิจการขายยอดไลค์และขายความนิยมในโซเชียลมีเดียให้มีตัวเลขเยอะๆ ตั้งอยู่
หลังจากทั้ง Uber และ Waymo ได้ขึ้นศาลซานฟรานซิสโกจากคดีที่ Waymo เป็นฝ่ายยื่นฟ้อง Uber ว่าได้ขโมยความลับทางการค้าผ่าน Otto บริษัทรถยนต์ไร้คนขับที่ก่อตั้งโดยอดีตพนักงาน Waymo และ Uber ได้ซื้อกิจการไป โดยหลังการพิจารณาคดีไปไม่กี่วัน Uber ก็เป็นฝ่ายประกาศขอยอมความในคดีนี้
แอพหาคู่ Tinder มีโมเดลทำเงินคือ Tinder Plus ผู้มีอายุต่ำกว่า 30 ปี จ่ายค่าบริการใช้งานรายเดือน 9.99 หรือ 14.99 ดอลลาร์ ส่วนผู้มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจ่ายราคา 19.99 ดอลลาร์ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงคุณลักษณะพิเศษ เช่น Unlimited Likes, ย้อนกลับไปยังคนที่เผลอปัดปฏิเสธโดยไม่ตั้งใจได้, Boost โปรไฟล์ของผู้ใช้ให้อยู่อันดับต้นๆ เพิ่มความโดดเด่น เป็นต้น
ความคืบหน้าจาก คดีผู้บริโภคในสหรัฐรวมตัวฟ้อง LG ปัญหา Boot Loop ได้ข้อยุติแล้ว โดย LG ยอมจ่ายชดเชยเพื่อยุติคดีนอกศาล
มาตรการของ LG ถือว่าใจป้ำไม่น้อย เพราะให้กลุ่มผู้ฟ้องเลือกว่าจะรับการชดเชยเป็นเงินสด 425 ดอลลาร์ หรือรับเป็นเครดิต 700 ดอลลาร์เพื่อซื้อมือถือ LG เครื่องใหม่ กระบวนการจ่ายเงินจะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม
ที่มา - Android Police
เมื่อวันที่ 16 มกราคม บริษัท TWiT, LLC (หรือเรียกเต็มๆ ว่า This Week in Tech เป็นบริษัทจัดรายการ podcast ด้านเทคโนโลยี สุขภาพ และกฎหมายตั้งแต่ปี 2005) โดยนาย Leo Laporte ยื่นคำร้องต่อศาลแขวงแคลิฟอร์เนียร์เพื่อขอให้ดำเนินคดีต่อบริษัท Twitter, INC ในข้อหาใช้เครื่องหมายทางการค้าของ TWiT โดยไม่ได้รับอนุญาต และละเมิดข้อตกลง
ในคำฟ้องระบุว่าแต่เดิมนั้น Twitter ให้สัญญากับ TWiT เมื่อปี 2009 ว่าจะให้บริการเฉพาะ microblogging เท่านั้น ไม่สนใจจะขยายบริการด้าน multimedia streaming เช่นที่ TWiT ให้บริการอยู่ แต่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 มีข่าวว่า Twitter จะให้บริการฯ ดังกล่าวด้วย ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของ TWiT เนื่องจากดำเนินกิจการประเภทเดียวกันแต่ใช้เครื่องหมายทางการค้าเดียวกัน จึงยื่นคำร้องฯ ดังกล่าว
ประเด็นความหลากหลายทางเพศ-เชื่อชาติ กลับมาคุกรุ่นใน Google อีกครั้ง เมื่อบริษัทถูกฟ้องข้อหาปฏิบัติไม่เท่าเทียม โดยกลุ่มผู้ชายผิวขาวในบริษัทถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
ส่วนผู้ฟ้องไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็น James Damore เจ้าของจดหมายเวียนตั้งคำถามนโยบายความหลากหลายของ Google นั่นเอง
เนื้อหาในจดหมายเวียนของ James Damore อดีตพนักงานใน Google แบ่งแยกบทบาทชายหญิงชัดเจน ระบุว่าผู้หญิงสนใจเรื่องทางสังคมมากกว่า จึงเป็นสาเหตุให้จำนวนชายหญิงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ในองค์กรเทคโนโลยี จดหมายของเขาจุดประเด็นถกเถียงครั้งใหญ่จน Google ต้องปลดเขาออก
ในคดีใหม่ที่ฟ้อง Google ไม่ได้ฟ้องในนามของ Damore คนเดียว แต่ยังรวมถึงกลุ่มผู้ชายวิศวกรคนอื่นอีก คำฟ้องระบุว่า พนักงานที่แสดงความคิดเห็นเบี่ยงเบนจากมุมมองส่วนใหญ่ใน Google เกี่ยวกับเรื่องการเมืองในที่ทำงาน,โยบายการจ้างงาน รวมทั้งนโยบายความหลากหลายจะถูกตำหนิและลงโทษ ถือเป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมายของพวกเขา
มาตามนัดอย่างที่หลายคนคาด หลังข่าวช่องโหว่ซีพียู Spectre และ Meltdown ของอินเทล ก็เริ่มมีลูกค้ารวมตัวกันฟ้องเรียกค่าเสียหายแบบกลุ่ม (class action) แล้ว
คดีฟ้องร้องอินเทลมีขึ้นใน 3 รัฐของสหรัฐ ได้แก่ แคลิฟอร์เนีย อินเดียนา และโอริกอน เนื้อหาในคำฟ้องเป็นเรื่องช่องโหว่ความปลอดภัย, มาตรการของอินเทลที่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะช้าเกินไป นับจากการรู้ข้อมูลช่องโหว่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2017, ผลกระทบจากแพตช์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง
โฆษกของอินเทลระบุว่ารับทราบเรื่องการฟ้องร้องแล้ว แต่ปฏิเสธไม่ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดี
เมื่อต้นปีที่แล้ว Airbnb ถูกฟ้องโดยบริษัทการลงทุนและจัดการอพาร์ทเมนท์หรือ Apartment Investment & Management Company (AIMCO) ซึ่งเป็นบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ข้อหาส่งเสริมให้ผู้เช่าอพาร์ทเมนท์ละเมิดกฎการเช่าที่ห้ามไม่ให้ผู้เช่าเสนอการเช่าต่อระยะสั้น
ล่าสุด ศาลสหรัฐฯ ใน Los Angeles เห็นว่า Airbnb นั้นถูกคุ้มครองด้วยกฎหมาย Communications Decency Act ซึ่งเป็นกฎหมายที่ปกป้องผู้ให้บริการออนไลน์จากการเสียเปรียบเนื่องมาจากการโพสต์คอนเทนต์ของผู้ใช้ โดยผู้พิพากษา Dolly Gee กล่าวว่าผู้ที่ต้องรับผิดชอบในเรื่องกฎของ AIMCO นั้นคือโฮสต์ที่ปล่อยห้องเช่าต่อ ไม่ใช่ตัวบริษัท Airbnb ที่ให้บริการแพลตฟอร์ม
หลังผู้ใช้ในสหรัฐรวมตัวฟ้องร้องแอปเปิลกรณีที่แอปเปิลทำให้ iPhone เครื่องเก่าช้าลง ล่าสุดผู้ใช้ในเกาหลีใต้รวมตัวฟ้องร้องแอปเปิลแบบกลุ่มแล้ว ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เสียหายร่วมฟ้องร้องกว่า 2 แสนคน
ผู้ใช้เกาหลีใต้วิจารณ์ (คล้ายๆ กับในหลายๆ ประเทศ) ว่า การลดราคาค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เป็นความไม่จริงใจของแอปเปิลและยังคงโยนภาระด้านการเงินมาให้ผู้บริโภคอยู่ดี ไปจนถึงเหตุการณ์นี้เป็นการหลอกลวงและทรยศต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าด้วย
Spotify เจอปัญหาลิขสิทธิ์เพลงเป็นระยะๆ แต่คราวนี้บริษัทถูกฟ้องร้องด้วยมูลค่าสูงมาก โดย Wixen Music Publishing บริษัทบริหารจัดการลิขสิทธิ์เพลงให้นักแต่งเพลง ฟ้องคดีในศาลรัฐบาลกลางของรัฐแคลิฟอร์เนียระบุว่า Spotify สตรีมเพลง "Free Fallin", "Light My Fire" ของวง Doors และเพลงอื่นๆ นับหมื่นเพลง โดยไม่มีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ โจทก์คำนวณความเสียหายเป็นเงินอย่างน้อย 1.6 พันล้านดอลลาร์
Spotify ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงถูกลิขสิทธิ์ถูกบริษัท Wixen Music Publishing ของสหรัฐฟ้องฐานละเมิดลิขสิทธิ์เพลงกว่า 1 พันเพลง เรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์ พร้อมให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
เพลงที่ Wixen ระบุว่า Spotify ละเมิดลิขสิทธิ์ตนมี Free Falling ของ Tom Petty, Light My Fire ของ The Doors, (Girl We Got a) Good Thing ของ Weezer เป็นต้น ขณะที่ทาง Spotify ปฏิเสธจะให้ความเห็นในกรณีนี้
ทั้งนี้เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Spotify ได้จ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์เพลงราว 43 ล้านดอลลาร์ หลังถูกฟ้องร้องแบบกลุ่มจากการละเมิดลิขสิทธิ์ในลักษณะคล้ายๆ กันนี้
คุณแม่ชาวจีนรายหนึ่งฟ้องบริษัท MeeLive Network Technology เจ้าของแอพไลฟ์สตรีม Inke หลังจากที่ลูกสาวของเธอเสียเงินค่าทิปเพื่อจะได้คุยกับคนไลฟ์ผู้ชายบนแพลตฟอร์มรวมแล้วกว่า 98,000 ดอลลาร์ในระยะเวลา 3 เดือน แต่ศาลชั้นต้นปฏิเสธคำร้องเพราะมีหลักฐานการชำระเงินชัดเจน
แอพพลิเคชั่นไลฟ์สตรีม Inke เป็นแพลตฟอร์มไลฟ์จากบล็อกเกอร์หลากหลายไลฟ์สไตล์ คนดูสามารถกดเพื่อจ่ายเงินเป็นทิปพิเศษแก่คนไลฟ์ได้ โดยคุณแม่ Liu บอกว่าลูกสาววัย 16 ปีได้แอบเชื่อมบัญชีการใช้งานของคุณแม่เข้ากับแอพ
โดย Liu ต้องการให้ MeeLive Network Technology ซึ่งเป็นเจ้าของ Inke ควรให้เงินคืน
บริษัท MeeLive Network Technology ระบุในการพิจารณาว่าบัญชีการใช้งานถูกลงทะเบียนเข้ามาโดยใช้เลขประจำตัวประชาชนของ Liu การชำระเงินทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ชื่อของ Liu ทางบริษัทจึงไม่สามารถคืนเงินให้แก่เธอได้
อย่างไรก็ตาม Liu ก็ยืนยันจะยื่นอุทธรณ์ต่อ โดยระบุว่า "ผู้เยาว์ไม่สามารถต้านทานการล่อลวงได้ แต่ Inke ช่วยให้พวกเขาเข้าร่วมแพลตฟอร์มได้ ฉันคิดว่าบริษัทควรมีบรรทัดฐานด้านคุณธรรม"
ดีล Mozilla เลือกใช้ Yahoo เป็นเอนจินค้นหาหลักในปี 2014 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญของวงการเบราว์เซอร์ เพราะ Mozilla ละทิ้ง Google ที่ใช้งานมานาน ย้ายไปใช้ Yahoo! โดยแลกกับค่าตอบแทนมหาศาล
อย่างไรก็ตาม ดีลนี้กลับล่มเร็วกว่าข้อตกลงเดิม 5 ปี เพราะ Yahoo ขายกิจการให้ AOL และเดือนที่แล้ว Firefox ก็เปลี่ยนเอนจินกลับมาเป็น Google โดยไม่มีรายละเอียดของการยกเลิกสัญญาว่าเป็นอย่างไร
พนักงานคนหนึ่งส่งสำนวนฟ้องร้องบริษัท Tesla เรื่องเหยียดสีผิวในที่ทำงานโดยเฉพาะในส่วนงานการผลิต โดยอ้างว่ามีพนักงานที่ได้รับประสบการณ์ถูกกระทำแบบเหยียดผิวกว่าร้อยราย
เนื้อหาในสำนวนส่งฟ้องระบุว่าในแผนกการผลิตเป็นแหล่งเพาะเชื้อของการเหยียดผิว และแม้ Tesla จะเป็นผู้นำด้านการค้นพบสิ่งใหม่ในโลกเทคโนโลยี แต่กระบวนการผลิตยังมาจากผู้ที่มีแนวคิดเหยียดเชื้อชาติแบบยุคเก่าอยู่
คงไม่มีใครคิดว่าบริษัทพัฒนาเกมจะถูกฟ้องด้วยเหตุผลเพราะรถในเกมละเมิดสิทธิบัตร แต่มันเกิดขึ้นแล้วเมื่อ AM General LLC บริษัทผลิตรถฮัมวีที่ใช้ด้านการทหารฟ้อง Activision Blizzard ฐานละเมิดเครื่องหมายการค้ารถฮัมวีจากแฟรนไชส์ Call of Duty ไปจนถึงของเล่นและหนังสือที่เกี่ยวข้อง
AM General ระบุว่าความสำเร็จของ Call of Duty อยู่บนความสูญเสียของ AM General และทำให้ผู้บริโภคหลงคิดไปว่าบริษัทให้อนุญาต Activision นำรถยนต์ไปใช้ ไปจนถึงคิดว่าบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยกับการสร้างเกม ขณะที่โฆษกของ Activision ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณา
Blizzard ผู้พัฒนา Overwatch หนึ่งในเกม FPS ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ณ เวลานี้ จับมือ NetEase ผู้ให้บริการเกม Overwatch ในประเทศจีน เตรียมลุยฟ้อง 4399EN Game ผู้พัฒนาเกม Heroes of Warfare เกมมือถือในประเทศจีนในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์และเลียนแบบ Overwatch ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้ง ตัวละคร วิธีการเล่น และฉากต่างๆ ภายในเกม
เกิดความขัดแย้งระหว่าง 2 สตาร์ตอัพชื่อดังแห่งวงการ blockchain เมื่อบริษัท R3 ยื่นฟ้องคู่แข่ง Ripple Labs ในประเด็นสัญญาการซื้อขายเงินดิจิทัลสกุล XRP ของ Ripple
เรื่องมีอยู่ว่า สองบริษัทเคยทำสัญญากันในเดือนกันยายนปี 2016 ว่า R3 จะมีสิทธิซื้อเงินสกุล XRP จำนวน 5 พันล้านหน่วยจาก Ripple ในราคาหน่วยละ 0.0085 ดอลลาร์ โดยจะซื้อเมื่อไรก็ได้ภายในเดือนกันยายน 2019
แต่เมื่อตลาด cryptocurrency บูมในปี 2017 ส่งผลให้ราคา XRP แพงขึ้นหลายเท่า (ขณะที่เขียนข่าว ราคาหน่วยละ 0.21 ดอลลาร์ ขึ้นมาประมาณ 25 เท่าจากราคาที่ตกลงไว้) ทำให้ฝั่ง Ripple พยายามบอกเลิกสัญญานี้ และส่งผลให้ R3 ยื่นฟ้องต่อศาลนั่นเอง
ถ้ายังจำกันได้ ในปี 2015 Lenovo เคยมีข่าวอื้อฉาวเรื่องการพรีโหลดซอฟต์แวร์ Superfish ในโน้ตบุ๊กบางรุ่น ที่แอบดักข้อมูลของผู้ใช้ส่งคืนเซิร์ฟเวอร์ ถึงแม้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ Superfish ไม่ใช่ Lenovo โดยตรง แต่ในฐานะบริษัทผู้ขายฮาร์ดแวร์และมีรายได้จากการพรีโหลดซอฟต์แวร์ ทำให้ Lenovo ต้องรับผิดชอบไปด้วย (บริษัทสัญญาว่าจะพรีโหลดซอฟต์แวร์ให้น้อยลง)
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐทั้งระดับรัฐบาลกลาง (FTC) และอัยการของแต่ละรัฐเข้ามาสอบสวนปัญหา Superfish ในข้อหาสร้างอันตรายต่อผู้บริโภค หลังกระบวนการสอบสวนดำเนินการมาเป็นปี ในที่สุด FTC ก็ประกาศว่า Lenovo เจรจายอมความเพื่อยุติคดีแล้ว
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาศาลในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ตัดสินให้ Riot ผู้พัฒนาชื่อดังต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับ Edgar Davids นักฟุตบอลระดับตำนานชาวดัทช์ หลังจากพิจารณาแล้วว่ามีการทำสกินในเกม League of Legends ที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (Personal Rights) ของ Edgar
สำหรับสกินเจ้าปัญหาดังกล่าวคือ Striker Lucian ที่ถูกปล่อยออกมาในช่วง ฟุตบอลโลก 2014 สกินนี้เป็นนักฟุตบอลที่มีผมทรงเดร็ดล็อกและแว่นตาสีส้ม คล้ายคลึงกับ Edgar Davids ผู้ซึ่งทำผมทรงนี้ และใส่แว่นตาในลักษณะเดียวกัน
Allegra Schawe-Lane ผู้หญิงข้ามเพศและสามี Dane Lane ทั้งคู่ทำงานที่บริษัท Amazon ในส่วนโรงงานจัดส่งสินค้าในเมือง Hebron รัฐ Kentucky ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2014 ถึงเดือนตุลาคม 2015 ทั้งสองฟ้องบริษัท Amazon ฐานเพิกเฉยต่อการละเมิดและกลั่นแกล้งพนักงานข้ามเพศ
องค์กร Transgender Legal Defense & Education Fund (TLDEF) เป็นผู้ทำสำนวนส่งฟ้อง เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า การละเมิดและกลั่นแกล้งเริ่มขึ้นเมื่อพนักงานคนหนึ่งรู้ว่า Allegra เป็นผู้หญิงข้ามเพศ เพื่อนร่วมงานใช้สรรพนามเรียกเธออย่างหยาบคาย (chick with a dick), "แฟนหนุ่มของ Dane", "shemale" และ โสเภณี เป็นต้น รวมทั้งมีพฤติกรรมคุกคามต่อทั้งคู่เป็นบางโอกาส โดยทั้งสองรายงานเรื่องการกลั่นแกล้งไปยังฝ่ายบุคคลของบริษัทหลายครั้ง ทั้งแบบลายลักษณ์อักษร โทรศัพท์ แต่ฝ่ายบุคคลก็ยังเพิกเฉย
จากที่ก่อนหน้านี้ YouTube นำระบบประมวลผลอัตโนมัติมาใช้เพื่อ demonetization (การระงับการจ่ายค่าตอบแทนจากการโฆษณา) วิดีโอที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์หรือสร้างความเกลียดชังที่ YouTube โฆษณาว่าแม่นยำกว่าการใช้คน จนมีผู้ใช้บางรายแสดงความคิดเห็นว่าระบบไม่สามารถพิจารณาฯ ได้อย่างเป็นธรรมนัก
ในที่สุด ผู้ใช้ YouTube ชื่อว่า ZombieGoBoom กับพวกร่วมกันยื่นฟ้อง YouTube และ Google ในฐานะบริษัทแม่ แบบหมู่คณะต่อศาลแขวงแคลิฟอร์เนียเหนือเพื่อให้มีการไต่สวนต่อกรณีดังกล่าวแล้ว
ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยเด็กชายคนหนึ่ง ขี่รถจักรยานของบริษัท ofo และชนกับรถบัส เป็นเหตุให้เด็กชายเสียชีวิต ด้านพ่อแม่ของเด็กฟ้องร้องบริษัทแชร์จักรยาน ofo เรียกค่าเสียหายด้วย
จากการสอบสวนพบว่าเด็กชายขี่จักรยานผิดฝั่งถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตามทางครอบครัวเด็กชายระบุว่าบริษัท ofo ก็มีส่วนควรรับผิดชอบด้วย เพราะไม่ได้ดูแลจักรยานให้พร้อมใช้งานในที่สาธารณะ และยังปล่อยให้เด็กที่อาจยังไม่บรรลุนิติภาวะปลดล็อกใช้บริการจักรยานได้ เพราะตามกฎหมายจราจรในจีน ระบุว่าเด็กต้องมีอายุอย่างน้อย 12 ปีจึงจะขี่จักรยานบนถนนสาธารณะได้
กรณีคุกคามทางเพศในบริษัทเทคโนโลยีค่อยๆ เผยออกมาเรื่อยๆ ในบริษัทเทคโนโลยี โดย Beatrice Kim ฟ้องร้องซีอีโอบริษัทอดีตนายจ้าง BetterWorks คือ Kris Duggan ข้อหากระทำคุกคามทางเพศ และฟ้องร้องผู้บริหารรายอื่นคือ Matt Hart ผู้จัดการซอฟต์แวร์ส่วนภูมิภาค และ Tamara Cooksey ผู้จัดการการดำเนินงานส่วนบุคคล ฐานปล่อยให้การคุกคามทางเพศเกิดขึ้น และไม่จัดการอะไรแม้จะได้รับรายงานเรื่องนี้แล้วก็ตาม
Conor D. Mack ทนายความของผู้ฟ้องระบุกับนักข่าวว่า โจทก์คือ Beatrice Kim ระบุว่า Kris Duggan ได้ทำร้ายโจทก์ในลักษณะที่เป็นการกระทำคุกคามทางเพศ (เมื่ออ่านจากรายละเอียดคำให้การของ Kim อาจเรียกได้ว่าเธอเกทอบจะถูกข่มขืน) โดยไม่สนใจความพยายามของโจทก์ในการประท้วงและเรียกร้องปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจากการกระทำนั้น จนกระทั่งมีเพื่อนร่วมงานเข้าไปขัดขวาง