Immersion ได้ฟ้องร้อง Apple เรื่องการละเมิดสิทธิบัตร haptic feedback ในอุปกรณ์ MacBook, MacBook Pro และ iPhone 6s โดยเป็นการฟ้องร้องเพิ่มเติมจากการฟ้องร้องครั้งที่แล้ว
Immersion รายงานว่า ฟีเจอร์ 3D Touch และ Force Touch นั้นได้ละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท 4 สิทธิบัตร ได้แก่
ถึงแม้การใช้สมาร์ทโฟนจนเกิดอุบัติเหตุ จะพบเห็นได้ทั่วไป แต่ทว่ากรณีนี้อาจเป็นกรณีแรกที่สื่อโซเชียลมีเดียถูกฟ้อง ฐานเป็นต้นเหตุที่ทำให้ Christal McGee หญิงสาววัย 18 ปีขับรถเร็วกว่า 170 กิโลเมตรต่อชั่ว จนเกิดอุบัติเหตุและมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส
อุบัติเหตุครั้งนี้เกิดขึ้น จากการที่นางสาว McGee ใช้ฟีเจอร์ตรวจจับความเร็วของ Snapchat ขณะขับรถและเร่งความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก่อนที่จะพุ่งเข้าชนฝั่งคนขับของรถคู่กรณี จนนาย Wentworth Maynard คนขับรถอีกคันได้รับบาดเจ็บทางสมองจนถึงขั้นโคม่า
เว็บไซต์ Re/code รายงานข่าวว่ากูเกิลและไมโครซอฟท์ เซ็นสัญญาสงบศึกระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายจะเพิกถอนคดีฟ้องร้องหรือร้องเรียนอีกฝ่าย ที่ยื่นไปยังหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาลประเทศต่างๆ และพยายามจะแก้ปัญหาหรือข้อขัดแย้งกันเองก่อนฟ้องร้อง
ตัวแทนของทั้งสองบริษัทยืนยันข่าวนี้ และระบุว่าจะแข่งกันด้วยคุณภาพผลิตภัณฑ์ มากกว่ากระบวนการทางกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงนี้ไม่ได้รวมประเด็นด้านผลิตภัณฑ์ด้วย แปลว่าเราจะยังไม่เห็นทั้งสองบริษัทร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด
คดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) ยื่นให้ศาลสั่งแอปเปิลทำรอมพิเศษ เพื่อให้ FBI ถอดรหัส iPhone ได้ง่ายขึ้น เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก หลายฝ่ายต่างจับตาคดีนี้ว่าจะสิ้นสุดอย่างไร เพราะเป็นคดีตัวอย่างเรื่องการเข้ารหัสของอุปกรณ์พกพา
แต่ล่าสุด คดีนี้จบลงแบบง่ายๆ เมื่อกระทรวงยุติธรรมถอนฟ้องคดี ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่าหาวิธีถอดรหัส iPhone โดยไม่ต้องพึ่งพาแอปเปิลได้แล้ว กระทรวงจึงขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งก่อนหน้านี้ที่สั่งให้แอปเปิลร่วมมือ (ซึ่งแอปเปิลกำลังอุทธรณ์อยู่)
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่ากระทรวงยุติธรรมถอดรหัส iPhone ด้วยวิธีไหน ในเอกสารที่กระทรวงยื่นต่อศาลก็เขียนสั้นๆ เพียง 3 บรรทัดว่า "ถอดได้แล้ว"
ศาลเยอรมนี ตัดสินว่าแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรด้านวิดีโอสตรีมมิ่งของบริษัท OpenTV/Kudelski และอาจส่งผลให้แอปเปิลต้องถอดฟีเจอร์บางอย่างออกจากผลิตภัณฑ์ของตัวเองที่ขายในเยอรมนี หรือไม่ก็ต้องขอใช้งานสิทธิบัตรจาก Kudelski แทน
ผลิตภัณฑ์ที่กระทบมีหลากหลาย ทั้ง iPhone, iPad, Mac, Apple TV, iTunes, QuickTime ส่วนสิทธิบัตรใบนี้เกี่ยวกับการผสานวิดีโอ เสียง และข้อมูลอื่นๆ ลงในไฟล์วิดีโอเพียงสตรีมเดียว
Kudelski เรียกค่าเสียหาย 4 ล้านยูโร แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าแอปเปิลจะอุทธรณ์หรือไม่
Kudelski หากินกับสิทธิบัตรในลักษณะนี้ และก่อนหน้านี้ Google, Cisco, Netflix ยอมจ่ายเงินให้ Kudelski มาก่อนแล้ว นอกจากคดีกับแอปเปิลในเยอรมนีแล้ว Kudelski ยังยื่นฟ้องแอปเปิลในสหรัฐอเมริกาด้วย
ถ้ายังจำคดี iCloudgate หรือ Celebgate ที่มีภาพส่วนตัวของศิลปิน ดารา เซเล็บจำนวนมากหลุดออกสู่อินเทอร์เน็ตในปี 2014 ความคืบหน้าล่าสุดของคดีนี้คือกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ยื่นฟ้องนาย Ryan Collins ข้อหาแฮ็กบัญชีแอปเปิลและกูเกิลกว่า 100 บัญชี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบัญชีของคนดังในวงการบันเทิง
Collins ยอมรับความผิดตามกฎหมายคอมพิวเตอร์ Computer Fraud and Abuse Act ข้อหาบุกรุกเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อขโมยข้อมูล มีบทลงโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี (ต้องรอศาลตัดสินว่าจะลงโทษอย่างไร)
คดีสิทธิบัตรระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงยังต่อสู้กันในชั้นศาลอุทธรณ์ (คนละคดีกับการออกแบบ iPhone อันนี้เป็นสิทธิบัตรตัวซอฟต์แวร์) จากเดิมที่แอปเปิลฟ้องซัมซุงละเมิดสิทธิบัตร และศาลชั้นต้นตัดสินว่าซัมซุงละเมิดจริง คิดค่าเสียหาย 120 ล้านดอลลาร์ กลายเป็นว่าซัมซุงไม่ได้ละเมิด กลับเป็นแอปเปิลด้วยซ้ำที่ละเมิดสิทธิบัตรซัมซุง
คดีนี้ต่อสู้กันที่ศาลอุทธรณ์ในวอชิงตันดีซี จากเดิมแอปเปิลฟ้องซัมซุงละเมิดสิทธิบัตร 3 รายการ ปรากฎว่าสิทธิบัตร 2 รายการ (slide-to-unlock และ autocorrect) ถูกซัมซุงต่อสู้ในประเด็นว่าสิทธิบัตรเป็นโมฆะ (invalid) ไปแล้ว ส่วนสิทธิบัตรอีกหนึ่งรายการ (quick links) ศาลตัดสินว่าซัมซุงไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรนี้ ถึงแม้ความสามารถใกล้เคียงกัน แต่ซัมซุงใช้เทคโนโลยีคนละแบบกับแอปเปิล
จากกรณีที่แอปเปิลเผยว่าบริษัทจะต่อสู้กับ FBI ล่าสุดในวันนี้แอปเปิลยื่นเอกสารคัดค้านคดีแก่ศาลเขตแคลิฟอร์เนียแล้ว จุดประสงค์คือขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งการทำรอมรุ่นพิเศษให้แก่ FBI
เอกสารที่แอปเปิลยื่นมีความยาวทั้งหมด 65 หน้า หลักๆ พูดถึงในเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสิทธิของผู้ใช้งานซึ่ง Tim Cook ให้ความสำคัญกับมันมาก รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าเกิดรอมตัวนี้หลุดสู่โลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่มีใครรับประกันได้ว่าข้อมูลทั้งหมดไม่ถูกสอดส่องโดยภาครัฐหรือแฮกเกอร์
ในคดีของ FBI ครั้งนี้ Apple เชื่อว่า FBI จะปิดคดีลงได้โดยไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลจาก iPhone ที่ถูกยึดมาก็ตาม
คดีเก่าเรื่องแอปเปิลกับการปลดล็อค iPhone ของผู้กราดยิงในเมือง San Bernardio ยังไม่ได้ข้อยุติ ก็มีข่าวตามหลังมาติดๆ ว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ต้องการปลดล็อค iPhone อีก 9 เครื่องที่เป็นของกลางในคดีอื่นๆ ด้วย
เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดย Marc J. Zwillinger ทนายความของแอปเปิลที่เขียนจดหมายส่งต่อศาล ย้ำว่าแอปเปิลไม่ต้องการปลดล็อค iPhone เหล่านี้ ในจดหมายยังระบุว่าแอปเปิลเริ่มได้รับคำขอจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2015
แอปเปิลไม่ได้ระบุรายละเอียดของคดีที่ iPhone เหล่านี้ไปเกี่ยวข้องด้วย บอกเพียงว่าเป็นคดีที่เกิดขึ้นในนิวยอร์ก ชิคาโก แอลเอ ซานฟรานซิสโก และบอสตัน
Immersion บริษัทด้านซอฟต์แวร์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประกาศยื่นเรื่องฟ้อง เรียกค่าเสียหายจากบริษัทแอปเปิล หลังฟีเจอร์ 3D Touch ที่เปิดตัวมาพร้อม iPhone 6s ละเมิดสิทธิบัตรของตน และพร้อมทั้งส่งเรื่องไปยัง คณะกรรมการการค้านานาชาติของสหรัฐ (ITC) เพื่อให้มีคำสั่งระงับการจำหน่าย iPhone 6s / 6s Plus ในสหรัฐฯ แล้ว
Immersion อ้างว่าแอปเปิลได้ละเมิดซอฟต์แวร์ของตน ที่มีความสามารถเหมือนฟีเจอร์ Peek and Pop ของ 3D Touch, การสั่นของ iPhone เมื่อผู้ใช้กดหน้าจอ รวมไปถึงสิทธิบัตรที่มีชื่อว่า Interactivity Model for Shared Feedback on Mobile Device ด้วย (ต้นทางไม่ได้บอกว่าเหมือนกับความสามารถอะไรของ iPhone หรือ 3D Touch)
จากกรณี Error 53 อันลือลั่นของแอปเปิล ที่เมื่อผู้ใช้ iPhone หรือ iPad รุ่นที่มี Touch ID นำเครื่องไปซ่อมนอกศูนย์ของแอปเปิลแล้วอัพเดตระบบปฏิบัติการเป็น iOS 9 จะทำให้ iPhone หรือ iPad เครื่องนั้นถูกล็อกและกลายเป็นที่ทับกระดาษไปในทันที ล่าสุดสำนักงานกฎหมายใน Seattle เตรียมหาทางฟ้องบริษัทผลไม้ในประเด็นนี้แล้ว
เราเห็นข่าวทนายออราเคิล เผยตัวเลขรายได้-กำไรของ Android กันไปแล้ว แต่เท่านั้นยังไม่พอ เพราะเอกสารของทนายออราเคิลยังบอกว่ากูเกิลยอมจ่ายให้แอปเปิล 1 พันล้านดอลลาร์ (ตัวเลขเฉพาะปี 2014) เพื่อให้กูเกิลยังเป็นเครื่องมือค้นหาหลักของ iPhone ต่อไป
รูปแบบของการจ่ายเงินเป็นการแบ่งรายได้ (revenue-sharing) โดยตัวเลขอยู่ที่ 34% แต่ไม่ระบุชัดว่าเป็นตัวเลขของฝั่งกูเกิลหรือแอปเปิล ส่วนทนายของกูเกิลพยายามขอให้ศาลไม่เปิดเผยตัวเลขนี้ แต่ก็ไม่เป็นผล (แอปเปิลก็ขอต่อศาลแบบเดียวกัน) ส่วนโฆษกของกูเกิลก็ปฏิเสธไม่แสดงความเห็นต่อตัวเลขนี้
ตอนนี้เรายังไม่มีข้อมูลว่าสัญญาระหว่างกูเกิลและแอปเปิลมีระยะเวลานานแค่ไหนครับ
ที่ผ่านมากูเกิลไม่เคยเผยตัวเลขรายได้จากธุรกิจ Android แยกเฉพาะ (รวมเป็นก้อนใหญ่ในงบการเงิน ไม่แยกย่อยรายหมวด) แต่ในเอกสารคำฟ้องระหว่างกูเกิลกับออราเคิล ฝั่งของออราเคิลก็เปิดเผยตัวเลขนี้ว่า กูเกิลมีรายได้จาก Android ทั้งหมด 31 พันล้านดอลลาร์ (1.1 ล้านล้านบาท) และมีกำไร 22 พันล้านดอลลาร์ (8 แสนล้านบาท)
ตัวเลขนี้มาจากการที่ทนายของออราเคิลเข้าถึงเอกสารของกูเกิลที่เปิดเผยในชั้นศาล และคำนวณรายได้ด้วยสูตรของออราเคิลเอง เหตุผลคือออราเคิลต้องการแสดงให้เห็นว่า Android สร้างรายได้มหาศาล และออราเคิลควรมีส่วนแบ่งด้วยจากกรณีสิทธิบัตร Java
สงครามสิทธิบัตรระหว่าง NVIDIA และซัมซุง ที่ทั้งสองฝ่ายฟ้องกันเรื่องสิทธิบัตร GPU และ SoC ผ่านคณะกรรมการการค้านานาชาติของสหรัฐ (ITC) จบลงด้วยชัยชนะของซัมซุง
ผู้พิพากษาของ ITC ตัดสินว่า NVIDIA ละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุง 3 รายการ ส่วนรายละเอียดของคำตัดสินจะเผยแพร่ต่อสาธารณะภายใน 30 วัน และผลการตัดสินต้องรอคณะกรรมการ ITC ชุดใหญ่อนุมัติอีกขั้นตอนหนึ่ง
คดีนี้เริ่มจาก NVIDIA ฟ้องซัมซุงก่อน จากนั้นซัมซุงฟ้องกลับ ผลออกมาว่า ITC ตัดสินว่าซัมซุงไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของ NVIDIA (คดีแรก) และ NVIDIA ละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุง (คดีที่สอง)
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่ผ่านมา ศาลสูงระดับมลรัฐของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย ได้มีคำตัดสินให้ Google มีความผิดในฐานที่แสดงผลการค้นหาซึ่งมีบทความเป็นการหมิ่นประมาทจำเลยอยู่บนเว็บไซต์ของตนเอง
Amazon เริ่มยื่นฟ้องนักรีวิวสินค้าและบริการบนเว็บ Amazon.com ที่ไม่ทราบชื่อ (John Doe) จำนวนกว่า 1,114 คนต่อศาล โดยเป้าหมายในการฟ้องร้องครั้งนี้คือนักรีวิวปลอมที่ขายบริการให้คะแนน 5 ดาวในราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ บนเว็บไซต์ Fiverr (เป็นตลาดออนไลน์ที่เปิดให้นำบริการและงานรับจ้างมาเสนอในราคา 5 - 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ Amazon) ซึ่ง Amazon ตรวจพบการให้บริการจากนักรีวิวปลอมบนเว็บไซต์ดังกล่าว รวมถึงพบการใช้หมายเลข IP Address หลายจำนวนจากนักรีวิวปลอมเหล่านี้ในการหลีกเลี่ยงการตรวจจับโดย Amazon นั่นเอง
ความคืบหน้าของคดี คณะลูกขุนตัดสิน แอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบชิปของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน
ข่าวก่อนหน้านี้ คณะลูกขุนตัดสินว่าแอปเปิลผิดจริง ส่วนข่าวนี้ คณะลูกขุนประเมินค่าเสียหายที่ 234 ล้านดอลลาร์ น้อยกว่าข่าวก่อนหน้านี้ที่บอก 862.4 ล้านดอลลาร์ ตามที่มูลนิธิของมหาวิทยาลัยเรียกค่าเสียหายมา
ฝั่งของแอปเปิลยืนยันว่าจะยื่นอุทธรณ์ต่อไป อย่างไรก็ตาม ทางมูลนิธิของมหาวิทยาลัยได้ยื่นฟ้องคดีใหม่ที่ครอบคลุมหน่วยประมวลผลตัวใหม่ๆ ของแอปเปิลด้วยเช่นกัน
ที่มา - Reuters
เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว กลุ่มนักเขียนและผู้ประพันธ์ (the Authors Guild) ได้ยื่นฟ้อง Google ต่อศาล โดยระบุว่าการกระทำของ Google ที่ใช้การสแกนหนังสือจำนวนหลายล้านเล่ม ให้กลายเป็นระบบดิจิทัลแล้วเอาขึ้นไปโพสต์ไว้บนเว็บ (Google Books) เป็นการกระทำที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่มาตอนนี้ ศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินว่า การกระทำดังกล่าวจัดอยู่ใน "การใช้งานอย่างชอบธรรม" (fair use) ตามกฎหมายลิขสิทธิ์แล้ว
แอปเปิลอาจมีงานเข้าแล้ว หลังถูกมูลนิธิ Wisconsin Alumni Research Foundation (WARF) หน่วยงานด้านสิทธิบัตรของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ฟ้องศาลว่าละเมิดสิทธิบัตรด้านการประหยัดพลังงานของชิปประมวลผล
สิทธิบัตรชิ้นนี้ถูกจดในปี 1998 และ WARF ยื่นฟ้องแอปเปิลในเดือนมกราคม 2014 โดยกระบวนการพิจารณาคดีดำเนินเรื่อยมา แต่ล่าสุดคณะลูกขุน (ตามวิธีการพิจารณาคดีของสหรัฐ) ลงความเห็นว่าแอปเปิลผิดจริง ชิป A7, A8, A8X ละเมิดสิทธิบัตรของ WARF
แอปเปิลยืนยันว่าตัวเองไม่ผิด และยื่นขอตีความว่าสิทธิบัตรชิ้นนี้เป็นโมฆะ แต่สำนักงานสิทธิบัตรของสหรัฐปฏิเสธคำร้องนี้
คดีความการฟ้องบริษัทที่ระดมทุนผ่าน Kickstarter แล้วไม่ทำสัญญาอย่าง Ed Nash เจ้าของโครงการระดมทุนการ์ดเกมชื่อ Asylum Bicycle Playing Cards ตั้งแต่ปี 2012 จนมาถูกฟ้องเมื่อกลางปี 2014 ตอนนี้ได้ผลการตัดสินจากศาลแล้ว
ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล 5 ช่อง ได้แก่ GMM One, GMM Channel, PPTV, Thairath TV, Bright TV รวมกลุ่มยื่นฟ้องบอร์ด กสทช. และสำนักงาน กสทช. ต่อศาลปกครองกลาง ในประเด็นว่า กสทช. ดำเนินการเปลี่ยนผ่านระบบส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลล่าช้า ทั้งเรื่องโครงข่าย คูปอง และการกำกับดูแล
กลุ่มผู้ประกอบการระบุว่า กสทช. ทำให้ผู้ประกอบการ "หลงเชื่อและเข้าร่วมประมูล" โดยหลงผิดในข้อมูลสำคัญ เช่น ประเด็นเรื่องสิทธิการเลือกช่องรายการ ทำให้ผู้เข้าประมูลจ่ายเงินประมูล "ในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง"
กลุ่มผู้ประกอบการขอให้ศาลปกครองสั่งให้ กสทช. ชดเชยค่าเสียหายแก่ทั้ง 5 บริษัทรวมเป็นเงิน 9,550 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และออกมาตรการเยียวยาความเสียหายให้ผู้ประกอบการด้วย
แม้ว่าซัมซุงจะถูกศาลตัดสินแพ้คดีละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิลไปตั้งแต่ปี 2012 แต่ดูเหมือนยักษ์ใหญ่จากเกาหลียังไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เดินเรื่องเตรียมอุทธรณ์กับศาลสหรัฐฯ กรณีลอกเลียนการออกแบบตัวเครื่องที่ถูกตัดสินว่าผิดจริงไปพร้อมกับสิทธิบัตรอื่นๆ เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา ตอนนี้ดูเหมือนซัมซุงจะได้กองหนุนมาเสริมกำลังแล้ว
เว็บไซต์ข่าว CNET รายงานว่าทาง Uber ได้ทำการตกลงยอมความกับครอบครัวของเด็กหญิงรายหนึ่งในเมือง San Francisco หลังจากที่เมื่อปี 2013 คนขับรถบนแพลตฟอร์มของ Uber ได้ขับรถชนเด็กหญิงอายุ 6 ขวบเสียชีวิตเมื่อปี 2013
Uber ระบุว่าได้มีการตกลงยอมความจริง แต่เงื่อนไขของการยอมความนั้นไม่ได้มีการเปิดเผย โดยระบุว่าทางบริษัทเสียใจอย่างมากกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และหวังว่าการยอมความในครั้งนี้จะช่วยทำให้ครอบครัวของเด็กหญิงดังกล่าว สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ด้านทนายของครอบครัวระบุว่า แม้การยอมความครั้งนี้จะไม่สามารถทำให้เด็กหญิงคนดังกล่าวกลับมามีชีวิตได้ แต่การยอมความนี้จะทำให้ครอบครัวสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้
สถานะของคดีลิขสิทธิ์ Java ระหว่างกูเกิลกับออราเคิลคือ คดียังอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ แต่กูเกิลก็ส่งเรื่องเข้าศาลฎีกาเมื่อเดือนตุลาคม 2014 ด้วยอีกทางหนึ่ง
ความคืบหน้าล่าสุดคือศาลฎีกาไม่รับคำร้องจากกูเกิล ทำให้เรื่องกลับไปที่ชั้นศาลอุทธรณ์อีกครั้ง เดิมทีนั้นศาลอุทธรณ์ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้นว่า API ของ Java มีลิขสิทธิ์ (ซึ่งเป็นผลดีกับออราเคิล) แต่ศาลอุทธรณ์กลับมองว่าแม้ API มีลิขสิทธิ์ แต่กูเกิลมีสิทธิใช้ได้ตามหลัก fair use (ซึ่งเป็นผลดีกับกูเกิล) และส่งเรื่องกลับไปยังศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาประเด็นเรื่อง fair use อีกครั้ง
เดิมที Monster เคยได้รับสิทธิ์ในการผลิตสายชาร์จและหูฟังภายใต้โครงการอุปกรณ์เสริมสำหรับอุปกรณ์ของ Apple "Made for iPhone" (MFi) แต่หลังจากที่ Monster ฟ้อง Apple, Beats Electronics และ HTC ข้อหาทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ ก็ทำให้ Apple ยึดใบอนุญาตสิทธิ์ MFi จาก Monster คืนเรียบร้อย ในวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่ปี 2005