วันนี้ตัวแทนของช่อง 3 ยื่นคำร้องกับศาลปกครอง ให้ทุเลาคำสั่งการบังคับคดีเดิม (ที่ช่อง 3 ฟ้องให้ยกเลิกมติ กสท. แต่ศาลปกครองไม่สั่งคุ้มครอง) ซึ่งทั้งฝ่ายของ กสทช. และช่อง 3 มีความเห็นร่วมกันว่าขอให้ศาลทุเลาการบังคับคดีไปอีก 15 วัน (นับจนถึงวันที่ 11 ตุลาคม 57 เวลา 16.30 น.) ซึ่งศาลมีคำสั่งทุเลาตามที่ขอ
ผลจากคำสั่งศาลครั้งนี้ทำให้ช่อง 3 จะยังไม่จอดำในระบบเคเบิล/ดาวเทียมไปจนถึงวันที่ 11 ตุลาคม และช่วยยืดเวลาให้ช่อง 3 สามารถเจรจาเรื่องการออกอากาศคู่ขนานกับ กสทช. ได้นานขึ้นอีก 15 วัน ซึ่งช่อง 3 จะต้องรีบเสนอแผนเข้ามาให้ กสทช. พิจารณาต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ชายชาวจีนผู้หนึ่งชื่อ Wang Long ทำการฟ้องร้อง China Unicom บริษัทสื่อสารโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่อันดับสองของประเทศต่อศาลท้องถิ่นเมืองเซินเจิ้นมณฑลกว่างตง
Wang Long ให้เหตุผลในการฟ้องครั้งนี้ว่า "China Unicom ไม่สามารถให้บริการในการเข้าถึงบริการต่างๆ ของ Google เป็นระยะเวลากว่าหนึ่งเดือน ซึ่งควรเป็นหน้าที่รับผิดชอบของ ISP ที่จะต้องให้บริการการเข้าถึงเว็บไซต์และข้อมูลต่างๆ บริษัทควรจะรับผิดชอบในความผิดพลาดครั้งนี้"
NVIDIA ประกาศว่ายื่นคำฟ้อง Samsung และ Qualcomm ไปยังหน่วยงานสองแห่งคือ คณะกรรมการการค้าระหว่างชาติของสหรัฐ (ITC) และศาลเขตเดลาแวร์ ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรจีพียูจำนวน 7 รายการ (ไม่บอกรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง)
ในคำร้องต่อ ITC มีเนื้อหาขอให้หยุดการนำเข้าอุปกรณ์แบรนด์ Galaxy ที่ใช้จีพียู Qualcomm Ardreno, ARM Mali, Imagination PowerVR ส่วนคำฟ้องต่อศาลเดลาแวร์คือชดเชยค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิบัตร
สินค้าของซัมซุงที่เข้าข่ายมีตั้งแต่ Galaxy S4 ไล่มาจนถึง Note 4 และ Note Edge ส่วนอุปกรณ์สายแท็บเล็ตมีหลายตัว เช่น Galaxy Tab S, Note Pro, Tab 2 โดยส่วนใหญ่ใช้หน่วยประมวลผล Snapdragon กับ Exynos
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและการแข่งขันทางธุรกิจของออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission หรือ ACCC) ยื่นฟ้องบริษัทเกม Valve เนื่องจากละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคออสเตรเลียในประเด็นเรื่องการคืนเงินค่าเกมบน Steam
ACCC ระบุว่า Valve ทำผิดกฎหมายออสเตรเลียเนื่องจากไม่อนุญาตให้ผู้บริโภคขอคืนเงิน (refund) ค่าเกมบน Steam และไม่มีนโยบายคุ้มครอง-รับประกันในกรณีสินค้ามีคุณภาพต่ำกว่าที่โฆษณา ถึงแม้ Valve เป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อทำธุรกิจในออสเตรเลียก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของออสเตรเลียด้วย
ศาลเขตซิดนีย์จะเริ่มไต่สวนคดีนี้ในวันที่ 7 ตุลาคม 2014 ส่วนโฆษกของ Valve ออกมาประกาศว่าจะให้ความร่วมมือกับทางการออสเตรเลียอย่างเต็มที่
ซัมซุงและแอปเปิลได้ออกมาประกาศว่าทั้งสองบริษัทตกลงที่จะยุติการฟ้องร้องการละเมิดสิทธิบัตรทุกคดีที่มีการฟ้องกันนอกสหรัฐอเมริกา ซึ่งหมายความว่าคดีที่ยังอยู่ในชั้นศาลของทั้งสองบริษัทในประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักรจะจบลงทันที
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองบริษัทยังจะคงสู้กันต่อไปในศาลสหรัฐอเมริกา และทั้งสองบริษัทยังไม่มีการยอมความหรือมอบไลเซ่นส์ให้กันโดยที่การต่อสู่ในสหรัฐฯ ยังไม่จบลง
ที่มา - Bloomberg
ไมโครซอฟท์ออกมาให้ข่าวว่ายื่นฟ้องซัมซุงเกี่ยวกับสัญญาใช้งานสิทธิบัตร Android (ไม่ใช่เรื่องละเมิดสิทธิบัตร)
คดีนี้เป็นผลมาจากสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตรระหว่างไมโครซอฟท์-ซัมซุงในปี 2011 ซึ่งเป็นสัญญาลักษณะเดียวกับที่ไมโครซอฟท์เซ็นกับผู้ผลิต Android รายอื่นๆ
Wall Street Journal รายงานว่า Bose บริษัทผู้ผลิตหูฟังและลำโพงยื่นฟ้อง Beats คู่แข่งที่เพิ่งขายบริษัทให้แอปเปิล ในฐานละเมิดสิทธิบัตรเทคโนโลยีการตัดเสียงรบกวนในหูฟังรุ่น Studio และ Studio Wireless
ในการฟ้องร้อง Bose ได้เรียกร้องค่าเสียหาย และได้ยื่นเรื่องไปทางคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (International Trade Commission: ITC) ให้สั่งระงับการขายและนำเข้าสินค้าของ Beats ที่ละเมิดสิทธิบัตรด้วย
อย่างไรก็ดีการฟ้องร้องนี้ จะไม่มีผลต่อการปิดดีลเข้าซื้อ Beats ของแอปเปิลในเดือนกันยายนนี้
ความคืบหน้าล่าสุดของมหากาพย์คดีผูกขาดอีบุ๊กของแอปเปิลที่เริ่มต้นเมื่อสองปีก่อน เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แอปเปิลได้เตรียมยอมความ (settlement) ในกรณีคดีผูกขาดอีบุ๊กในสหรัฐอเมริกาเป็นรายสุดท้ายแล้วครับ หลังจากที่บรรดาสำนักพิมพ์ทั้ง 5 ที่เข้าร่วมขบวนการต่างได้ยอมความไปก่อนหน้านี้หมดแล้ว
คดี 4 บริษัทไอทีรายใหญ่ ได้แก่ กูเกิล, แอปเปิล, อินเทล, และ อโดบี ร่วมมือกันทำสัญญาไม่ชิงตัวพนักงานระหว่างกัน มีการเปิดเผยหลักฐานใหม่เป็นอีเมลภายในของกูเกิลที่พูดถึงการชิงตัววิศวกรกับเฟซบุ๊กที่ได้อยู่ในกลุ่มพันธมิตรไม่ชิงตัวพนักงาน
อีเมลระบุว่ากูเกิลมีนโยบายยื่นข้อเสนอให้กับพนักงานของตัวเองเพื่อดึงตัวพนักงานไว้ภายในหนึ่งชั่วโมงหลังทราบว่าพนักงานคนใดได้รับเสนอตำแหน่งงานจากเฟซบุ๊ก แสดงให้เห็นว่าการที่มีบริษัทขนาดใหญ่นอกกลุ่มพันธมิตรไม่แย่งตัวพนักงานกันเช่นนี้ทำให้กูเกิลต้องแข่งขันด้วยการเพิ่มผลตอบแทนให้พนักงาน
ในวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศาลในประเทศเยอรมนีพบว่า Motorola ได้ละเมิดสิทธิบัตรของบริษัทวิศวกรรมในประเทศเยอรมนี (LPKF) ในการออกแบบเสาอากาศสำหรับ Moto X และ Moto G โดย Motorola จะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับ LPKF และยังต้องเรียกคืนเครื่องทั้งหมดในประเทศเยอรมนีที่ละเมิดลิขสิทธิ์อีกด้วย
ในขณะนี้คาดว่าทาง LPKF จะติดตามเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิบัตรในครั้งนี้ไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีการขายเครื่องด้วย แต่ตอนนี้ทาง Motorola พยายามที่จะอุทธรณ์คำตัดสินของศาลในประเทศเยอรมนีอยู่
ที่มา: GSMArena
เมื่อปี 2012 บริษัทจีน Zhizhen Network Technology จากเซี่ยงไฮ้ เคยยื่นฟ้องแอปเปิลว่า Siri ละเมิดสิทธิบัตรด้านการสั่งงานด้วยเสียงของตัวเองในภาษาจีนกลางและกวางตุ้ง (ยื่นขอสิทธิบัตรปี 2004 และได้รับในปี 2006) โดยขอให้ศาลสั่งห้ามไม่ให้แอปเปิลขายสินค้าที่มี Siri ติดตั้งอยู่
แอปเปิลยืนยันว่าไม่รู้จักสิทธิบัตรของ Zhizhen และไม่ได้ใช้เทคนิคตามสิทธิบัตรชิ้นนี้ ทนายความของแอปเปิลใช้วิธีขอให้สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของจีน (State Intellectual Property Office) ยกเลิกสิทธิบัตรฉบับนี้แต่ก็ถูกปฏิเสธ แอปเปิลจึงใช้วิธีฟ้องทั้ง Zhizhen และสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา แต่ก็แพ้คดีในศาลปักกิ่งอีกเช่นกัน
คนที่เห็นสื่อประชาสัมพันธ์เกม Grand Theft Auto V คงคุ้นเคยกับภาพสาวผมบลอนด์ใส่ชุดว่ายน้ำที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของเกมภาคนี้ไปแล้ว ตัวละครนี้มีชื่อในเกมว่า Lacey Jonas เธอมีอาชีพในเกมเป็นดาราดัง และถูกนักข่าวตามถ่ายภาพอยู่เสมอ
หลายคนอาจสงสัยว่าค่าย Rockstar นำดาราหญิงสักคนมาใช้เป็นต้นแบบ และดาราสาวชื่อดัง Lindsay Lohan ก็เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น ล่าสุดเธอจึงยื่นฟ้อง Rockstar และต้นสังกัด Take-Two ในข้อหานำคาแรกเตอร์ของเธอไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
ตอนนี้ Rockstar ยังไม่ออกมาให้ข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับคดีนี้
เป็นประเด็นที่ไม่จบไม่สิ้นเสียที สำหรับกรณีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรระหว่างแอปเปิลและซัมซุง แต่ดูเหมือนความขัดแย้งดังกล่าวจะมีแนวโน้มยุติลงในเร็ววันแล้ว เมื่อทางผู้บริหารของทั้งสองบริษัทกำลังพยายามเจรจาหาทางออกต่อประเด็นดังกล่าว
Korea Times รายงานว่าทางแอปเปิลและซัมซุงตกลงที่จะตัดประเด็นเรื่องสิทธิบัตรที่ขัดแย้งกันทิ้ง และเจรจาหาทางออกที่เป็นไปได้และมีผลประโยชน์ร่วมกัน ถึงแม้เมื่อต้นปีที่ผ่านมาทางผู้บริหารของทั้งสองบริษัทจะมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกันไปแต่ไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ก็ตาม
เรื่องของ Google ในสหภาพยุโรปยังคงไม่จบไม่สิ้นสักที เมื่อ Aptoide สโตร์ขายแอพ third-party จากโปรตุเกสที่เคลมว่าเป็นสโตร์ที่ใหญ่ที่สุด โดยมีแอพกว่า 200,000 ตัวและผู้ใช้กว่า 6 ล้านคน ได้ฟ้องร้อง Google ต่อคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ว่าทาง Google ได้ปิดกั้นและกีดกันหนทางของผู้ใช้แอนดรอยด์ที่จะเลือกใช้สโตร์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Play Store
รายงานล่าสุดเผยว่าหลังจากคำพิพากษาการสู้กันในชั้นศาลระหว่างแอปเปิลกับซัมซุง แอปเปิลได้พยายามที่จะขอคำสั่งคุ้มครองจากศาล ให้แบนสินค้าซัมซุงทุกตัวทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอาจจะรวมไปถึงอนาคต โดยสินค้าที่จะถูกแบนเหล่านี้ต้องมี "ซอฟต์แวร์หรือโค้ดที่ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล"
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าศาลไม่น่าจะยอมให้แอปเปิลได้รับการคุ้มครองตามที่ขอ หากย้อนไปดูคำพิพากษาที่ออกมาก่อนหน้านี้ ผู้พิพากษา Lucy Koh ก็ไม่เคยให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งชนะคดีอีกฝั่งแบบ "ขาดลอย" แต่กลับให้ชนะกันในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไป
ที่มา - 9to5Mac
Oculus VR บริษัทอนาคตไกลผู้พัฒนาแว่นตาสำหรับจำลองภาพเสมือนจริงที่เพิ่งถูก Facebook ซื้อไปเป็นมูลค่ากว่า 2,000 ล้านเหรียญ ถูกทาง id Software และ ZeniMax ยื่นฟ้องที่ศาลประจำรัฐเทกซัสว่าทาง Oculus VR และ Palmer Luckey ซีอีโอของบริษัทได้ใช้เทคโนโลยีของทาง ZeniMax เพื่อไปทำเครื่องมือพัฒนา Oculus Rift ที่กำลังโด่งดังในช่วงนี้
คดีความที่ ZeniMax ยื่นฟ้องไปนั้นระบุว่าการกระทำของ Luckey และ Oculus VR ในครั้งนี้เป็นตัวแทนของการละเมิดสัญญา การละเมิดลิขสิทธิ์ สร้างการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม โดย ZeniMax ประเมินว่าเป็นมูลค่าความเสียหายที่มหาศาล (enormous)
David Hyman ผู้ก่อตั้งบริการเพลงออนไลน์ MOG ที่ขายกิจการให้ Beats ในปี 2012 และกลายมาเป็น Beats Music ในปัจจุบัน ยื่นฟ้อง Beats ด้วยข้อหาว่าไม่ได้รับผลประโยชน์ครบถ้วนตามที่ตกลงกันไว้
ข้อมูลจากคำฟ้องของ Hyman ระบุว่าเขาจะต้องได้หุ้นของ Beats คิดเป็นสัดส่วน 2.5% โดยแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ งวดแรกคือ 1% หลังจากเขาทำงานครบหนึ่งปี และงวดต่อๆ ไปจ่ายตามระยะเวลาที่อยู่กับบริษัท
คดีสิทธิบัตรที่โมโตโรลาฟ้องแอปเปิลและแอปเปิลฟ้องโมโตโรลามาตั้งแต่ปี 2010 (สมัยที่โมโตโรลายังเป็นไทแก่ตัวด้วยซ้ำ) และลากยาวมาถึงปัจจุบันได้ยุติลงแล้ว เมื่อทั้งสองบริษัทสามารถเจรจายุติคดีและยอมความกันได้นอกศาล
ทั้งคู่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของการยุติคดีครั้งนี้ แต่ก็ไม่ได้แลกเปลี่ยนสิทธิบัตรกันตามธรรมเนียมของคดีแนวๆ นี้ ทั้งสองฝ่ายบอกเพียงว่าจะร่วมมือกันผลักดันเรื่องการปฏิรูปกฎหมายสิทธิบัตรในบางประเด็นต่อไป
สถานะของคดีในสหรัฐอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ ซึ่งขั้นต่อไปทั้งสองบริษัทจะแจ้งให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากระบบ
จากข่าว พบปัญหา iMessage ยังส่งข้อความเป็น iMessage สีฟ้า แม้ผู้รับเปลี่ยนไปใช้ Android แล้ว ล่าสุดแอปเปิลโดนฟ้องเรียบร้อยแล้วครับ
อดีตผู้ใช้ iPhone รายหนึ่งชื่อ Adrienne Moore ยื่นฟ้องแอปเปิลว่าระบบข้อความของ iPhone เข้ามายุ่งกับการส่งข้อความ SMS ทำให้เธอไม่ได้รับข้อความเมื่อเปลี่ยนไปใช้ Android แล้ว โดยใช้ฐานอำนาจตามกฎหมายเรื่องการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับสัญญาการให้บริการ (contractual interference) และการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม (unfair competition)
คดีนี้มีโอกาสสูงที่จะมีผู้ฟ้องเพิ่มจนกลายเป็นการฟ้องแบบกลุ่ม (class-action) ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกจากแอปเปิลนั้นยังไม่เปิดเผย ฝั่งของแอปเปิลปฏิเสธที่จะตอบคำถามเรื่องคดีนี้
จากกรณีที่ Oracle อ้างว่า Google ละเมิดลิขสิทธิ์ในการสร้าง API สำหรับ Android และเป็นประเด็นขึ้นโรงขึ้นศาลยืดเยื้อยาวนานมาตั้งแต่ปี 2010 จนในที่สุดศาลชั้นต้นได้ตัดสินแล้วว่า Google ไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหาดังกล่าว ทว่าฝั่ง Oracle ไม่เห็นด้วยและทำการยื่นอุทธรณ์ ล่าสุดศาลอุทธรณ์ก็ได้เปลี่ยนคำตัดสินใหม่แล้ว โดยระบุว่า Google มีความผิดจริงในประเด็นการละเมิดลิขสิทธิ์ API
นิตยสาร Vanity Fair ได้เขียนถึงประวัติและกลยุทธ์ในการทำธุรกิจของซัมซุง โดยในเนื้อหาระบุว่ามันเป็นเรื่องปรกติ ที่ซัมซุงจะละเมิดสิทธิบัตรของคู่แข่งต่อไปเรื่อย ๆ เพราะซัมซุงมีประวัติทางด้านนี้มานาน และก็ประสบความสำเร็จมากเสียด้วย
ในปี 2010 ก่อนที่แอปเปิลจะฟ้องซัมซุงข้อหาละเมิดสิทธิบัตร ทีมผู้บริหารและทีมกฎหมายของแอปเปิล ได้บินเข้าพบกับทีมผู้บริหารของซัมซุง โดยรองประธานของซัมซุงได้ขู่แอปเปิลไว้ว่า ถ้าแอปเปิลเลือกที่จะฟ้องซัมซุง ซัมซุงก็จะฟ้องคืนทันที เพราะว่า “ซัมซุงผลิตมือถือมานานแทบจะตลอดกาล และซัมซุงก็มีสิทธิบัตรของตัวเอง ซึ่งเป็นไปได้ว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรบางฉบับไปแล้วด้วยซ้ำ”
นี่อาจถือเป็นก้าวสำคัญของการระดมทุนแบบ crowdfunding เพราะหน่วยงานรัฐบาลเริ่มเข้ามาตรวจสอบโครงการที่ระดมทุนแล้วไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับผู้บริโภค โดยอัยการของรัฐวอชิงตัน Bob Ferguson ได้สั่งฟ้องบริษัท Altius Management และเจ้าของคือ Ed Nash หลังจากโครงการระดมทุนทำการ์ดเกมชื่อ Asylum Bicycle Playing Cards ระดมทุนไปแล้วทำไม่ได้ตามสัญญา
นี่เป็นการต่อสู้กันในชั้นศาลรอบที่สองระหว่างแอปเปิลและซัมซุง โดยแอปเปิลอ้างว่าซัมซุงได้ละเมิดสิทธิบัตร 5 ฉบับของแอปเปิล และต้องการเรียกร้องค่าเสียหายเป็นมูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์ ล่าสุดคณะลูกขุนได้ตัดสินแล้วว่าซัมซุงได้ละเมิดสิทธิบัตร data syncing และ slide-to-unlock ในขณะที่ก่อนหน้านี้ผู้พิพากษา Koh ได้ออกมาตัดสินแล้วว่าซัมซุงละเมิดสิทธิบัตร autocomplete ของแอปเปิล
สิทธิบัตรสองฉบับที่เหลือ ที่คณะลูกขุนไม่ได้เห็นว่าซัมซุงละเมิด คือสิทธิบัตร universal search และสิทธิบัตร background syncing
อีกไม่ถึง 24 ชม. แล้วที่ดีลซื้อแผนกอุปกรณ์และบริการของโนเกียโดยไมโครซอฟท์จะเสร็จสมบูรณ์ (ตามเวลาสหรัฐ) แต่โนเกียก็ยังติดปัญหาโอนโรงงานผลิตมือถือในอินเดียให้ไมโครซอฟท์ไม่ได้เนื่องจากศาลอินเดียตัดสินให้โนเกียต้องวางเงินประกันภาษีอันสูงลิ่วก่อนโอนโรงงานผลิตมือถือให้ไมโครซอฟท์
คดีความระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงยังดำเนินต่อไป และมีเอกสารภายในของทั้งสองบริษัทถูกเผยแพร่ออกมา (เพราะใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลอยู่เรื่อยๆ) รอบนี้เป็นเอกสารภายในของกูเกิลที่แอปเปิลนำมาใช้เป็นหลักฐานสนับสนุนว่า "Android ลอก iOS" ในประเด็นเรื่องจอสัมผัส
เรื่องนี้เคยพูดกันมาเยอะว่า Android รุ่นแรกๆ นั้นออกแบบมาเพื่อแข่งกับ BlackBerry และ Windows Mobile เป็นหลัก ตอนแรกกูเกิลไม่ได้สนใจเรื่องจอสัมผัสมากนัก ซึ่งกูเกิลก็กลับลำทันทีเมื่อแอปเปิลเปิดตัว iPhone ในปี 2007 (แต่ประเด็นคือนี่เป็นครั้งแรกที่มีเอกสารจริงๆ ของกูเกิลออกมายืนยันข้อมูลนี้)