หลังจาก Xiaomi มีข่าวดีเรื่องยอดขายตุ๊กตามาสค็อตของบริษัทไปไม่นาน ก็ถูกบริษัท Youku Tudou เจ้าของเว็บไซต์วิดีโอยอดนิยมในจีนอย่าง youku.com ฟ้องร้องเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ ปล่อยให้มีการสตรีมมิ่งวิดีโอไปชมบนกล่องทีวี Xiaomi Box
Youku Tudou พบว่ากล่องทีวี Xiaomi Box สามารถสตรีมมิ่งวิดีโอต่างๆ จากเว็บไซต์ youku.com ไปชมได้จำนวนมากโดยผิดลิขสิทธิ์ ด้วยเหตุนี้จึงฟ้องร้องให้ Xiaomi หยุดการสตรีมมิ่งพร้อมทั้งจ่ายค่าเสียหายประมาณ 5,100,000 หยวน และกล่าวขอโทษอย่างเป็นทางการ
นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CAT Telecom ให้ข้อมูลว่าบอร์ดบริหารของ CAT อนุมัติกรอบวงเงิน 280 ล้านบาทเป็นค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้อง กสทช. ต่อศาลปกครองแล้ว
คดีนี้ CAT จะฟ้อง กสทช. ที่ออกประกาศเรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคม (ประกาศเรื่องคลื่น 1800MHz ต้องกลับไปที่ กสทช.) เพราะจะทำให้ CAT สูญเสียรายได้จากคลื่น 1800MHz ที่ CAT เชื่อว่าสามารถครอบครองได้ถึงปี 2568 (ตามอายุใบอนุญาตของ CAT, ไม่ใช่อายุสัมปทานที่หมดในเดือนที่แล้ว)
ส่วนค่าเสียหาย CAT ตีไว้ 275,000 ล้านบาท โดยประเมินจากเลขหมาย 17-18 ล้านเลขหมาย และรายได้เฉลี่ย 200-300 บาทต่อเดือน
เมื่อวานนี้ ศาลสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้มีการฟ้องกูเกิล จากโจทก์ 9 คน ซึ่งมีทั้งผู้ที่ใช้งานอีเมลของกูเกิล และผู้ที่ไม่ได้ใช้ ในข้อหาทำผิดกฏหมายเกี่ยวกับการดักฟัง (anti-wiretapping laws) ด้วยการอ่านอีเมลส่วนตัวของผู้ใช้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการส่งโฆษณา โดยกูเกิลได้ร้องขอให้มีการยกฟ้องเนื่องจากในข้อตกลงการใช้งาน Gmail นั้นมีการระบุว่าอนุญาตให้กูเกิลเข้าถึงอีเมลส่วนตัวของผู้ใช้ได้ แต่ศาลไม่เห็นด้วยและให้ดำเนินการฟ้องร้องต่อไป
จากข่าว LG ฟ้อง Samsung ว่าละเมิดสิทธิบัตร OLED จำนวน 7 รายการ และถูก Samsung ฟ้องกลับโดยให้เหตุผลว่าสิทธิบัตรขาดความเป็นนวัตกรรม ตอนนี้บริษัททั้ง 2 ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติเดียวกัน ได้ยอมความกันแล้ว โดย Samsung ออกแถลงการณ์ว่า "เราทั้ง 2 บริษัทควรที่จะร่วมมือกันก้าวไปสู่การเป็นผู้นำด้านตลาดจอภาพ มากกว่าการที่จะมาทำสงครามสิทธิบัตรกัน" ส่วน LG ก็ออกมาแถลงการณ์เช่นกันว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุดของเราทั้ง 2 บริษัท คือการพัฒนาหน้าจอที่ดีเพื่อแข่งขันกันขยายตลาดไปทั่วโลก"
ถือว่าเป็นข่าวดีของวงการจอภาพนะครับ แทนที่จะเอาเวลาไปฟ้องกัน ก็เอาเวลาไปพัฒนาสินค้ามาแข่งขันกันดีกว่า happy ending...
อัยการสูงสุดรัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา ได้ฟ้องร้องและดำเนินคดีเรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัทส่งออกยางรถยนต์ของไทยรายหนึ่งซึ่งไม่ได้เปิดเผยชื่อ ฐานใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในกระบวนการผลิตยางรถยนต์ก่อนส่งไปขายที่รัฐเทนเนสซี
ซอฟท์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์จะเป็นของบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลกอย่าง Microsoft และ Autodesk ส่วนบริษัทในไทยเองก็โดนด้วยคือ Thaisoftware Enterprises ซึ่งเจ้านี้ผลิตโปรแกรมพจนานุกรม, โปรแกรมบัญชีเงินเดือน เป็นต้น โดยล่าสุดได้มีการตกลงไกล่เกลี่ยเรื่องคดีกับบริษัทส่งออกยางรถยนต์ในไทยแล้ว
สถิติปีล่าสุดยังพบว่าประเทศที่เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียมีการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำนวนมากอาทิ จีน 77%, ไทย 72%, อินโดนีเซีย 86% และเวียดนาม 81%
จากกรณี CTH ฟ้องแอปเปิลเพราะปล่อยให้มีแอพพลิเคชันละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ใน App Store นั้น ล่าสุดกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ได้ออกมาชี้แจงว่าคงทำได้ยาก ด้วยเหตุผลที่แอปเปิลเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ เว้นเสียแต่จะมีการนำสัญญาณภาพจาก App Store ไปเผยแพร่เพื่อการค้า
พ.ต.ท.ชินโชติ พุฒิวรรธธาดา ผบ.สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ ยังระบุด้วยว่า CTH เคยให้ DSI ดำเนินการเอาผิดกับผู้กระทำผิดลิขสิทธิ์มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าหรือโรงแรมรวมถึงกับผู้ที่ซื้อกล่องเคเบิลทีวีในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ แล้วนำมารับสัญญาณภาพในประเทศไทยด้วย
CTH ผู้ได้ลิขสิทธิ์ในฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษฤดูกาล 2013-2014 ในไทย ได้ยื่นฟ้องแอปเปิลและผู้พัฒนาแอพพลิเคชัน ฐานปล่อยให้มีแอพพลิเคชันดูบอลได้ผ่านแอพ และจัดจำหน่ายทาง App Store ซึ่งเป็นผลให้ CTH เสียหายหลายล้านบาท จึงได้ทำการฟ้องแอปเปิลต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
แอพต้นเหตุที่ CTH ฟ้องแอปเปิล คือแอพ Sport Channel ซึ่งมีราคาขายปัจจุบันใน App Store ที่ $19.99 (iPhone) และ $29.99 (iPad) โดยดึงสัญญาณถ่ายทอดฟุตบอลมาจากที่อื่น แต่ไม่ใช่สัญญาณจากทาง CTH ซึ่งศาลรับเรื่องไว้ไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาในวันที่ 18 พฤศจิกายน ส่วนคดีแพ่งศาลนัดไต่สวนพยานในวันที่ 23 ธันวาคม และหากทาง CTH ตรวจพบแอพใดละเมิดลิขสิทธิ์จะระงับสัญญาณแพร่ภาพและดำเนินคดีทันที
กสทช. 4 คน (ยกเว้น กสทช.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา) ยื่นฟ้องต่อ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ จาก TDRI และณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรยการ "ที่นี่ไทยพีบีเอส" ในการทำรายการเรื่องประกาศกันซิมดับ (ชื่อเต็ม "ประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... ") ว่าหมิ่นประมาทโดยใส่ข้อความอันเป็นเท็จ
จากข่าวปีที่แล้วที่อเมซอนร่อนจดหมายถึงลูกค้าแจ้งจะคืนเงินบางส่วนจากการซื้อหนังสือจาก 3 ค่ายใหญ่ หลังจากบรรดาสำนักพิมพ์ตกลงระงับข้อพิพาท (settlement) ไปเกือบทั้งหมดแล้ว เมื่อวานนี้ทางอเมซอนก็ส่งอีเมลฉบับที่สองมาถึงลูกค้าในอเมริกา ใจความสำคัญคือ
ถึงแม้ยามปกติสองบริษัทนี้จะรบรากันอยู่เสมอ แต่เมื่อมีศัตรูภายนอกวงการไอทีเข้ามาคุกคาม ก็ได้เวลาจับมือกันต่อสู้
ก่อนหน้านี้ ทั้งไมโครซอฟท์และกูเกิลต่างยื่นฟ้องรัฐบาลสหรัฐให้เปิดเผยข้อมูลการสอดแนมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย Foreign Intelligence Surveillance Act (FISA) ต่อสาธารณะ แต่เมื่อทั้งสองบริษัทพบว่าจุดยืนตรงกัน ก็เลยหันมาร่วมมือกันดีกว่า
ไมโครซอฟท์ระบุว่าก่อนหน้านี้พยายามเจรจาให้รัฐบาลสหรัฐเปิดเผยข้อมูล ซึ่งรัฐบาลก็ยอมบ้างบางส่วนแต่ยังไม่เยอะอย่างที่ควรจะเป็น ตอนนี้ทั้งสองบริษัทจึงปรับยุทธวิธีมาใช้กลไกทางกฎหมายและศาล เพื่อให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น
ภาคต่อจากข่าว กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้ "อีเมลสตีฟจ็อบส์" เป็นหลักฐานชี้แอปเปิลผูกขาดราคาอีบุ๊ก ทางทนายความของแอปเปิลก็ออกมาตอบโต้ (ตามคาด) โดยบอกว่าแผนการของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐจะเอื้อประโยชน์ทางการแข่งขัน (competitive advantage) ให้อเมซอน
แอปเปิลยังบอกว่าด้วยว่าแผนการของกระทรวงฯ ถือเป็นการกำกับดูแลที่ไม่จำเป็น และจะสร้างความซับซ้อนให้กับตลาดอีบุ๊กที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม แอปเปิลก็ยอมใช้เงื่อนไขของการจัดจำหน่ายอีบุ๊กที่ตัวเองตั้งขึ้นกับ App Store ของตัวเองด้วย จากเดิมที่บังคับใช้เฉพาะกับแอพของบริษัทอื่นๆ เท่านั้น
สุดท้ายแล้วศาลจะเป็นคนตัดสินตามข้อเสนอจากทั้งฝั่งของกระทรวงฯ และฝั่งของแอปเปิลครับ
ความคืบหน้าล่าสุดของมหากาพย์ผูกขาดอีบุ๊กของแอปเปิล หลังจากที่ศาลแขวงได้ตัดสินแอปเปิลมีความผิดฐานสมคบคิดโก่งราคาอีบุ๊กแล้ว ทางกระทรวงยุติธรรมสหรัฐก็ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น (remedy) จากการผูกขาดอีบุ๊กของสโนว์ไวท์แอปเปิลเมื่อวันศุกร์ที่สองที่ผ่านมา
ศาลแขวงใต้ของ New York ได้พิจารณาคดีที่รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาฟ้อง Apple ฐานละเมิดกฏหมายป้องกันการผูกขาดโดยการรวมหัวกับสำนักพิมพ์หนังสือเพื่อกำหนดราคาอีบุ๊ก และมีคำตัดสินแล้วว่า Apple ผิดจริงตามข้อกล่าวหา
จากการเปิดตัวของ iPad พร้อม iBookstore ร้านขายอีบุ๊กของ Apple ในปี 2010 มีผลให้ราคาเฉลี่ยของอีบุ๊กเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จากแต่เดิมที่ Amazon เป็นผู้ขายอีบุ๊กรายใหญ่โดยเฉลี่ยเล่มละ 9.99 ดอลลาร์ ราคาก็ปรับสูงขึ้นไปอยู่ในช่วง 12.99-14.99 ดอลลาร์
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐฟลอริดาได้ผ่านกฎหมายแบนร้านเน็ตซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีการใช้เป็นแหล่งในการเล่นพนัน เป็นผลให้ร้านเน็ตกว่าหนึ่งพันแห่งในรัฐดังกล่าวต้องปิดบริการทันที จนทำให้ Consuelo Zapata ที่เป็นเจ้าของร้านเน็ตต้องฟ้องร้องเพื่อขอเพิกถอนกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากมีการใช้คำคลุมเครือที่อาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตถูกแบนทั้งรัฐได้
ศาลฎีกาของเนเธอร์แลนด์ตัดสินคดีที่แอปเปิลฟ้องซัมซุง ว่า Galaxy Tab 10.1 ละเมิดแนวทางการดีไซน์ (community design) ที่แอปเปิลจดทะเบียนไว้ตั้งแต่ปี 2004
แอปเปิลพยายามฟ้องคดีนี้มาตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่ก็แพ้มาสองรอบ จนมาถึงชั้นศาลฎีกาก็ยังยืนยันคำตัดสินเดิม ยกฟ้องคำร้องของแอปเปิลโดยให้เหตุผลว่าเอกสารการดีไซน์ของแอปเปิลมีลักษณะเฉพาะตัวไม่เด่นชัดนัก และคล้ายกับอุปกรณ์ที่ผลิตโดยบริษัทอื่นๆ อยู่มาก ในขณะที่แท็บเล็ตของซัมซุงแตกต่างจากเอกสารของแอปเปิล (หมายถึงเอกสารที่จดทะเบียนและใช้เป็นหลักฐาน ไม่ใช่ตัว iPad นะครับ) อย่างชัดเจน
โฆษกของซัมซุงให้ความเห็นว่าแอปเปิลไม่ใช่บริษัทแรกที่ทำแท็บเล็ตทรงสี่เหลี่ยมขอบโค้ง ส่วนโฆษกของแอปเปิลปฏิเสธการแสดงความเห็นต่อผลการตัดสินคดี
ดูเหมือนวิบากกรรม HTC ช่วงนี้จะมีมาเรื่อยๆ เพราะในช่วงที่ HTC One ดูจะเริ่มขายดีขึ้นมา Nokia ก็จัดการฟ้องร้องอีกครั้งว่า HTC One ละเมิดสิทธิบัตรรวม 9 รายการ
คดีแรก Nokia ได้ร้องต่อ ITC ให้มีคำสั่งระงับการขาย HTC One ในสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุผลว่าสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวละเมิดสิทธิบัตร 6 รายการ (จากแต่เดิม Nokia ฟ้อง HTC เรื่องการละเมิดสิทธิบัตรในสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ รวม 44 รายการอยู่ก่อนแล้ว) โดยประเด็นที่ HTC One โดนฟ้องนั้นเกี่ยวกับสิทธิบัตรดังนี้
คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (ITC) มีคำตัดสินเป็นที่สิ้นสุดว่าคดีที่ Motorola ฟ้องไมโครซอฟท์ว่า Xbox ละเมิดสิทธิบัตรหลายชิ้น (ด้านการบีบอัดวิดีโอและเครือข่ายไร้สาย) จบลงว่าไมโครซอฟท์ไม่มีความผิด
คดีนี้ Motorola ยื่นฟ้อง ITC มาตั้งแต่ปี 2010 ก่อนถูกกูเกิลซื้อกิจการในปี 2011 โดยช่วงแรกผู้พิพากษาของ ITC ตัดสินว่าไมโครซอฟท์ละเมิดสิทธิบัตร 4 ชิ้น (จากทั้งหมด 5 ชิ้นที่ยื่นฟ้อง) แต่เมื่อเรื่องเดินมาถึงคณะกรรมการ ITC ที่มีอำนาจฟันธง คณะกรรมการก็กลับคำตัดสินในที่สุด
ก่อนหน้านี้ Motorola ก็เคยพยายามฟ้อง Xbox เรื่องสิทธิบัตรในอีกคดีหนึ่งที่แยกจากคดีนี้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน
Apple จัดแจงเพิ่มชื่อ Galaxy S4 เข้าสู่รายชื่ออุปกรณ์ตามคำฟ้องคดีละเมิดสิทธิบัตร โดยงานนี้แถมพ่วงประเด็นใหม่ Google Now ซึ่ง Apple ระบุว่าเป็นฟีเจอร์ที่ละเมิดสิทธิบัตรของตนด้วยเช่นกัน
ยังคงวนเวียนอยู่ในประเด็นโนเกียฟ้องเอชทีซีแต่ศาลเนเธอร์แลนด์ตัดสินให้ ST-Microelectronics เป็นคนผิดในขณะที่เหลือเวลาอีกไม่กี่อาทิตย์ก่อนที่ HTC One จะวางขายในประเทศไทย
ก็มีความเห็นออกมาเพิ่มเติมจากเอชทีซีในวันนี้ครับ เพราะมีการรายงานเพิ่มเติมว่าจากคำตัดสินเมื่อวันก่อนศาลตัดสินให้เอชทีซีเป็นผู้บริสุทธิ์ และไม่ต้องให้ผู้ใช้ทำการคืนเครื่อง ไม่ต้องทำการคืนชิ้นส่วนอะไหล่ หรือจ่ายค่าเทคโนโลยี ซึ่งในเรื่องนี้เอชทีซีเปิดเผยว่า
ข่าวนี้เป็นผลสรุปของข่าว โนเกียเปิดศึกต่อเนื่อง ฟ้อง HTC One ต่อศาลเนเธอร์แลนด์ว่าละเมิดสิทธิบัตร "ไมโครโฟน" ที่เพิ่งลงเมื่อวานนะครับ แต่เห็นเนื้อหาการตัดสินมันยาว ก็เลยขอแยกเป็นข่าวใหม่เลยละกันครับ
เมื่อวานนี้ศาลเนเธอร์แลนด์ได้พิจารณาคดีที่โนเกียเป็นฝ่ายฟ้องเอชทีซีว่าละเมิดสิทธิ์ในการใช้งานไมโครโฟนที่โนเกียและ ST-Microelectronics เป็นคนพัฒนาขึ้นมา ผลสรุปก็คือศาลเนเธอร์แลนด์ตัดสินว่า ให้ ST-Microelectronics เป็นคนผิดในคดีนี้ครับ
ศึกยักษ์ชนกันในคดีเกี่ยวกับสิทธิบัตรระหว่าง Apple และ Motorola ได้บทสรุปมาอีกหนึ่งตอน เมื่อ ITC ตัดสินว่า Apple ไม่มีความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการใช้เซ็นเซอร์ proximity ใน iPhone ตามที่ Motorola ฟ้องร้อง
คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อ Motorola ยื่นคำร้องว่าถูก Apple ละเมิดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งในเบื้องต้นผู้พิพากษามีความเห็นว่า Apple ผิดจริงดังคำร้อง ทว่าล่าสุดคณะกรรมาธิการของ ITC ก็ได้กลับคำตัดสินนั้นในที่สุด โดยให้ความเห็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่งว่าแนวคิดหลักในสิทธิบัตรของ Motorola นั้นเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในวงการจนไม่เห็นควรจะได้รับการคุ้มครองในฐานะนวัตกรรม (the concept was too obvious to merit patent protection)
โนเกียยังคงเปิดศึกกับเอชทีซีอย่างต่อเนื่อง โดยคดีนี้เป็นคดีที่ 4 แล้วที่โนเกียเป็นฝ่ายฟ้องเอชทีซี ใจความสำคัญก็คือโนเกียได้ยื่นฟ้องต่อศาลเนเธอร์แลนด์ว่า HTC One ได้ละเมิดสิทธิ์การใช้งานฮาร์ดแวร์บางอย่างที่เป็นของตน ซึ่งนั่นก็คือ "ไมโครโฟน" ที่โนเกียพัฒนาร่วมกันกับ ST-Microelectronics เพื่อใช้งานในสมาร์ทโฟนของโนเกียหลายๆ รุ่น และอ้างต่อว่า เอชทีซีไม่มีสิทธิ์ที่จะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานครับ
เบื้องต้นโนเกียได้ขอให้ศาลทำการแบนการขาย HTC One ในประเทศเนเธอร์แลนด์ จนกว่าเอชทีซีจะเป็นฝ่ายเจรจากับโนเกีย หรือเอาเทคโนโลยีนี้ออกไปจากตัว HTC One แทนครับ
Google ตกลงยอมความและจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 7 ล้านดอลลาร์ โทษฐานการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลในระหว่างการเก็บข้อมูลทำแผนที่ street view ด้วยการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่าย Wi-Fi
ในระหว่างการเก็บข้อมูลภาพเพื่อสร้างระบบแผนที่ street view ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2008 ถึง 2010 ทาง Google ได้รับและเก็บข้อมูลส่วนบุคคลบางส่วนจากเครือข่าย Wi-Fi ที่ไม่มีระบบป้องกันความปลอดภัย โดยข้อมูลเหล่านั้นประกอบด้วย อีเมล, ข้อความ, รหัสผ่าน และประวัติการเข้าเว็บไซต์
ศาลเขตแมนไฮม์ในเยอรมนี ตัดสินคดีโนเกียฟ้อง HTC ละเมิดสิทธิบัตร 2 รายการ (ฟ้องแยกเป็น 2 คดี) สรุปว่า HTC ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรดังกล่าว
สิทธิบัตรในคำฟ้องเกี่ยวข้องกับการแถม Google Play ไปกับมือถือ และระบบเซ็นเซอร์วัดสภาพแสง นอกจาก HTC แล้ว โนเกียยังยื่นฟ้อง BlackBerry และ ViewSonic อีกด้วย
โนเกียออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน และทิ้งท้ายว่ากำลังเตรียมฟ้อง HTC ด้วยสิทธิบัตรอีกกว่า 30 รายการในเร็วๆ นี้
ศาลยุติธรรมแห่งยุโรป (The European Court of Justice) ทำการชี้ขาดคดีระหว่างสถานีโทรทัศน์ Channel 4, Channel 5 และ ITV กับ TV Catchup บริการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบให้เปล่า (ฟรีทีวี) ผ่านอินเทอร์เน็ต หลังจากที่ศาลสูงแห่งสหราชอาณาจักรขอคำแนะนำในการตัดสิน โดยตัดสินว่าการถ่ายทอดสัญญาณฟรีทีวีซ้ำผ่านเว็บโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเนื้อหาถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ภายใต้กฎหมายสหภาพยุโรปปี ค.ศ. 2001 ที่บัญญัติว่าเจ้าของเนื้อหามีสิทธิแต่ผู้เดียวในการอนุญาตหรือห้ามการส่งเนื้อหาของตนสู่สาธารณะ