อาจพูดได้ว่าเป็นการแท็กทีมครั้งใหญ่ โดยเหตุการณ์นี้เริ่มจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Epic Games ได้ยื่นเอกสารแจ้งต่อศาลแคลิฟอร์เนีย ว่าหลังจากคดีฟ้องร้องระหว่าง Epic Games และแอปเปิล สิ้นสุดเมื่อเดือนมกราคม ซึ่งมีผลให้แอปเปิลต้องเปิดให้นักพัฒนาแอป สามารถแสดงปุ่มหรือลิงก์ ไปยังการจ่ายเงินช่องทางอื่นในแอป เพื่อลดการจ่ายค่าธรรมเนียมให้แอปเปิลผ่าน App Store ได้ แต่ช่วงที่ผ่านมา แอปเปิลยังพยายามใช้กฎระเบียบของ App Store ปฏิเสธการใส่ลิงก์ในแอป รวมทั้งยังหักค่าธรรมเนียมได้
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเตรียมยื่นฟ้องแอปเปิลอย่างเป็นทางการภายใน 1-2 วันนี้ ตามที่เคยมีรายงานออกมาก่อนหน้านี้ในประเด็นผูกขาดทางธุรกิจ
ในตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของสำนวน แต่คาดว่าเรื่องราวจะคล้ายกับกรณีที่เกิดขึ้นจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ว่าแอปเปิลจำกัดการเข้าถึงเนื่องจากเป็นระบบปิด ทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงประเด็นสำคัญที่เพิ่งมีการแก้ไขไปในกลุ่มสหภาพยุโรปคือ App Store
แอปเปิลเจรจายอมความเพื่อยุติคดีที่นักลงทุนฟ้องร้อง โดยจะจ่ายเงินค่าเสียหายเป็นเงิน 490 ล้านดอลลาร์ ซึ่งขั้นตอนถัดไปคือผู้พิพากษาของศาลสหรัฐต้องอนุมัติ
คดีนี้เป็นการฟ้องร้องแบบกลุ่มจากนักลงทุน ระบุว่าแอปเปิลพยายามปกปิดข้อมูล จากการที่แอปเปิลประกาศเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2019 แจ้งว่ายอดขายในไตรมาสที่ผ่านมาจะต่ำกว่าตัวเลขที่บริษัทเคยประเมินไว้ เนื่องจาก iPhone ขายไม่ดีอย่างที่คาด รวมทั้งยอมรับว่ายอดขายในจีนได้รับผลกระทบมาก ทำให้ราคาปรับลดลงถึง 10% โดยกลุ่มนักลงทุนอ้างคำกล่าวในแถลงผลประกอบการก่อนหน้านี้ซึ่งซีอีโอ Tim Cook บอกว่าจีนไม่ใช่กลุ่มประเทศที่มีผลกระทบยอดขายลดลง
OpenAI ทำหนังสือชี้แจงต่อศาลอย่างเป็นทางการ จากประเด็นที่ Elon Musk ฟ้องร้องผู้บริหารและหน่วยงาน ในประเด็นนำ OpenAI ซึ่งมีสถานะเป็นมูลนิธิไปแสวงหากำไร ไม่เป็นไปตามข้อตกลงเมื่อตอนก่อตั้ง ซึ่งเขาก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง และเมื่อ AI พัฒนาไปมากขึ้น OpenAI ก็ยังปิดข้อมูลมากขึ้น
OpenAI บอกว่าไม่มีสัญญาในตอนก่อตั้ง หรือข้อตกลงที่ทำกับ Musk แต่อย่างใด เรื่องราวเกี่ยวกับสัญญานั้นเป็นสิ่งที่ Musk อ้างขึ้นมา เพราะเขาต้องการมีส่วนร่วมกับสิ่งที่เกิดขึ้นจาก OpenAI ที่เขาเคยมีสถานะร่วมก่อตั้ง แต่เขาแยกตัวออกไปเอง แล้วได้แค่มองความสำเร็จที่เกิดขึ้นซึ่งไม่มี Musk อยู่ดี
ศาลฝรั่งเศสตัดสินคดีฟ้องร้อง ให้บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ Orange แพ้คดีละเมิดการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้ไลเซนส์แบบ GPL
ซอฟต์แวร์ตัวนี้คือ Lasso เป็นไลบรารีภาษา C ด้านความปลอดภัย ใช้จัดการโปรโตคอลยืนยันตัวตน Security Assertion Markup Language (SAML) สำหรับทำ single sign-on โดยผู้พัฒนาคือบริษัท Entr'ouvert ของฝรั่งเศส ตัวซอฟต์แวร์มีไลเซนส์ 2 แบบคือ GPL สำหรับการใช้งานทั่วไป แต่ถ้าต้องการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ต้องซื้อไลเซนส์จาก Entr'ouvert
สำนักงานกฎหมาย Hagens Berman เป็นตัวแทนในการฟ้องร้องแบบกลุ่มกับแอปเปิล ต่อศาลรัฐบาลกลางทางตอนเหนือของแคลิฟอร์เนีย โดยระบุว่าแอปเปิลใช้วิธีบังคับให้ลูกค้าต้องซื้อ iCloud เพิ่มเติม และทำกำไรสูงจากตรงนั้น รวมทั้งจำกัดวิธีการแบ็คอัพไฟล์บางประเภทให้ใช้เฉพาะ iCloud
Jason Kwon หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์ของ OpenAI ออกอีเมลถึงพนักงานทุกคน หลังจาก Elon Musk หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI ยื่นฟ้องซีอีโอ Sam Altman และ Gregory Brockman ประธานบอร์ด ข้อหาละเมิดสัญญา นำ GPT-4 ไปแสวงหากำไรโดยไม่เปิดเผยโครงสร้าง ซึ่งไปจากแนวทางตอนก่อตั้ง โดย Kwon บอกว่าสิ่งที่คนใน OpenAI มีเป้าหมายและกำลังทำอยู่ ไม่ใช่เรื่องที่ Musk พยายามกล่าวหา ทั้งการบอกว่า GPT-4 เป็น AGI (AI ใช้งานได้ทั่วไป) หรือการบอกว่าบริษัทเป็นบริษัทในเครือไมโครซอฟท์
ซีอีโอ Sam Altman ก็ส่งอีเมลอธิบายจากเหตุการณ์เดียวกัน บอกว่าปีนี้จะเป็นที่ยากลำบากปีหนึ่งของบริษัทแน่นอน เพราะมีคนคอยจ้องโจมตีเราอยู่ตลอดอยู่แล้ว
ก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ฟ้อง Rivos สตาร์ทอัพด้านการออกแบบชิปเมื่อปี 2022 โดยระบุว่า ได้จ้างอดีตพนักงานของแอปเปิลพร้อมกับขโมยข้อมูลความลับทางการค้า แต่ล่าสุดมีการเจรจาแล้ว
โดยข้อมูลเอกสารของศาลชั้นต้น เขตทางตอนเหนือของแคลิฟอร์เนีย ระบุว่า แอปเปิลและ Rivos ได้เจรจาข้อตกลงที่อาจนำไปสู่การยุติคดีฟ้องร้อง โดย Rivos ยินยอมให้แอปเปิลตรวจสอบการออกแบบระบบ ตลอดจนการดำเนินงานต่าง ๆ
ในตอนที่แอปเปิลฟ้องว่า Rivos จ้างพนักงานพร้อมกับขโมยความลับทางการค้านั้น Rivos ก็ทำการฟ้องกลับแอปเปิลเช่นกัน โดยระบุว่าแอปเปิลพยายามกีดกันไม่ให้อดีตพนักงาน ย้ายไปทำงานที่บริษัทใหม่ได้ง่าย เป็นวิธีการกีดกันการแข่งขันในตลาดรูปแบบหนึ่ง
มีรายงานว่าศาลชั้นต้น สำหรับเขตทางตอนเหนือของแคลิฟอร์เนีย ได้ตัดสินคดีที่ Xiaolang Zhang อดีตวิศวกรที่เคยทำงานโครงการรถยนต์ไร้คนขับของแอปเปิล (Project Titan) ขโมยความลับทางการค้าของแอปเปิล ขณะย้ายไปทำงานที่ Xpeng บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีน โดยให้จำคุกเป็นเวลา 120 วัน และควบคุมความประพฤติเป็นเวลา 3 ปี รวมทั้งจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 146,984 ดอลลาร์
Tim Cook ซีอีโอแอปเปิล ให้สัมภาษณ์กับ CNBC หลังจากรายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุด โดยมีคำถามเกี่ยวกับปัญหา Apple Watch ในสหรัฐอเมริกาที่ถูก ITC สั่งแบนห้ามขายในสองรุ่นล่าสุดคือ Apple Watch Series 9 กับ Apple Watch Ultra เนื่องจากประเด็นละเมิดสิทธิบัตรระบบวัดออกซิเจนในเลือดของ Masimo แต่แอปเปิลแก้ปัญหาโดยขาย Apple Watch ที่ปิดฟีเจอร์นี้ไปชั่วคราว
Cook บอกว่าแอปเปิลไม่มีแผนเจรจายุติปัญหา ด้วยการจ่ายเงินไลเซนส์สิทธิบัตรกับ Masimo แต่เลือกจะสู้ต่อในคดีนี้ ซึ่งตอนนี้เป็นขั้นตอนยื่นอุทธรณ์ต่อ ITC
Oppo เซ็นสัญญาสิทธิบัตร 5G กับ Nokia ยุติสงครามฟ้องร้องสิทธิบัตรในยุโรปที่ Oppo แพ้คดีจนถูกศาลสั่งห้ามขายมือถือ
ตอนนี้ไม่มีรายละเอียดว่า Oppo ต้องจ่ายเงินให้ Nokia เท่าไร บอกแค่ว่า Oppo จะต้องจ่ายเงินให้ Nokia ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี และทั้งสองฝ่ายจะยุติคดีฟ้องร้องกันในทุกประเทศ แต่ยังไม่บอกว่า Oppo จะพร้อมกลับมาทำตลาดมือถือในยุโรปอีกครั้งเมื่อไร
การขายสิทธิการใช้งานสิทธิบัตรกลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญของ Nokia ที่ระบุว่ามีสิทธิบัตรรวมกว่า 20,000 รายการ ในจำนวนนี้มี 6,000 รายการเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5G
ตามที่ศาลอุทธรณ์สหรัฐได้ปฏิเสธคำร้องของแอปเปิล และให้หยุดการขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 มีผลในสหรัฐอเมริกา ตามคำสั่งของ ITC เนื่องจากประเด็นละเมิดสิทธิบัตรระบบวัดออกซิเจนในเลือดของ Masimo ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 17:00น. วันที่ 18 มกราคม ตามเวลาตะวันออกของสหรัฐ ล่าสุดมีคำชี้แจงจากแอปเปิลแล้ว
ศาลอุทธรณ์สหรัฐออกคำสั่ง ปฏิเสธคำร้องขอของแอปเปิล ที่ต้องการให้ระงับคำสั่งแบน Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 ซึ่ง ITC สั่งแบนเนื่องจากละเมิดสิทธิบัตรระบบวัดออกซิเจนในเลือดของ Masimo จากก่อนหน้านี้ศาลได้อนุญาตให้แอปเปิลขายสินค้าต่อชั่วคราว เพื่อรับคำร้องข้อมูลเพิ่มเติม
ผลจากคำสั่งนี้ทำให้แอปเปิลต้องหยุดขาย Apple Watch ทั้งสองรุ่นที่มีปัญหาในอเมริกาอีกครั้ง มีผลตั้งแต่ 17:00น. ของวันที่ 18 มกราคม ตามเวลาท้องถิ่น
แอปเปิลปรับเงื่อนไขการใช้งาน App Store ทันที หลังคดีกับ Epic Games ได้ข้อยุติ ยืนตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ นั่นคือ แอปเปิลต้องเปิดให้นักพัฒนาแอพเพิ่มช่องทางการจ่ายเงินนอกสโตร์ได้ด้วย
การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นกับ App Store Guidline ข้อ 3.1.1(a) Link to Other Purchase Methods ที่เปลี่ยนเป็นว่านักพัฒนาสามารถแสดงลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของนักพัฒนาเอง เพื่อซื้อสินค้าในแอพได้ แต่เงื่อนไขนี้จำกัดเฉพาะ App Store ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
ความคืบหน้าของคดีฟ้องร้องระหว่าง Epic Games กับแอปเปิล นับตั้งแต่ ศาลอุทธรณ์ตัดสินเมื่อเดือนเมษายน 2023 ว่าแอปเปิลไม่ได้ผูกขาด แต่ต้องเพิ่มช่องทางจ่ายเงินแบบอื่นด้วย ทั้งฝั่งของ Epic และแอปเปิล (ที่ไม่พอใจคำตัดสินทั้งคู่) จึงยื่นฎีกาต่อศาลสูงสุด (Supreme Court) เพื่อเดินหน้าคดีต่อ
มีรายงานล่าสุดในประเด็นที่คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกาหรือ ITC สั่งให้หยุดขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 ในอเมริกา เนื่องจากละเมิดสิทธิบัตรเซ็นเซอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือดของ Masimo ซึ่งตอนนี้ศาลอุทธรณ์สหรัฐ ได้ระงับคำสั่งแบนชั่วคราว ทำให้แอปเปิลยังขาย Apple Watch สองรุ่นนี้ได้ต่อไป
The New York Times รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการสอบสวนประเด็นผูกขาดทางการค้าของแอปเปิลแล้ว โดยน่าจะยื่นฟ้องร้องได้ภายในครึ่งแรกของปี 2024
ประเด็นหลักที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้ในการฟ้องร้องแอปเปิลข้อหาผูกขาดทางธุรกิจ คือการออกแบบการทำงานที่เป็นระบบปิดของแอปเปิล เช่น Apple Watch เป็นสมาร์ทวอทช์ที่ทำงานได้ดีร่วมกับ iPhone มากกว่าการใช้สมาร์ทวอทช์อื่นหรือไม่ ไปจนถึงประเด็นร้อนล่าสุดอย่าง iMessage, ระบบการจ่ายเงิน Apple Pay, AirTag ทำงานได้ดีบน iPhone เมื่อเทียบกับแทร็กเกอร์อื่น, การปิดไม่ให้ใช้คลาวด์เกมมิ่ง เป็นต้น
มีคดีฟ้องร้องน่าสนใจในสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับความหมายของสัญลักษณ์อีโมจิ 🌝 ว่าหมายถึงการปั่นหุ้นหรือไม่
เรื่องเกิดขึ้นในปี 2022 เมื่อนักลงทุนชื่อดัง Ryan Cohen ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานบอร์ดและซีอีโอของร้านขายเกม GameStop (เป็นผลจากการที่เขาไปซื้อหุ้นของ GameStop จนมีหุ้นเยอะเป็นอันดับหนึ่ง) เข้าไปลงทุนในบริษัทขายเฟอร์นิเจอร์ Bed Bath & Beyond
Joe Kiani ซีอีโอ Masimo บริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้สัมภาษณ์กับ WSJ ประเด็นที่บริษัทฟ้องร้องแอปเปิลข้อหาละเมิดสิทธิบัตรเซ็นเซอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือด จนทำให้คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกา หรือ ITC ออกคำสั่งแบนการนำเข้า Apple Watch มาขายในอเมริกาช่วงสั้น ๆ แต่ล่าสุดศาลรับคำอุทธรณ์ ทำให้แอปเปิลกลับมาขาย Apple Watch ต่อได้
จากข่าวที่คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกา หรือ ITC ออกคำสั่งแบนการนำเข้า Apple Watch สองรุ่นมาขายในสหรัฐอเมริกา หลังจากบริษัทพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ Masimo ฟ้องแอปเปิลในข้อหาละเมิดสิทธิบัตร ก็มีรายงานเพิ่มเติมว่าคดีน่าจะมีจุดเริ่มต้นจากอะไร
Mark Gurman แห่ง Bloomberg คนเดิม ระบุว่าตัวละครสำคัญของคดีฟ้องร้องนี้คือ Marcelo Lamego วิศวกรปริญญาเอกจาก Stanford สัญชาติบราซิล ซึ่งทำงานที่ Masimo ตั้งแต่ปี 2003 ในตำแหน่งนักวิจัยวิทยาศาสตร์ แล้วได้เลื่อนเป็นซีทีโอของ Cercacor บริษัทตั้งใหม่ในเครือของ Masimo ในปี 2014 เขาลาออกจาก Masimo ย้ายไปทำงานที่แอปเปิล เรื่องนี้อาจฟังดูเป็นเรื่องปกติ
แอปเปิลประกาศเตรียมกลับมาขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 สองรุ่นที่ถูก ITC สั่งแบนห้ามนำเข้ามาขายในสหรัฐอเมริกาก่อนหน้านี้ โดยเริ่มขายผ่านหน้าร้าน Apple Store ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และเตรียมกลับมาขายผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยเช่นกัน
ประกาศของแอปเปิลนี้เป็นผลจากที่ศาลอุทธรณ์ออกคำสั่งหยุดแบน Apple Watch สองรุ่นนี้ชั่วคราวตามที่แอปเปิลยื่นคำขอ ทำให้แอปเปิลสามารถขายสินค้าต่อไปได้ชั่วคราว
ตามที่ ITC ออกคำสั่งแบนการนำเข้า Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 มาขายในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากประเด็นละเมิดสิทธิบัตรระบบวัดออกซิเจนในเลือดของ Masimo ทำให้แอปเปิลตัดสินใจหยุดขาย Apple Watch สองรุ่นนี้ก่อนคำสั่งมีผลในวันที่ 26 ธันวาคม
อย่างไรก็ตามแอปเปิลก็ได้ยื่นอุทธรณ์ขอให้ระงับคำสั่งนี้ชั่วคราวอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ได้ผล เพราะล่าสุดศาลอุทธรณ์ออกคำสั่งหยุดการแบนสินค้านี้ชั่วคราว โดยให้ ITC ชี้แจงข้อมูลสนับสนุนการออกคำสั่งแบนภายในวันที่ 10 มกราคม 2024 ซึ่งเท่ากับว่าแอปเปิลสามารถขาย Apple Watch สองรุ่นที่มีปัญหานี้ในอเมริกาได้ต่อไปเกือบ 2 สัปดาห์
หนังสือพิมพ์ The New York Times (NYT) ยื่นฟ้องไมโครซอฟท์และ OpenAI ฐานใช้งานบทความของหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งการใช้งานไปในชุดข้อมูลสำหรับฝึก LLM และตัว ChatGPT/Copilot เองก็ตอบบทความแทบทั้งบทความของ NYT ออกมาให้ผู้ใช้ได้
มีข่าวน่าสนใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจ กลายเป็นเรื่องวุ่นวายที่ทางการต้องเข้ามาสั่งระงับ โดยร้านขายยา Rite Aid ที่มีสาขาหลายพันแห่งในอเมริกา ได้รับการร้องเรียนจากลูกค้า จนนำมาสู่การเจรจายอมทำตามข้อตกลงกับคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หรือ FTC
FTC ระบุว่า Rite Aid ได้นำเทคโนโลยีรู้จำใบหน้า (Facial recognition) มาใช้ในร้านค้าตั้งแต่ปี 2012-2020 เพื่อตรวจจับหากมีบุคคลต้องสงสัยว่ามีประวัติขโมยสินค้าในร้าน หรืออาชญากรรมอื่น เข้ามาใช้ในบริการในร้าน พนักงานในร้านก็สามารถประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นได้
Mark Gurman แห่ง Bloomberg รายงานข้อมูลล่าสุดจากแหล่งข่าวในแอปเปิล หลังบริษัทเตรียมหยุดขาย Apple Watch สองรุ่นล่าสุดในอเมริกา เนื่องจาก ITC มีคำสั่งให้หยุดนำเข้าและขายในประเทศ เพราะละเมิดสิทธิบัตรเซ็นเซอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือดของ Masimo โดยแอปเปิลจะแก้ไขปัญหานี้ที่ระดับซอฟต์แวร์
แหล่งข่าวบอกว่าตอนนี้ทีมวิศวกรของแอปเปิล กำลังปรับวิธีการประเมินระดับออกซิเจนในเลือด และปรับวิธีการแสดงผลข้อมูลกับผู้ใช้งาน ซึ่งสองส่วนนี้คาดว่าเป็นจุดที่ทำให้เป็นประเด็นละเมิดสิทธิบัตรของ Masimo ซึ่งหากแก้ไขส่วนดังกล่าว น่าจะทำให้แอปเปิลสามารถขาย Apple Watch ในอเมริกาต่อไปได้