NVIDIA เปิดตัวเทคโนโลยีจอภาพ G-Sync มาตั้งแต่ปี 2013 เพื่อแก้ปัญหาภาพฉีกขาด (screen tearing) โดยใช้วิธีผูกโยงอัตรารีเฟรชของจอภาพเข้ากับเฟรมเรตของเกม อย่างไรก็ตาม ปัญหาของ G-Sync คือจำเป็นต้องเพิ่มโมดูลฮาร์ดแวร์เฉพาะในจอภาพด้วย ทำให้ต้นทุนของจอสูงขึ้น เราจึงไม่ค่อยเห็นจอ G-Sync วางขายมากนัก ในขณะที่คู่แข่ง AMD ออกเทคโนโลยี FreeSync ที่ไม่เสียค่าใช้งาน-ไม่ต้องมีฮาร์ดแวร์เฉพาะ จึงได้รับความนิยมแพร่หลายกว่า
เจนเซน หวง ซีอีโอของ NVIDIA ขายหุ้นของตัวเองออกไปกว่า 322.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคม อ้างอิงจากข้อมูลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นการขายหุ้นครั้งประวัติศาสตร์ของตัวเขา ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาเขาขายหุ้นออกไปรวม ๆ แล้วเกือบ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การขายหุ้นครั้งนี้อยู่ในแผนการซื้อขายล่วงหน้าตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ก็ถือว่าเกิดขึ้นค่อนข้างถูกเวลา เพราะการขายครั้งนี้คาบเกี่ยวกับการปรับฐานของหุ้นเทคในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอ และผลประกอบการที่ออกมาต่ำกว่าคาดของบริษัทเทค
404 Media รายงานว่า NVIDIA แอบดูดข้อมูลจาก Youtube และ Netflix เพื่อนำมาเทรน AI อ้างอิงจากหลักฐานหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นข้อความ Slack, อีเมล ตลอดจนเอกสารภายในอื่น ๆ
Ming-Yu Liu รองหัวหน้าทีมวิจัยของ Nvidia และผู้นำในโปรเจกต์ดังกล่าวเผยผ่านอีเมลว่า ในแต่ละวัน AI จะได้ข้อมูลภาพ ที่เยอะที่เทียบเท่ากับช่วงเวลาชีวิตของคนๆ นึงหรือราว 80 ปี มาฝึก
หนึ่งในพนักงานที่ไม่ประสงค์ออกนามเผยว่าตนได้รับมอบหมายให้ดึงข้อมูลจาก Netflix, Youtube และแหล่งข้อมูลออนไลน์อื่น ๆ สำหรับนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI ต่าง ๆ ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Omniverse หรือระบบรถยนต์ไร้คนขับ ที่ต้องการการข้อมูลเชิงฟิสิกส์จำนวนมาก
เว็บไซต์ The Verge ตั้งข้อสังเกตว่า ในผลประกอบการไตรมาส 2/2024 ของ AMD มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจศูนย์ข้อมูล (ซีพียู Epyc และจีพียู Instinct) เติบโตขึ้นมากถึง 115% ทำให้ตอนนี้รายได้เกือบครึ่ง (48.5%) ของ AMD มาจากศูนย์ข้อมูลแล้ว
AMD แบ่งรายได้ออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ศูนย์ข้อมูล, ไคลเอนต์ (Ryzen/Threadripper), เกมมิ่ง (นับรวมจีพียูเกมมิ่ง Radeon และชิปคอนโซล) และชิปฝังตัว โดยไตรมาสที่ผ่านมา ธุรกิจศูนย์ข้อมูลและไคลเอนต์เติบโต ในขณะที่ธุรกิจเกมมิ่งและฝังตัวถดถอยลง
มีข่าวอย่างไม่เป็นทางการมาจากเว็บบอร์ด Board Channels ของจีน ซึ่งเป็นแหล่งข่าวในแวดวงฮาร์ดแวร์พีซี รายงานว่า NVIDIA แจ้งให้ผู้ผลิตการ์ดจอทราบว่าจะเลิกผลิต GeForce RTX ซีรีส์ 3060 และเปิดให้สั่งชิปได้เป็นล็อตสุดท้ายแล้ว
ความสำคัญของข่าวนี้คือ GeForce 3060 ถือเป็นจีพียูรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดบน Steam ในปัจจุบัน มีส่วนแบ่งตลาด ณ เดือนกรกฎาคม 2024 ที่ 5.71% ตามด้วยอันดับสองแบบห่างๆ GeForce 1650 อดีตแชมป์เก่า ที่ 3.88% และ GeForce 3060 Ti ที่ 3.47%
มีรายงานจาก The Information อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า NVIDIA ได้แจ้งลูกค้ารายใหญ่ เช่น ไมโครซอฟท์, Meta และกูเกิล ว่าชิปกราฟิกสำหรับลูกค้าองค์กรรุ่นล่าสุดตระกูล Blackwell จะเลื่อนส่งมอบจากกำหนดเดิม อย่างน้อย 3 เดือน เนื่องจากพบข้อบกพร่องบางอย่างในการออกแบบ และกำลังแก้ไข
ก่อนหน้านี้มีข้อมูลว่าชิปตระกูล Blackwell จะเริ่มส่งมอบได้เร็วที่สุดภายในปลายปีนี้ ถ้าเป็นไปตามรายงานนี้แปลว่า NVIDIA จะเริ่มส่งมอบได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2025
กระทรวงยุติธรรมเริ่มการสอบสวน NVIDIA ฐานผูกขาดจาก 2 กรณี คือการซื้อ Run:ai สตาร์ทอัพรัน AI บน Kubernetes และการใช้อำนาจเหนือตลาดกีดกันลูกค้า ไม่ให้ซื้อสินค้าของคู่แข่ง
กรณีแรกรายงานโดย Politico อ้างอิงคนในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการสืบสวนเรื่องการผูกขาดจากการซื้อกิจการตามปกติ
ส่วนกรณีที่สองรายงานโดย The Information หลังกระทรวงยุติธรรมได้รับคำร้องจากคู่แข่งของ NVIDIA ที่กล่าวหาว่า NVIDIA ใช้อำนาจเหนือตลาด คิดราคาอุปกรณ์เน็ตเวิร์คราคาแพง หากลูกค้าซื้อชิป AI จากคู่แข่ง
NVIDIA ประกาศความร่วมมือกับ Hugging Face นำเซิร์ฟเวอร์ NVIDIA DGX Cloud ชิป H100 ออกมาให้บริการขายปลีกสำหรับรันโมเดลโดยคิดตามเวลารันจริง
ผู้ใช้ที่ต้องการใช้บริการนี้ต้องเป็นสมาชิก Hugging Face แบบ Enterprise (เดือนละ 20 ดอลลาร์ต่อคน) และจะสามารถเรียกใช้โมเดลผ่านทางตัวเลือก "NVIDIA NIM Enterprise" โดยเรียกผ่านทางไลบรารี openai ในภาษา Python ได้เลย โดยก่อนหน้านี้ Hugging Face เคยนำชิป H100 มาให้บริการสำหรับการฝึกโมเดลมาก่อนแล้ว
Reuters รายงานข้อมูลวงในว่า NVIDIA เลือกใช้ชิปเมโมรี HBM3 (High-bandwidth Memory) กับ H20 ชิป AI ที่ผลิตขายในจีนโดยเฉพาะ ส่วนหนึ่งเพื่อให้เป็นตามกฎหมายการส่งออกของสหรัฐ
แหล่งข่าวบอกด้วยว่า เบื้องต้นที่ผ่านมีแค่ HBM3 ที่เป็นชิปเจนที่ 4 เท่านั้น ส่วนเจน 5 ที่ใหม่กว่าอย่าง HBM3E ยังไม่ผ่านมาตรฐานของ NVIDIA และกำลังอยู่ระหว่างกระบวนการทดสอบต่อไป
ที่มา - Reuters
Chey Tae-won ประธาน SK Group ร่วมงานเสวนาหอการค้าและอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ โดยทำนายว่า NVIDIA จะเป็นผู้นำตลาดและขายดีไปอย่างน้อยอีกสามปีจากการลงทุนในปัญญาประดิษฐ์อย่างหนัก แต่เตือนว่าวงการปัญญาประดิษฐ์อาจจะสร้างรายได้ไม่เพียงพอ
นอกจากประเด็นการลงทุนของบริษัทปัญญาประดิษฐ์อย่างหนักแล้ว Chey ยังระบุว่าความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งคือบริษัทต่างๆ พยายามพัฒนาชิปทางเลือกมาใช้งานแทนชิปของ NVIDIA กันหมด และหากคู่แจ่งสามารถแข่งขันได้ดีพอก็จะเป็นอันตรายต่อธุรกิจของ NVIDIA ด้วยเช่นกัน
สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องถึงสี่ราย ระบุว่า NVIDIA กำลังพัฒนาชิป AI รุ่นใหม่ สำหรับขายในประเทศจีนโดยเฉพาะ ซึ่งยังต้องอยู่ในเงื่อนไขที่สหรัฐกำหนดเอาไว้ในการผลิตชิปเพื่อส่งออก
รายงานบอกว่าชิปรุ่นดังกล่าวจะใช้ชื่อรุ่นว่า "B20" ได้เริ่มหารือกับ Inspur เพื่อให้เป็นหนึ่งในตัวแทนจำหน่ายเซิร์ฟเวอร์ที่มีจีพียูรุ่นนี้ คาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในครึ่งหลังปี 2025
ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า B20 จะเป็นจีพียูสถาปัตยกรรมใดและรายละเอียดเป็นอย่างไร แต่หากดูจากชื่อรุ่นตามข่าวที่ออกมา ก็น่าจะอยู่ในสถาปัตยกรรม Blackwell ที่มีชิปรุ่นบนสุดคือ B200
Mistral AI บริษัทปัญญาประดิษฐ์จากฝรั่งเศส เปิดตัวโมเดลภาษาเวอร์ชันใหม่ Mistral NeMo 12B ขนาด 12 พันล้านพารามิเตอร์ รองรับ context window ขนาดใหญ่ถึง 128K (โมเดลระดับเดียวกันรองรับ 8k) และสามารถนำมาใช้แทน Mistral 7B ตัวเดิมได้เลย (drop-in replacement)
Mistral NeMo 12B ออกแบบมาให้รองรับหลายภาษาตั้งแต่แรก โดยทำผลงานได้ดีในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อิตาลี โปรตุเกส จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อารบิก ฮินดี ผลการรันสามารถเอาชนะได้ทั้ง Llama 3 8B และ Gemma 2 9B ในเกือบทุกชุดทดสอบ
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 NVIDIA เปิดซอร์สไดรเวอร์ GPU ฝั่งเคอร์เนลบนลินุกซ์ โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบเปิดกว้าง GPL/MIT ตามนโยบายใหม่ที่จะใช้ไดรเวอร์แบบโอเพนซอร์ส มาทดแทนไดรเวอร์เชิงพาณิชย์ตัวเก่า
เวลาผ่านมา 2 ปีกว่า NVIDIA ประกาศว่าไดรเวอร์ตัวใหม่ที่เป็นโอเพนซอร์ส มีประสิทธิภาพและความสามารถเหนือกว่าไดรเวอร์เชิงพาณิชย์ตัวเก่าเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไดรเวอร์ตัวใหม่ถูกเขียนขึ้นมาในยุคหลังๆ เพื่อใช้กับจีพียูที่มีชิป GPU System Processor (GSP) ทำให้มันไม่ได้เหมาะกับจีพียูทุกตัวของ NVIDIA โดยบริษัทมีคำแนะนำให้ดังนี้
เว็บไซต์ Proof ร่วมกับ Wired ตีพิมพ์บทความการสืบสวนกรณีบริษัทไอทียักษ์ใหญ่หลายเจ้า เช่น Apple, Anthropic, NVIDIA, Salesforce นำข้อมูลจากซับไตเติล YouTube ไปเทรน AI โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยก่อนหน้านี้ OpenAI ก็เคยโดนกล่าวหาในลักษณะเดียวกัน
Proof บอกว่าคลิป YouTube กว่า 173,536 คลิปจาก 48,000 ช่อง ซึ่งรวมถึง Youtuber ดังๆ เช่น MKBHD, Mr.Beast และ Pewdiepie หรือช่องข่าวอย่าง BBC, The New York Times ถูกดึงข้อมูลซับไตเติลมาใช้เทรน AI
อย่างไรก็ตาม MKBHD ทวีตตั้งข้อสังเกตว่า ปกติแล้วบริษัทอย่าง Apple จะซื้อข้อมูลมาจากบริษัทอื่น ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าบริษัทเหล่านี้ไปดึงข้อมูลมาจาก YouTube โดยไม่ได้อนุญาตมาขายต่อ (และบริษัทอื่นๆ ที่ถูกกล่าวหา ก็อาจจะทำคล้ายๆ กัน?)
หลายคนแถวนี้น่าจะเคยเห็น The Sphere อาคารรูปโดมทรงกลมขนาดใหญ่ในเมืองลาสเวกัส ซึ่งมีจอภาพ LED ทั้งด้านนอกและด้านใน กินพื้นที่จอรวมกัน 750,000 ตารางฟุต
NVIDIA มีบล็อกอธิบายเบื้องหลังการแสดงผลภาพบนหน้าจอใหญ่ขนาดนี้ ว่าใช้จีพียู NVIDIA RTX A6000 (เปิดตัวปี 2020 สถาปัตยกรรม Ampere) จำนวน 150 ตัวช่วยกันเรนเดอร์หน้าจอความละเอียด 16x16K ด้านใน และหน้าจอด้านนอกที่มีไฟ LED ทั้งหมด 1.2 ล้านดวง ถือเป็นหน้าจอ LED ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
Margrethe Vestager ประธานกรรมาธิการต่อต้านการผูกขาดแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยกับ Bloomberg ว่ากรรมาธิการกำลังตรวจสอบ NVIDIA จากสาเหตุที่ซัพพลายของชิป AI ค่อนข้างที่จะคอขวดอยู่ที่ NVIDIA เจ้าเดียว
อย่างไรก็ตาม เธอบอกว่ากรรมาธิการยังไม่มีการตัดสินใจและท่าทีใดๆ ว่าเข้าข่ายหรือจะทำอะไรยังไงกับกรณีนี้ โดยตอนนี้มีแค่พูดคุยสอบถามกับทาง NVIDIA เท่านั้น
ปัจจุบันข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาดชี้ว่า ส่วนแบ่งตลาด GPU ของ NVIDIA อยู่ที่สูงถึง 88%
ที่มา - Bloomberg
สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ระบุว่าหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าของฝรั่งเศส อาจแจ้งความผิด NVIDIA ในการผูกขาดการแข่งขัน ซึ่งจะถือเป็นกรณีแรก ๆ ที่ NVIDIA ถูกแจ้งความผิด
คาดว่าเหตุการณ์นี้ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ที่มีรายงานว่าหน่วยงานกำกับดูแลของฝรั่งเศสได้เข้าตรวจสอบบริษัทผู้ผลิตจีพียูรายหนึ่ง คาดว่าเป็น NVIDIA ในประเด็นการใช้แนวทางที่ต่อต้านการแข่งขันของตลาดจีพียู โดยเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่
อินเทลเปิดราคาของชิปเร่งความเร็วปัญญาประดิษฐ์ Gaudi 3 ที่เปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน โดยคิดราคา 125,000 ดอลลาร์ (4.6 ล้านบาท) ต่อบอร์ดหนึ่งตัวที่มีชิป Guadi 3 แรม 128GB จำนวน 8 ตัว (หารมาแล้วก็เหลือตัวละประมาณ 16,000 ดอลลาร์ หรือ 5.8 แสนบาท)
ราคานี้มีผลต่อการแข่งขันไม่น้อย เพราะคู่แข่งที่เป็นเจ้าตลาด NVIDIA H100 รุ่นแรม 80GB ราคาขายบอร์ดอยู่ที่ 30,000 ดอลลาร์ (1 บอร์ด = 1 จีพียู) เทียบราคาต่อชิปแล้วแพงกว่ากันเท่าตัว แถมอินเทลยังโฆษณาว่า Gaudi 3 มีประสิทธิภาพดีกว่า H100 ราว 50%
Peter Lynch นักลงทุนชื่อดังระดับตำนานเคยกล่าวประโยคว่า "ในยุคตื่นทอง มีแต่คนขุดทองที่สูญเสียเงิน คนที่ทำกำไรจากเหตุการณ์นี้คือคนที่ขายจอบ พลั่ว เต็นท์ กางเกงยีนส์" (ที่มา) ทำให้แนวคิดเรื่องการขายเครื่องมือจำเป็น ในภาวะที่บางสิ่งกำลังเป็นที่นิยมยังคงใช้ได้อยู่เสมอ ท่ามกลางกระแส AI ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในที่สุดบริษัทที่ขาย "ของที่จำเป็น" อย่าง NVIDIA ก็กลายเป็นบริษัทมีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลกไปแล้ว
เหตุการณ์นี้ในวงการเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องใหม่ ในยุคฟองสบู่ดอตคอม ช่วงปี 1997-2000 ซึ่งเกิดกระแสของธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ก็ทำให้บริษัทที่ขายเครื่องมือที่จำเป็นอย่าง Cisco เคยมีมูลค่ากิจการมากที่สุดในโลก แซงไมโครซอฟท์ที่เป็นบริษัทอันดับ 1 ในเวลานั้นไป (ครั้งนี้ NVIDIA ก็แซงไมโครซอฟท์) จึงเกิดคำถามว่าเรื่องราวที่เห็นตอนนี้จะซ้ำรอยเดิมหรือไม่?
“ราคาคุ้น NVIDIA ทำนิวไฮ”, “หุ้น NVIDIA พุ่ง 200%”, “มูลค่า NVIDIA แซง Apple แล้ว” พาดหัวลักษณะนี้น่าจะเป็นที่ชาชินในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา หลังกระแส AI บูมมากขึ้น
หลายๆ คนน่าจะรู้อยู่แล้วว่าปัจจัยที่ทำให้ NVIDIA ขึ้นมาสู่ระดับนี้ได้ คือการครองตลาด GPU ที่ถูกนำไปใช้ในการเทรนด์ AI จนถึงขนาดที่ว่า บริษัทไอทีใหญ่ๆ หรือบริษัทวิจัยที่ต้องการ GPU ของ NVIDIA ไปใช้งาน มีแต่เงินอย่างเดียว ก็ใช่ว่าจะได้ของไป แต่ยังต้องรอคิวหลักหลายเดือน จนถึงปีเลยด้วยซ้ำไป
แต่คำถามคืออะไรที่ทำให้การ์ดจอ NVIDIA เข้าไปเป็นตัวเลือกหลัก (และอาจจะตัวเลือกเดียว) ของบริษัทที่ต้องการเทรน AI ทั้งที่คู่แข่ง GPU ใหญ่ๆ อย่าง AMD ก็มี? เป็นเพราะ GPU ของ NVIDIA ดีกว่าอย่างเดียวเหรอ? บทความนี้พาจะไขเหตุผลเบื้องลึกกว่านั้น
ราคาหุ้นของ NVIDIA เมื่อคืนนี้หลังปิดการซื้อขายของตลาดหุ้นสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.51% มีราคาหุ้นที่ 135.58 ดอลลาร์ต่อหุ้น มีมูลค่ากิจการตามราคาหุ้นหรือ Market Cap. ที่ 3.335 ล้านล้านดอลลาร์
ที่มูลค่ากิจการนี้ทำให้ NVIDIA เป็นบริษัทมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลกเป็นครั้งแรก แซงทั้งไมโครซอฟท์และแอปเปิล ซึ่งเมื่อวานนี้ราคาหุ้นทั้งสองบริษัทลดลง มีมูลค่ากิจการที่ 3.317 ล้านล้านดอลลาร์ และ 3.286 ล้านล้านดอลลาร์ ตามลำดับ
หลังจากที่ Nvidia เปิดศูนย์ข้อมูลของ GeForce Now ในไทย 2 แห่งแต่ยังไม่เปิดตัวบริการในไทย ล่าสุด Brothers Pictures เปิดเว็บไซต์เผยรายละเอียดว่า GeForce Now เตรียมเปิดบริการในไทยอย่างเป็นทางการและ Brothers Pictures จะเป็นผู้ให้บริการแต่ยังไม่ระบุวันเปิดให้บริการ
Brothers Picture เป็นบริษัทที่ทำงานด้าน Post Production ของสื่อประเภทภาพยนตร์, ซีรี่ส์, มิวสิควิดีโอ และโฆษณา เน้นไปที่การทำกราฟฟิคแอนิเมชั่นและเทคนิคพิเศษ มีผลงานเด่นอย่างการทำ CGI ให้ภาพยนตร์เรื่อง 4Kings มีนายอารันดร์ อาชาพิลาส เป็นซีอีโอของบริษัท ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นซีอีโอของ MAD Virtual Reality Studio สตูดิโอที่สร้างเกม ARAYA วางขายเมื่อปี 2016
NVIDIA เปิดตัวโมเดล Nemotron-4 340B เป็นโมเดลสำหรับสร้างข้อมูลสังเคราะห์ (synthetic data) เพื่อใช้เทรนโมเดลภาษาขนาดใหญ่ LLM อีกทีหนึ่ง
จุดเด่นของ Nemotron-4 340B คือการสร้างข้อมูลคุณภาพสูงในราคาถูก ตัวสัญญาอนุญาตเป็น NVIDIA Open Model ใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้ฟรี นำโมเดลไปดัดแปลงต่อได้
Ben Skeggs อดีตหัวหน้าทีมพัฒนาไดรเวอร์โอเพนซอร์ส Nouveau เพิ่งย้ายงานจาก Red Hat ไปอยู่กับ NVIDIA เมื่อเดือนเมษายน 2024 หลังจากเขาเงียบหายมาสักพักใหญ่ๆ ก็ออกมาประกาศว่า NVIDIA จะหาวิธีสนับสนุนไดรเวอร์จีพียูบนลินุกซ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ชิ้นส่วนสำคัญของการแก้ปัญหาไดรเวอร์บนลินุกซ์คือ โครงการไดรเวอร์โอเพนซอร์สตัวใหม่ Nova ที่พัฒนาโดยทีมฝั่ง Red Hat เขียนด้วยภาษา Rust แนวคิดของโครงการพัฒนาให้รองรับสถาปัตยกรรม NVIDIA GPU System Processor (GSP) ที่ใช้ในจีพียูรุ่นใหม่ๆ คือ GeForce RTX ซีรีส์ 20 (Turing) เป็นต้นมา
หลังจากเมื่อวานนี้แซงได้ในช่วงระหว่างวัน วันนี้แอปเปิลก็มีมูลค่ากิจการตามราคาหุ้นหรือ Market Cap. หลังปิดการซื้อขายของตลาดหุ้นสหรัฐแซงไมโครซอฟท์ กลับมาเป็นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการมากที่สุดในโลกอีกครั้งอย่างเป็นทางการ โดยแอปเปิลมีมูลค่ากิจการ 3.285 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนไมโครซอฟท์อยู่ที่ 3.282 ล้านล้านดอลลาร์
ครั้งล่าสุดที่ไมโครซอฟท์แซงแอปเปิล มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลกอีกครั้งคือ มกราคม 2024 ซึ่งนักวิเคราะห์จาก Wayve Capital Management ให้ความเห็นว่าด้วยสถานการณ์ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับ AI ตอนนี้ ทั้งสองบริษัทนี้น่าจะมีมูลค่าสูสีกันไปอีกระยะหนึ่ง โดยมี NVIDIA ซึ่งตอนนี้อยู่ในอันดับ 3 ตามมาด้วยเช่นกัน