บริษัทที่ปรึกษา Parks Associates ได้ทำการสำรวจผู้ใช้ iPhone 4S จำนวน 482 คน ว่าด้วยพฤติกรรมการใช้งาน Siri พบว่า 87% ของผู้มี iPhone 4S ใช้งาน Siri อยู่บ้างอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยพบว่าผู้ที่ใช้ Siri ส่วนใหญ่มักใช้งานในเรื่องพื้นฐานของโทรศัพท์ คือสั่งให้โทรออกหรือส่งข้อความ
ผลสำรวจยังพบว่าผู้ใช้ Siri มากกว่า 30% ไม่เคยใช้งาน Siri ในเรื่องที่ซับซ้อนขึ้นอย่างเขียนตารางนัดหมายหรือเปิดเพลง เมื่อถามต่อไปว่า Siri มีข้อเสียอย่างไรและเหตุใดจึงไม่ใช้ คำตอบส่วนใหญ่คือ Siri มักฟังสำเนียงผู้ใช้ไม่ออก หรือมีเวลาตอบสนองนานเกินไป อย่างไรก็ตามผู้ใช้งาน 55% สรุปว่าพอใจกับ Siri มาก มีเพียง 9% ที่ไม่พอใจ
Line ออกมาประกาศตัวเลขล่าสุดว่ามีผู้ใช้งานแล้วถึง 25 ล้านคน (เมื่อต้นเดือนมีนาคมมี 20 ล้าน) ซึ่งรวมแล้วใช้เวลาเพียงประมาณ 9 เดือนเท่านั้น โดยผู้ใช้งาน 10 ล้านคนอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
Line กล่าวว่าการเพิ่มโปรแกรมสำหรับบนพีซีและแมคเป็นตัวเร่งอีกทางที่ทำให้มีคนสนใจโหลดแอพนี้มากขึ้น นอกจากนี้เป้าหมายในปี 2012 สำหรับ Line คือการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานให้ถึง 100 ล้านคน และเพิ่มแพลตฟอร์มอื่นเพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้งานกลุ่มอื่นมากขึ้น
ที่มา: Naver
IETF เริ่มเปิดกลุ่มทำงานเพื่อสร้างมาตรฐาน HTTP 2.0 หน่วยงานต่างๆ ที่มีผลประโยชน์ในเทคโนโลยีก็ต้องเร่งสร้างโปรโตคอลออกมาเสนอกัน โดยก่อนหน้านี้กูเกิลเสนอโปรโตคอล SPDY ของตัวเองที่ใช้งานใน Chrome มาก่อนเพื่อเข้าเป็นมาตรฐานกลางแล้ว มาวันนี้ฝั่งไมโครซอฟท์ก็ประกาศว่าจะเสนอโปรโตคอลของตัวเองเข้าเป็นมาตรฐานเช่นกัน โดยใช้ชื่อว่า HTTP Speed+Mobility
ตัวโปรโตคอลยังไม่มีให้อ่าน แต่ไมโครซอฟท์ระบุว่าโปรโตคอลยุคใหม่ควรคิดถึงความเร็วและการใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นอื่นที่ไม่ใช่เว็บ นอกจากนั้นยังควรคำนึงถึงการใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ต้องระวังถึงพลังงานและค่าแบนวิดท์
เป็นที่บ่นกันทั่วสำหรับผู้ใช้ไอแพดใหม่ว่ารู้สึกร้อนเมื่อใช้ไปได้ระยะหนึ่ง จนทาง Consumer Reports จับมาทดสอบด้วยกล้องจับความร้อนขณะเล่นเกม Infinity Blade II แล้ววัดอุณหภูมิได้สูงถึง 113 องศาฟาห์เรนไฮต์ แล้วสรุปว่าร้อนกว่าเดิมจริงแต่ไม่ถึงขนาดจับไม่ได้
ซึ่งเรื่องก็เหมือนจะจบไปแบบนั้น แต่ดูเหมือนว่าทาง Wired จะยังไม่พอใจแค่ผลทดสอบนี้ จึงตั้งโจทย์ใหม่ทดสอบเทียบกับแท็บเล็ตอีก 5 รุ่นที่อยู่ในตลาดปัจจุบัน ด้วยการเล่นเกม Dead Space เป็นเวลา 30 นาทีโดยไม่เสียบสายชาร์จ แล้ววัดอุณหภูมิด้วยอินฟาเรดเทอร์โมมิเตอร์ (Wired ให้เหตุผลที่เลือกเกมนี้เพราะรองรับทุกแพลตฟอร์ม)
หลังจากที่ กูเกิลเปิดตัว Google Play แหล่งรวมดิจิทัลคอนเทนต์ทั้งหมดจากกูเกิล ตอนนี้ในหน้าเว็บไซต์ Google ได้เพิ่มลิงค์ Play เข้ามาอยู่บนแถบเมนูด้านบนของเว็บไซต์แล้ว เมื่อคลิกเข้าไปจะพบกับหน้าเพจ Google Play (Android Market เดิม) พร้อมกับมีลิงค์จั่วสำหรับอธิบายว่า Google Play คืออะไร
ทั้งนี้หากลองเปิดเว็บไซต์ Google ในหน้าภาษาไทยยังไม่พบลิงค์ดังกล่าวมีแค่เฉพาะในภาษาอังกฤษเท่านั้น
จากการเปลี่ยนแปลงนี้แสดงว่าทางกูเกิลเองก็เริ่มที่จะเดินหน้าเข็น Google Play ให้ผู้ใช้ทั่วไปได้รู้จักมากขึ้นแล้ว
ความคิดเห็น: กำลังคิดอยู่ว่าหากมาเป็นภาษาไทยแล้วจะใช้คำใดแทนความหมายหรืออาจจะใช้ชื่อ Play ตรงๆในหน้าภาษาไทยเลย
หลังจากไมโครซอฟท์ได้สัญญากับนักพัฒนาสาย Windows Phone ว่าจะรีบแก้ปีญหา Windows Phone SDK ไม่สามารถทำงานร่วมกับ Windows 8 ไปเมื่อต้นเดือนนี้ ล่าสุดไมโครซอฟท์เปิดเผยว่าบริษัทได้ปล่อยอัพเดต Windows Phone SDK 7.1.1 เวอร์ชันตัวจริงที่ได้รับการปรับปรุงจากเวอร์ชัน CTP แล้ว โดยนอกจาก SDK นี้จะทำงานร่วมกับ Windows 8 ได้แล้ว ยังได้รับการปรับปรุงในส่วนอื่น อาทิ
Notepad++ เป็นโปรแกรมแก้ไขเอกสารแบบเปิดซอร์สที่มีความสามารถสูงมากโปรแกรมหนึ่งจากฝั่ง Windows หลังจากเปิดตัวครั้งแรกปลายปี 2003 ตอนนี้มันก็เดินทางมาถึงเวอร์ชั่น 6.0 แล้วครับ
ความสามารถใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในรอบนี้คือ Document Map ที่จะแสดงภาพรวมว่าเรากำลังแก้ไขไฟล์ ณ จุดไหน (เช่นเดียวกับ Sublime Text 2) และรองรับการใช้นิพจน์ปกติแบบ PCRE นอกจากนี้ก็ปรับปรุงความเร็วในการโหลดไฟล์ขนาดใหญ่ๆ ครับ
ตัวโปรแกรมเขียนด้วย C++ และยังมีเวอร์ชันแปลไทยด้วย (ดาวน์โหลด) ถ้ารักโปรแกรมนี้ ก็อย่าลืมช่วยกันไปพัฒนานะครับ
งานวิจัยเกี่ยวกับจอสัมผัสอีกหนึ่งงานครับ แม้ว่าเราจะมีระบบสั่นเพื่อบ่งบอก feedback ของการสัมผัสจอ (haptic) แต่นั่นก็อาจไม่เพียงพอ ทีมนักวิจัยจากญี่ปุ่นจึงพัฒนาระบบจอสัมผัส ที่สามารถเคลื่อนตัวตอบสนองระหว่างวัตถุที่อยู่ในจอกับนิ้วมือเราได้ โดยยึดมุมทั้งสี่ของจอสัมผัสด้วยลวดและกลไกลที่จะคอยบังคับดึงมันไปในทิศทางต่างๆ ทำให้เกิดเป็นระบบจอสัมผัสที่สามารถบ่งบอกทิศทาง feedback ได้นั่นเองครับ (ดูวิดีโอได้ในข่าว)
ที่มา: Engadget
หลังจากทั้งทาง AT&T โชว์ตัว HTC Titan II และ Nokia Lumia 900 ให้น้ำลายหกกันไปพลาง ๆ แล้ว วันนี้ได้ประกาศราคารวมทั้งวันจัดจำหน่ายของ HTC Titan II และ Nokia Lumia 900 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยส่วนตัวแล้ว ผมว่าเทคโนโลยีในสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตช่วงนี้จะเริ่มตันๆ แล้ว หลังจากที่มันพัฒนาอย่างก้าวกระโดดมาประมาณ 5 ปี (นับตั้งแต่ iPhone ตัวแรกปี 2007) คือยัดฟีเจอร์เข้ามาจนนึกไม่ค่อยออกแล้วว่าจะใส่อะไรเข้ามาอีกได้บ้าง
แต่พื้นที่ที่กำลังน่าจับตาคืออุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ที่พยายามผนวก "ความสมาร์ท" หรือฟีเจอร์ที่พบใน smart device ต่างๆ เข้ามาบ้าง วงการที่น่าสนใจในตอนนี้คือทีวีและรถยนต์
ฝั่งของรถยนต์ ค่ายที่โดดเด่นในเรื่องระบบบันเทิง-สั่งงานภายในรถคือ Ford ที่จับมือกับไมโครซอฟท์ทำระบบ Ford SYNC (ของแท้ต้องเขียนตัวใหญ่) มาตั้งแต่ปี 2007 และพัฒนาเรื่อยมา (ซึ่งเราก็รายงานข่าวอยู่เรื่อยๆ)
ไมโครซอฟท์ได้ตัดสินใจที่จะบล็อคลิงก์ของ The Pirate Bay ที่อาจถูกส่งผ่านกันใน Windows Live Messenger แล้ว เมื่อผู้ใช้งานพยายามที่จะส่งข้อความซึ่งมีลิงก์ของ The Pirate Bay ไปด้วย Windows Live Messenger จะทำการแจ้งเตือนและอ้างถึงเหตุผลในการบล็อคว่าลิงก์นี้ไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน โดยมาตรการครั้งนี้จะส่งผลไปยังโปรแกรมประเภท Instant Messenger รายอื่นที่เชื่อมต่อเข้า Live Messenger ด้วย
Kaspersky Lab แจ้งเตือนผู้ใช้งานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการติดตั้งส่วนเสริมของ Chrome เนื่องจากมีการพบว่าส่วนเสริมบางชนิดนั้นมีพฤติกรรมการทำงานคล้ายกับมัลแวร์ที่มุ่งโจมตีไปยังข้อมูลส่วนตัวและบัญชีผู้ใช้งานของ Facebook โดยในบางรูปแบบจะมีการให้ผู้ใช้ติดตั้งแอพพลิเคชันของ Facebook เพื่อทำการกระจายตัวเองต่อไปหรืออาจมาในรูปแบบการหลอกให้ผู้ใช้งานคลิกเพื่อติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องของผู้ใช้งานด้วย
ขณะนี้ Kaspersky Lab ได้ส่งข้อมูลของมัลแวร์ให้กับ Chrome Web Store แล้ว ซึ่งคาดว่าจะมีมาตรการการจัดการในเร็วๆ นี้ แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานทาง Kaspersky Lab แนะนำให้ผู้ใช้งานเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งาน Facebook และในการติดตั้งส่วนเสริมของ Chrome ด้วย
Forbes อ้างว่ามีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลสหรัฐจะยอมจ่ายเป็นจำนวนเงินถึง 2.5 แสนดอลลาร์เพื่อซื้อข้อมูลเกี่ยวกับช่องโหว่ของ iOS โดยจะซื้อขายกันผ่านคนกลางซึ่งเชื่อมระหว่างผู้ค้นพบช่องโหว่และผู้ซื้อ ซึ่งการซื้อขายช่องโหว่ในลักษณะนี้จะพบได้ในงานชุมนุมของเหล่าแฮ็กเกอร์หรือการแข่งขันเจาะระบบของแฮ็กเกอร์ เช่น Pwn2Own แน่นอนว่าช่องโหว่เหล่านั้นยังไม่ถูกตรวจพบโดยฝ่ายผู้ผลิตซอฟต์แวร์
โดย Forbes ยังอ้างถึงราคาของช่องโหว่ในซอฟต์แวร์อื่นๆ อีก เช่น Adobe Reader (3 หมื่นดอลลาร์), Google Chrome (2 แสนดอลลาร์) เป็นต้น โดยช่องโหว่ของ iOS เป็นช่องโหว่ที่มีราคาสูงที่สุดในการซื้อขายคือประมาณ 2.5 แสนดอลลาร์
ดูเหมือนแผนการบุกตลาดโลกของยักษ์วงการไอทีจากจีนอย่างหัวเหว่ยจะมีอุปสรรคขัดขวางอยู่ร่ำไป หลังจากที่เคยถูกสหรัฐปฏิเสธไม่ใช้อุปกรณ์หัวเหว่ยในเครือข่ายในประเทศ จนตอนหลังต
Eucalyptus เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสร้างระบบกลุ่มเมฆภายในองค์กร (private cloud/on premise cloud) ซึ่งมีคู่แข่งสำคัญคือโครงการ OpenStack ที่มาแรงมากในช่วงหลัง
ทาง Eucalyptus จึงพยายามแก้เกม โดยล่าสุดจับมือกับ Amazon Web Services เพื่อให้ระบบกลุ่มเมฆที่สร้างโดยซอฟต์แวร์ Eucalyptus สามารถย้ายไปรันบนบริการกลุ่มเมฆอย่าง EC2, S3, EBS ได้
Vint Cerf คือผู้ออกแบบโพรโตคอล TCP/IP ซึ่งเขาถูกยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งอินเทอร์เน็ต" ปัจจุบันเขาทำงานกับกูเกิลในตำแหน่งรองประธาน และล่าสุดเขาไปพูดที่งานนิทรรศการ Life Online โดยมีเรื่องน่าสนใจสองประเด็น
อย่างแรก เขาบอกว่าถึงแม้กูเกิลจะเป็นเจ้าแห่งการค้นหาในวันนี้ แต่ก็มีโอกาสถูกโค่นได้เสมอ ไม่ต่างอะไรจากที่กูเกิลเคยโค่น Alta Vista และยาฮูมาก่อน ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องดี เพราะจะบีบให้กูเกิลกลัว และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยความเร็วสูงสุดตลอดเวลาเพื่อรักษาระดับการนำอยู่เสมอ ทุกคนในกูเกิลรู้ดีว่าอาจมีนักศึกษาแบบ Larry Page และ Sergey Brin มีไอเดียบางอย่างที่กูเกิลไม่มี และอาจโผล่ขึ้นมาแย่งตลาดของกูเกิลไปในทันที
โครงการ OLPC ออกแล็ปท็อปร้อยเหรียญ XO รุ่นใหม่เวอร์ชัน 1.75 ซึ่งหน้าตาเหมือนเดิม แต่ใช้พลังงานน้อยกว่า XO 1.5 รุ่นก่อนถึง 50%
จุดสำคัญที่สุดของ XO 1.75 คือเปลี่ยนมาใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม ARM (Marvell Armada 610) ซึ่งใช้พลังงานเพียง 4 วัตต์ขณะทำงาน และ 0.2 วัตต์ช่วงไม่ได้ใช้งาน ลดลงจากซีพียูสถาปัตยกรรม x86 ในสองรุ่นก่อนหน้ามาก (XO รุ่นแรกใช้ AMD Geode, XO 1.5 ใช้ VIA C7) ส่วนระบบปฏิบัติการของ XO 1.75 ก็ใช้อินเทอร์เฟซ Sugar รุ่นใหม่ล่าสุดที่พัฒนาจากเดิมมาก
ประเทศแรกที่จะได้ใช้ XO 1.75 คืออุรุกวัย ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำในเรื่องการใช้แล็ปท็อปเพื่อการศึกษา ปัจจุบันอุรุกวัยมี XO อยู่แล้ว 570,000 เครื่อง และรอบล่าสุดจะสั่ง XO 1.75 เพิ่มอีก 60,000 เครื่อง
ตอกย้ำความแรงของภาคต่อ Angry Birds Space อีกครั้ง หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปได้เพียงสามวัน ทาง Rovio ก็ประกาศยอดดาวน์โหลดว่าได้ทะลุ 10 ล้านครั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ยอดดาวน์โหลดอันสูงลิ่วดังกล่าวเป็นผลมาจากการเปิดให้ดาวน์โหลดพร้อมกันหลายแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น iOS, แอนดรอยด์ พีซี และแมค ร่วมกับตัวเกมที่แหวกแนวเดิมออกไปพอสมควร ช่วยให้ Angry Birds ภาคใหม่นี้ยังคงอยู่ในกระแสอีกพักใหญ่ๆ
ต่อเนื่องจากข่าวที่หลายฝ่ายกังวลแอปเปิลเสนอออกแบบ nano SIM มาพร้อมถาดใส่ ซึ่งถ้าหากแอปเปิลชนะ อาจนำไปสู่การเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน nano SIM ได้
ย้อนความเดิมก่อนว่าช่วงนี้ใกล้จะถึงกำหนดการที่องค์กรที่ควบคุมมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป (ETSI) จะนัดประชุมเพื่อโหวตมาตรฐานใหม่ของซิมการ์ดรุ่นต่อไปที่จะใช้ในอนาคต (ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ nano SIM) โดยแบ่งเป็นสองฝ่ายคือแอปเปิล และกลุ่มพันธมิตรที่นำโดยโนเกีย ที่ทำแต้มนำไปก่อนแล้วด้วยการข่มว่าฝั่งตัวเองมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า ซึ่งจะทำให้ nano SIM นอกจากจะขนาดเล็กลงแล้ว ยังมีความสามารถในการรับสัญญาณได้ดีขึ้น รวมถึงราคาผลิตต่อหน่วยที่ต่ำลงอีกด้วย
เมื่อต้นปีนี้ ไมโครซอฟท์จัดแคมเปญที่เรียกว่า Smoked by Windows Phone ซึ่งเป็นการ "ท้าพิสูจน์" ความเร็วและความสามารถของ Windows Phone มาแล้วครั้งหนึ่ง
ล่าสุดไมโครซอฟท์จัดงานรอบที่สองชื่อ Microsoft Smoked by Windows Phone ภาค Hunger Games โดยจะเชิญชวนลูกค้าให้ไปที่ร้าน Microsoft Store ทั่วสหรัฐ แล้วนำสมาร์ทโฟนของตัวเองไปแข่งขันความเร็วในการใช้งาน 5 แบบ โดยจะต้องแข่งกับตัวแทนของไมโครซอฟท์ที่ใช้ Windows Phone ทำงานแบบเดียวกัน
ถ้าลูกค้าชนะการแข่งขัน ก็จะได้รางวัลเป็น HP Folio 13 รุ่นพิเศษลายภาพยนตร์เรื่อง Hunger Games ราคา 1,049 ดอลลาร์เป็นของรางวัล (จำกัดสาขาละ 10 เครื่อง) แต่ที่สำคัญคือ "ผู้แพ้" จะได้รับข้อเสนอให้เปลี่ยนสมาร์ทโฟนของตัวเองไปใช้ Windows Phone แทน
เรื่องของเรื่องเกิดขึ้นที่ร้านค้าปลีก Apple Store สาขาแมนฮาสเซต มลรัฐนิวยอร์ก เมื่อหญิงวัย 83 ปีชื่อ Evelyn Paswall กำลังเดินเข้าไปในร้านและชนเข้ากับกระจกด้านหน้าอย่างแรงจนได้รับบาดเจ็บจมูกหัก (สาขานี้ด้านหน้าเป็นกระจกทั้งหมด)
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ เธอเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล 75,000 ดอลล่าร์สหรัฐและยังฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเลยในการเตือนเรื่องกระจกของแอปเปิลรวมทั้งหมดถึง 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
ความพ่ายแพ้ของ Flash ที่แพ้ให้กับ HTML5 ทำให้อโดบีหันหัวกลับมาเป็นผู้พัฒนามาตรฐาน HTML5 รายใหญ่เสียเอง โดยความพยายามของอโดบีในตอนนี้คือการเสนอมาตรฐาน CSS ให้สามารถจัดหน้าได้เหมือนการจัดหน้าในนิตยสาร
ความสามารถที่ว่าคือการเรียงข้อความที่เป็นชุดเดียวกัน ให้ไหลไปตามบล็อคต่างๆ ในหน้าเว็บ เหมือนที่นิตยสารมีหลายคอลัมน์ทำให้ผู้อ่านสามารถกวาดสายตาไปตามคอลัมน์แคบๆ ได้ง่ายขึ้น โดยมาตรฐานนี้เกิดจากการแฮกภายในของอโดบีเองเมื่อปีที่แล้ว และเสนอเป็นมาตรฐาน CSS Regions ต่อมาจึงถูกแตกออกเป็นสามมาตรฐาน ได้แก่
ก่อนหน้านี้ได้มีข่าวเกี่ยวกับปัญหาการชาร์จแบตเตอรี่ของ iPad ใหม่ว่านอกจากจะใช้เวลาชาร์จนานกว่า iPad 2 เนื่องจากขนาดแบตเตอรี่ที่มากขึ้นถึง 70% แล้ว ตัวเครื่องยังคงชาร์จต่อไปแม้สถานะแบตเตอรี่จะขึ้นที่ 100% ซึ่ง John Fortt ผู้สื่อข่าว CNBC ได้รายงานว่าแอปเปิลแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าการชาร์จแบตเตอรี่ต่อไปแม้สถานะจะขึ้นที่ 100% นั้น "เป็นอันตรายต่ออายุของแบตเตอรี่"
ก่อนเข้าข่าวต้องปูพื้นก่อนนิดนึงว่า ผลิตภัณฑ์หลักของ Red Hat ในตอนนี้คือ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ซึ่งเปิดซอร์สโค้ด แต่ไม่แจกไบนารี (ดังนั้นถ้าอยากได้อัพเดตก็ต้องเสียเงินค่า subscription/support)
เมื่อ RHEL เปิดซอร์สโค้ด ก็มีองค์กรหลายแห่งเอาซอร์สไปทำดิสโทรของตัวเอง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ CentOS (ฟรีทั้งหมดแต่อัพเดตช้าหน่อย)
ฝั่งของ Oracle ก็มี Oracle Linux ที่นำซอร์สโค้ดของ RHEL มาปรับแต่งให้เหมาะกับการรันแอพพลิเคชันของตัวเอง (แต่การทำงานข้างในยังเหมือน RHEL เกือบทั้งหมด) และใช้วิธีขาย subscription/support เหมือนกัน ซึ่งก็ถือว่าเจาะตลาดของ Red Hat ไปบางส่วน (โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่อยากรัน Oracle 11g บน RHEL ก็หันมาใช้ Oracle Linux แทนจะดีกว่า)
บริษัทวิจัย ABI Research ออกรายงานพยากรณ์สภาพตลาดแท็บเล็ตว่า ปัจจุบันมีแท็บเล็ตวางขายกว่า 220 รุ่น และ iPad ยังเป็นผู้นำในตลาดนี้
แต่ตลาดแท็บเล็ตราคาถูก (ต่ำกว่า 400 ดอลลาร์ หรือ 12,000 บาท) ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่ง ABI Research ประเมินสถานการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า (2016) แท็บเล็ตราคาถูกจะมีส่วนแบ่งตลาดแท็บเล็ตทั้งหมดถึง 60% ส่วนตลาดแท็บเล็ตที่ราคาแพงกว่า 400 ดอลลาร์จะมีขนาดเล็กลง
ABI ยังพูดถึงตลาดเครื่องอ่านอีบุ๊กว่าจะเติบโตเช่นกัน โดยปี 2011 โต 33% และในปี 2012 น่าจะโตอีก 20%
ที่มา - BGR