เว็บ Quora ได้รวบรวมไอเดียหรือโมเดลทางธุรกิจออนไลน์สำหรับบริษัทหน้าใหม่ ที่ไม่ควรจะทำอีกต่อไปหรือยากที่จะประสบความสำเร็จในปัจจุบัน (หมายเหตุ: ทั้งหมดเป็นไอเดียจากมุมมองบริษัท Start Up ในสหรัฐ)
Umeng ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับผู้พัฒนาอุปกรณ์พกพา ได้เปิดเผยรายงานทางสถิติของการใช้งานอุปกรณ์ iOS ในประเทศจีนจากข้อมูลในช่วงไตรมาสแรกของปี พบว่า
ประเด็นเรื่องการ "ห้ามตามรอย" หรือ Do Not Track กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐอเมริกา โดยฝ่ายนิติบัญญัติพยายามเสนอกฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขไม่ให้เว็บไซต์ตามรอยผู้ใช้
กฎหมายที่เสนอมีทั้งระดับรัฐและระดับชาติ ในกรณีของระดับรัฐคือรัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนระดับชาติกำลังจะเสนอโดยวุฒิสมาชิก Jay Rockefeller ซึ่งเป็นประธานกรรมาธิการด้านการค้าของวุฒิสภาสหรัฐ ร่างกฎหมายนี้จะให้อำนาจคณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ (FTC) ในการลงโทษหน่วยงานที่ไม่ยอมปฏิบัติตามเกณฑ์เรื่อง Do Not Track
มีคนไปค้นพบว่าทั้ง Twitter และ Facebook ลดความสำคัญของเทคโนโลยี RSS ลง โดยถอดลิงก์ RSS จากหน้าเว็บของตัวเองหลายจุด
กรณีของ Twitter นั้นประกาศชัดเจนว่า "หยุดให้บริการ RSS" โดยให้ผู้ใช้ดึงข้อมูลผ่าน API กันแทน ถ้ายังต้องการ RSS อยู่ ทางบริษัทก็แนะนำว่าให้หาโปรแกรมเสริมจากผู้ให้บริการรายอื่น หรือไม่ก็เขียนโปรแกรมแปลง RSS เองจาก API
ส่วน Facebook เดิมทีเปิดให้ดึง RSS ได้เฉพาะ page (profile เคยมีแต่ถูกถอดไปหลังเปลี่ยนรูปแบบของหน้า profile ใหม่) แต่ล่าสุด page ก็ถูกถอด RSS ออกไปแล้ว
บริษัทวิจัยตลาด Nielsen สำรวจพฤติกรรมการใช้งานแท็บเล็ตของผู้บริโภค โดยถามว่าเจ้าของแท็บเล็ตใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลง
อุปกรณ์กลุ่มที่ได้รับคะแนน "ลดลง" มากที่สุดคือเดสก์ท็อปพีซี (32% ตอบลดลง) และโน้ตบุ๊ก (30%) ส่วนกลุ่มที่ได้รับคะแนน "เพิ่มขึ้น" มากที่สุดคือเครื่องเล่นเกมพกพา (26%) และอินเทอร์เน็ตทีวี (25%)
อุปกรณ์ที่น่าสนใจคือเน็ตบุ๊ก ซึ่งได้รับคะแนนเยอะทั้งเพิ่มขึ้น (22%) และลดลง (23%) ในระดับที่สูง แถมยังมีคะแนน "เลิกใช้" สูงที่สุดในอุปกรณ์ทั้งหมดที่สำรวจคือ 5%
คำถามถัดไปคือเหตุผลที่ใช้แท็บเล็ตแทนพีซี คำตอบอันดับหนึ่งคือพกพาสะดวก (31%) ตามด้วยอินเทอร์เฟซใช้ง่าย (21%) และบูตเครื่องเร็ว (15%) ส่วนเหตุผลเรื่องน้ำหนักเบาได้คะแนนน้อยที่สุด (7%)
โครงการ Tor ซึ่งเป็นเครือข่ายสำหรับซ่อนตัวตนบนโลกออนไลน์เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว เดิมที Tor แนะนำให้ติดตั้ง add-on ชื่อ Torbutton สำหรับ Firefox ซึ่งติดตั้งแล้วจะมีปุ่มเข้าโหมด Tor เพื่อท่องเว็บแบบตามรอยไม่ได้
แต่ล่าสุดโครงการ Tor ประกาศเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาแล้ว โดยเลิกทำ Torbutton เป็น add-on และเปลี่ยนมาสร้างชุดเบราว์เซอร์ Tor Browser Bundle โดยอิงฐานจาก Firefox แทน
ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มมีคำเตือนว่าแฮ็กเกอร์กำลังใช้ Google Image Search ชักจูงผู้ใช้ไปยังเว็บที่มีอันตรายแฝงอยู่
กระบวนการทำงานของแฮ็กเกอร์คือแฮ็กเว็บไซต์จำนวนหนึ่ง (ตามข่าวคือ WordPress แต่ CMS ตัวอื่นก็มีสิทธิโดนเหมือนกัน) แล้วฝังสคริปต์ PHP ลงไป สคริปต์ตัวนี้จะคอยตรวจสอบว่า "คำค้น" ไหนใน Google Image Search ที่กำลังนิยม (เช่น รูปภาพของบิน ลาเดน) จากนั้นมันจะไปดูดรูปภาพที่เกี่ยวข้องมาเก็บไว้
ช่วงแรกสมัยวางขาย PS3 ใหม่ๆ โซนี่เคยชูจุดขายหนึ่งคือรันระบบปฏิบัติการลินุกซ์ได้ ก่อนที่โซนี่จะเปลี่ยนใจถอดฟีเจอร์นี้ออกในภายหลัง (และเป็นต้นเหตุของมหากาพย์กับ geohot คู่กรณี) อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เหล่าแฮ็กเกอร์สามารถดัดแปลงให้ PS3 กลับมารันลินุกซ์ได้อีกครั้ง
โครงการนี้มีชื่อว่า OtherOS++ มีเป้าหมายเพื่อนำระบบปฏิบัติการอื่นไปรันบน PS3 ตอนนี้ยังสนับสนุนเพียงลินุกซ์ (และยังไม่สมบูรณ์นัก) แต่อนาคตมีแผนจะทำ FreeBSD ด้วย
พักหลังนี้เราจะเห็นความพยายามแบบใหม่ๆ ของรัฐบาลหลายประเทศในการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต (อย่างของบ้านเราก็คือการสร้างหน้า 404 ปลอม) กรณีล่าสุดคือประเทศซีเรียซึ่งกำลังมีเหตุวุ่นวายทางการเมืองกับ Facebook
องค์กร EFF รายงานว่าถ้าเข้า Facebook ผ่าน HTTPS ในประเทศซีเรีย เราจะเจอกับ "Facebook ปลอม" ที่หน้าตาเหมือนกับ Facebook จริงทุกประการแทน ซึ่งเป็นเทคนิคแบบ Man-in-the-middle attack หรือการสร้าง "ตัวกลาง" ปลอมๆ ระหว่างเหยื่อและเว็บไซต์เป้าหมายที่เหยื่อต้องการจะเข้า โดยเหยื่อจะเข้าใจว่าเป็นเว็บไซต์จริงๆ และเผลอส่งข้อมูลสำคัญ (ในที่นี้คือรหัสผ่าน) ผ่านตัวกลาง
จู่ๆ ทิศทางของ Sony Ericsson ต่อการพัฒนารอมบนมือถือก็เปิดกว้างขึ้นอย่างฉับพลัน บริษัทได้สร้างความประหลาดใจมารอบหนึ่งแล้ว จากการบอกวิธีปลดล็อค bootloader บนมือถือตระกูล Xperia รุ่นใหม่ๆ ตอนนี้ก็ขยายดีกรีขึ้นมาอีกขั้น โดยสอนวิธีคอมไพล์เคอร์เนลของลินุกซ์ (ซึ่งใช้ใน Android) บนมือถือของตัวเองอย่างละเอียด
บล็อก Sony Ericsson Developer Blog บอกว่าตอนนี้นักพัฒนาและผู้ใช้ระดับสูงสามารถปลดล็อค bootloader ได้แล้ว แต่ก็มีผู้ใช้รายงานว่ายังมีปัญหาในการสร้างรอมขึ้นใช้เอง บริษัทจึงได้เชิญหัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ James Jacobsson มาอธิบายการปรับแต่งเคอร์เนล คอมไพล์ สร้างไฟล์อิมเมจ และแฟลชกลับมาบนมือถือ
นิตยสาร Fortune เล่มที่ 500 ได้มีการเปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีบริหารบริษัทของแอปเปิล โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญของสตีฟ จ็อบส์ที่มีต่อบริษัทในด้านต่าง ๆ โดย Fortune อ้างว่าเป็นข้อมูลที่พนักงานแอปเปิลแต่ละคนเป็นคนเปิดเผยออกมา
จ็อบส์มักจะบอกกับรองประธานฝ่ายต่าง ๆ ของแอปเปิลที่เข้ามาทำงานใหม่เสมอเกี่ยวกับ "ความแตกต่างระหว่างภารโรงกับรองประธาน" โดยได้บอกกับรองประธานเหล่านี้ว่า สำหรับภารโรง เหตุผลมีความหมาย แต่สำหรับรองประธาน เหตุผลหรือข้อแก้ตัวจะไม่มีความหมายอีกไป หากภารโรงลืมเก็บขยะในห้องไปทิ้งก็อาจจะหาเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ มาอธิบายว่าเขาไม่สามารถเข้าห้องได้เพราะล็อคประตูเปลี่ยนไป ฯลฯ แต่สำหรับรองประธานของแอปเปิลแล้ว เหตุผลไม่มีความหมายอีกต่อไป
เมื่อปีที่แล้วเคยมีข่าวว่า Lenovo กำลังซุ่มทำเครื่องเกมคอนโซล ซึ่งต่อมา มีข้อมูลว่ามันชื่อ Ebox และมีกล้องแบบ Kinect วันนี้มันเปิดตัวแล้ว (แต่ยังไม่ขายนะครับ)
บริษัทที่เป็นเจ้าของเครื่องเกมคอนโซลตัวนี้ชื่อ "Eedoo" ซึ่งถือเป็นบริษัทที่ Lenovo ร่วมลงทุน ส่วนตัวเครื่องเกมเปลี่ยนชื่อจาก Ebox มาเป็น iSec ซึ่งย่อมาจาก Sports Entertainment Center
รูปแบบของการเล่นเกมก็เรียกได้ว่าเดินตามรอยเท้าของ Kinect มาเลย ใช้กล้องหน้าตาเกือบเหมือนเป๊ะ แต่ก็ยังมีเกมที่ใช้คอนโทรลเลอร์ด้วย
Joe Hewitt นักพัฒนาซอฟต์แวร์ชื่อดัง ประกาศลาออกจาก Facebook แล้ว
Hewitt เคยมีส่วนในการพัฒนา Firefox สมัยตั้งต้น, ผู้ริเริ่มโครงการ Firebug (ปัจจุบันไม่มีบทบาทแล้ว) ก่อนจะไปทำงานกับ Facebook โดยเป็นคนเขียน Facebook for iPhone รุ่นแรกสุด
Hewitt บอกว่าเขาลาจาก Facebook ด้วยดี และเป็นบริษัทที่เขาทำงานอย่างมีความสุขมาก เขายังไม่บอกว่าจะไปทำอะไรต่อ แต่บอกว่า "คิดถึง Firebug" อยู่ตลอดเวลา และสนใจงาน "สร้างเครื่องมือ" ให้กับนักพัฒนาหรือดีไซเนอร์ในการไปสร้างชิ้นงานต่อ
เราคงได้เห็นผลงานใหม่ของเขากันในเร็วๆ นี้
ที่มา - Joe Hewitt
งานสัมมนาประจำปี Google I/O ของกูเกิล กลายเป็นเวทีสำหรับแถลงข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่น่าจับตามองไปเสียแล้ว และในโอกาสที่ Google I/O 2011 ใกล้เข้ามาทุกที สื่อหลายเจ้าก็เริ่มคาดการณ์กันแล้วว่าเราจะได้เห็นอะไรบ้างในงานนี้
Android
ปีที่แล้วกูเกิลใช้เวที Google I/O เปิดตัว Android 2.2 Froyo ซึ่งกลายมาเป็น Android รุ่นมาตรฐานของอุปกรณ์จำนวนมาก ปีนี้พระเอกของงานนี้น่าจะยังเป็น Android รุ่นถัดไปซึ่งมีข่าวว่าจะชื่อ "Ice Cream Sandwich" ตามข่าวก่อนหน้านี้คือมันจะรวมฐานโค้ดของ Android 2.x และ Android 3.x เข้าด้วยกัน
Google TV
แท็บเล็ต Android ที่น่าจับตามองอย่าง Eee Pad Transformer กลายเป็นของหายากหลังวางขายได้ไม่นาน จนเกิดกระแสข่าวลือว่าชิ้นส่วนขาดตลาด ทำให้แท็บเล็ตขาดตลาดตามไปด้วย
ทางโฆษกของ ASUS ออกมาชี้แจงว่าที่แท็บเล็ตขาดตลาด เป็นเพราะความต้องการของผู้บริโภคสูงกว่าที่ ASUS ประเมินไว้ในตอนแรกมาก และทาง ASUS จะเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้น โดยเดือน พ.ค. จะผลิต 1 แสนเครื่อง และเดือน มิ.ย. จะเพิ่มเป็น 2 แสนเครื่อง
ใครที่รอ Eee Pad Transformer อยู่ก็อาจจะต้องอดใจรออีกนิด
ที่มา - Netbooknews
ปัญหาอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้ Ubuntu 11.04 บ่นกันมากคือ Overlay Scrollbar หรือ "สกรอลบาร์แบบลอย" ที่อาจจะแหวกแนวและใช้ยากไปสักหน่อย
ตอนนี้ทางทีมงาน Canonical ก็เริ่มปรับปรุงเรื่องนี้ใน Ubuntu 11.10 กันแล้ว สองอย่างแรกที่เปลี่ยนแปลงคือ
ดูวิดีโอประกอบเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นครับ
ที่มา - OMG Ubuntu
comScore เผยส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนของสหรัฐนับถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2011 อันดับรวมไม่ต่างจากรอบเดือนมกราคม 2011 ที่ Android แซง BlackBerry ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง
ส่วนแบ่งตลาด 5 อันดับแรกคือ Android 34.7%, BlackBerry 27.1%, iPhone 25.5%, Windows Phone 7.5%, webOS 2.8%
เทียบการเติบโตกับสถิติรอบเดือนธันวาคม 2010 ปรากฏว่า Android โตขึ้น 6 จุด และ iOS โตขึ้น 0.5 จุด ส่วนระบบปฏิบัติการอื่นมีส่วนแบ่งตลาดลดลง โดยเฉพาะ BlackBerry ที่ลดลงถึง 4.5 จุด
ที่มา - comScore
Sony Ericsson ประกาศมือถือใหม่ตระกูล Xperia อีกสองตัวคือ Xperia Mini และ Xperia Mini Pro
ทั้งสองตัวเป็นตัวต่อของ Xperia X10 Mini และ Xperia X10 Mini Pro เพียงแต่รุ่นนี้ตัดตัวเลขรุ่นออกไป เหลือแค่ Xperia เฉยๆ ซึ่งก็สอดคล้องกับแนวทางการตั้งชื่อมือถือของ Sony Ericsson ในรุ่นหลัง
Xperia Mini และ Mini Pro มีสเปกเหมือนกันเกือบทุกประการ ใช้จอ Bravia Engine (ตัวเดียวกับ Arc) ขนาด 3" ความละเอียด 320x480, กล้องหลัง 5MP พร้อมแฟลช, ซีพียูเป็น Snapdragon 1GHz, แบต 1,200 mAh, Micro SD 2GB, ระบบปฏิบัติการ Android 2.3 Gingerbread
หลายปีก่อน ข่าวโด่งดังเรื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกคงหนีไม่พ้น OLPC หรือที่รู้จักกันในชื่อ แล็บท็อปร้อยเหรียญ ซึ่งช่วงหลังกระแสจะดูซาลงไปมาก แต่วันนี้ David Braben นักพัฒนาเกมจากอังกฤษ ก็ได้สร้างความประหลาดใจไม่น้อย กับคอมพิวเตอร์ตัวต้นแบบที่ระบุว่าจะสามารถนำไปสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีราคาเพียง 25 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 800 บาทเท่านั้น!
เคยทวีตบอกเพื่อนๆ กันไหมว่าเราไปเที่ยวที่ไหน ทำอะไรอยู่?
ผมคิดว่า ปัจจุบัน คงเป็นเรื่องที่ดูปกติกันไปแล้ว แต่ข่าวนี้จะไม่ปกติกันซักหน่อย ก็เพราะที่ที่เขาไปเที่ยวกันเป็นถึงยอดเขาเอเวอร์เรส!!
Kenton Cool นักปีนเขาชาวอังกฤษ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากซัมซุงในการปีนเขาครั้งนี้ ได้ปีนขึ้นไปถึงยอดเขาเอเวอร์เรส และใช้โทรศัพท์ Samsung Galaxy S II ทวิตผ่านเครื่องข่าย 3G ของ Ncell ที่เพิ่งติดตั้งสถานีฐานไว้ที่จุดตั้งแคมป์เมื่อปลายปีก่อน ทำให้ Galaxy S II เป็นโทรศัพท์เครื่องแรกของโลก ที่ทำการส่งข้อความเข้าเว็บทวิตเตอร์ที่จุดสูงสุดของโลก
บริษัทวิจัย IDC เผยสถิติยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกประจำไตรมาสแรกของปี 2011 (ข่าวเก่า สถิติมือถือไตรมาสแรกของ IDC) พบว่าตลาดรวมโตขึ้นถึง 79.7% เทียบกับไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ยอดขายรวมทุกยี่ห้อคือ 99.6 ล้านเครื่อง
แชมป์ยังเป็นของโนเกีย โดยขายมือถือได้เพิ่มขึ้นจากเดิม (21.5 ล้านเครื่องมาเป็น 24.2 ล้านเครื่อง) แต่ส่วนแบ่งตลาดลดลงจาก 38.8% มาเหลือ 24.3%
แอปเปิลอยู่อันดับสองด้วยยอดขาย 18.7 ล้านเครื่อง ครองส่วนแบ่งตลาด 18.7% ในขณะที่ RIM เองก็โตขึ้นในเชิงจำนวน แต่อัตราการเติบโตไม่ทันแอปเปิลที่ยอดขายเพิ่มเท่าตัวจากปีที่แล้ว ซึ่ง IDC ให้เหตุผลว่ามาจากการขาย Verizon iPhone และการขาย iPhone ในเมืองจีน
ความคืบหน้าล่าสุดของคดีออราเคิลฟ้องกูเกิลข้อหา Android ละเมิดสิทธิบัตร Java
เดิมทีนั้น ออราเคิลได้ยื่นฟ้องกูเกิลว่าละเมิดสิทธิบัตรจำนวน 132 ชิ้น แต่เนื่องจากศาลประเมินว่าการพิสูจน์สิทธิบัตรว่าละเมิดหรือไม่นั้นกินเวลามาก จึงสั่งให้ออราเคิลลดจำนวนสิทธิบัตรที่จะฟ้องลงเหลือ 3 ชิ้น เพื่อที่ปริมาณงานของศาลจะลดลง
ข่าวนี้ฟังดูดีต่อฝ่ายกูเกิลมาก แต่เอาจริงก็ไม่ใช่แบบนั้น เพราะออราเคิลถูกบังคับให้ฟ้องเฉพาะสิทธิบัตรที่มั่นใจว่าผิดเน้นๆ จำนวน 3 ชิ้นเท่านั้น ถ้าศาลตัดสินว่าผิดจริงกูเกิลก็ผิดอยู่ดี แต่ในอีกมุม กูเกิลก็สู้คดีง่ายขึ้นด้วย เพราะมีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องป้องกันตัวและหาหลักฐานมาหักล้างสิทธิบัตรชิ้นใดบ้าง
ช่วงเดือนที่ผ่านมา เวลาผมเจอคนตามที่งานโทรศัพท์มือถือในที่ต่างๆ พบว่ามีหลายคนเข้ามาคุยกับผมว่าไปเจอคีย์บอร์ดตัวหนึ่งที่ดีมากๆ และเปิดให้ใช้งานฟรี ชื่อว่า Keyboard ManMan หลายๆ คนอยากรู้จักว่าคนทำคีย์บอร์ดนี้คือใครกัน หลายๆ คนบอกกับผมว่ายินดีจ่ายเงินเพื่อให้ได้ใช้งานคีย์บอร์ดนี้ และวันนี้ก็ผมก็ตามหาผู้สร้างคีย์บอร์ดตัวนี้มาสัมภาษณ์กันได้แล้ว
Howard Stringer ซีอีโอของโซนี่เขียนจดหมายลง PlayStation Blog แสดงความ "ขอโทษ" อย่างเป็นทางการต่อกรณี PlayStation Network และ Qriocity
เขาบอกว่าโซนี่ทุ่มทรัพยากรอย่างเต็มที่เพื่อแก้ปัญหานี้ และทำงานหนักกันตลอดเวลา ส่วนที่ออกมาแจ้งเตือนลูกค้าช้า เพราะแฮ็กเกอร์พรางรอยตัวเองไว้อย่างดี ทำให้ฝ่ายสืบสวนต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลถูกขโมยไปหรือไม่
Stringer ย้ำข้อมูลที่เรารู้อยู่แล้วว่าจะต่ออายุสมาชิก PSN ให้อีก 1 เดือน, ให้การคุ้มครองเจ้าของบัตรเครดิตด้วยวงเงิน 1 ล้านดอลลาร์ (ต่อคน) ในอเมริกา และจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ต่อไป
Stringer ปิดท้ายว่าจะเริ่มเปิดบริการ PSN ใหม่ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
หลายคนคงรู้จักเกมควบคุมเครื่องบินลงจอด Flight Control ซึ่งได้รับความนิยมบนมือถือหลายแพลตฟอร์ม (แม้จะโดน Angry Birds บดบังรัศมีในฐานะเกมมือถือที่ดังที่สุดไปก็ตาม)
วันนี้บริษัท Firemint ต้นสังกัด โดนยักษ์ใหญ่แห่งวงการเกมอย่าง EA ซื้อกิจการไปเรียบร้อยแล้ว เหตุผลก็คงชัดเจนในตัวว่า EA ต้องการรุกตลาดเกมมือถือนั่นเอง
Firemint สร้างชื่อมาจากเกม Flight Control แต่จริงๆ แล้วบริษัทเปิดมาตั้งแต่ปี 1999 และรับงานพัฒนาเกมมือถือให้ EA มาหลายเกมแล้ว
ก่อนหน้านี้ไม่นาน EA เพิ่งซื้อบริษัท Mobile Post Production ซึ่งเชี่ยวชาญการพอร์ตและการทำ localization ของเกมมือถือไปเช่นกัน