เมื่อเกือบ 2 สัปดาห์ที่แล้ว Competition Commission of India (CCI) คณะกรรมการด้านการแข่งขันทางการค้าของอินเดีย ได้สั่งปรับเงิน Google เป็นจำนวน 133.78 พันล้านรูปี (คิดเป็นเงินไทยราว 6.2 พันล้านบาท) ในประเด็นการผูกขาดทางการค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ Android ล่าสุด CCI ได้มีคำสั่งปรับเงินจากประเด็นเดียวกันเพิ่มอีก 93.64 พันล้านรูปี (ประมาณ 4.2 พันล้านบาท) เท่ากับว่าภายในเดือนเดียว CCI สั่งปรับเงิน Google รวม 10.4 พันล้านบาท
Spotify ออกมาเปิดศึกกับแอปเปิลรอบใหม่อีกครั้ง โดยคราวนี้เป็นบริการ Audiobook หรือหนังสือเสียง ที่เพิ่งเปิดตัวเฉพาะผู้ใช้งานในอเมริกาไปเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งปัญหาที่ Spotify ร้องเรียนก็คือเรื่องเดิม นั่นคือกฎระเบียบของ App Store ที่มองว่าทำลายการแข่งขัน
บริการ Audiobook ของ Spotify นั้นต้องทำการแยกซื้อเป็นรายเรื่อง จึงเป็นที่มาซึ่ง Spotify ออกแคมเปญร้องเรียน สาเหตุหลักเพราะแอปเปิลจะเก็บค่าธรรมเนียม 30% ผ่านการซื้อด้วย In-App Purchase (IAP) ทำให้หนังสือมีราคาแพงมากเกินไป เมื่อ Spotify ใช้วิธีการอื่นเพื่อให้ลูกค้าซื้อนอกแอป แอปเปิลก็ห้ามไม่ให้ทำ ซึ่ง Spotify บอกว่าได้เสนอรูปแบบไปถึง 3 ครั้ง จึงผ่านการอนุมัติ แต่ก็เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากมากเกินไป
Competition Commission of India (CCI) คณะกรรมการด้านการแข่งขันทางการค้าของอินเดีย ได้สั่งปรับเงิน Google เป็นจำนวน 133.78 พันล้านรูปี (คิดเป็นเงินไทยราว 6.2 พันล้านบาท) ในประเด็นการผูกขาดทางการค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ Android
CCI ได้ออกประกาศการสั่งปรับเงินนี้ โดยอ้างถึงแนวทางที่ Google กำหนดให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ Android ต้องติดตั้งชุดแอป Google Mobile Suite ทำให้ Google ได้เปรียบเหนือผู้ให้บริการอื่นหลายอย่างในการเสนอบริการผ่านแอปบนอุปกรณ์เหล่านั้น
เมื่อเดือนพฤศจิกายน หน่วยงานด้านการแข่งขันและตลาดของอังกฤษ (Competition and Markets Authotiry หรือ CMA) ออกคำสั่งให้ Meta ต้องขายกิจการ Giphy แพลตฟอร์มแชร์ภาพ GIF ด้วยข้อหาว่าเป็นการผูกขาดการแข่งขัน
Meta ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลการแข่งขัน (Competition Appeal Tribunal หรือ CAT) ผลคือในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา CAT ตัดสินยืนตามแนวทางของ CMA จำนวน 5 ประเด็นจากทั้งหมด 6 ประเด็น โดยประเด็นที่เห็นว่า CAT ไม่มีน้ำหนักมากพอคือการแชร์ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลที่สาม (the sharing of third-party confidential information)
CADE หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันทางธุรกิจของบราซิล ที่สอบสวนดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard จนมีเอกสารรายละเอียดของฝั่งไมโครซอฟท์-โซนี่เปิดเผยต่อสาธารณะจำนวนมาก อนุมัติให้ดีลนี้ผ่านเรียบร้อยแล้ว
คำอนุมัติของ CADE ให้เหตุผลว่าภารกิจขององค์กรคือรักษาสภาพการแข่งขันเอาไว้เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค หลังการสอบสวน CADE พบว่าถ้าเกมของ Activision Blizzard โดยเฉพาะ Call of Duty กลายเป็นเอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะแพลตฟอร์มไมโครซอฟท์ อาจส่งผลให้ลูกค้า PlayStation บางส่วนย้ายไป Xbox บ้าง แต่ก็ไม่ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดเกมคอนโซล
อัยการสูงสุดของรัฐแคลิฟอร์เนียยื่นฟ้อง Amazon ฐานมีพฤติกรรมผูกขาดการค้าและกีดกันการแข่งขันด้านราคา หมายฟ้องระบุว่า Amazon ทำสัญญากับผู้ขายที่เป็นบุคคลที่สามโดยห้ามไม่ให้ผู้ขายขายสินค้าแบบเดียวกันในราคาถูกกว่าบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น Walmart, Target หรือบนเว็บไซต์ของผู้ขายเอง ทำให้ผู้บริโภคในรัฐแคลิฟอร์เนียซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Amazon มากขึ้นและราคาสินค้าจากแพลตฟอร์มอื่นทั่วรัฐแพงขึ้น
ผู้ขายบุคคลที่สามเป็นแหล่งรายได้หลักของ Amazon และเป็นผู้ขายสินค้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าทั้งหมดที่ขายใน Amazon ในทางกลับกัน รายได้ 80-100% ของผู้ขายราวครึ่งหนึ่งบน Amazon ก็มาจากสินค้าที่ขายบนแพลตฟอร์มของ Amazon เอง
การเติบโตอย่างรวดเร็วของแอปพลิเคชันสัญชาติจีนอย่าง TikTok นำไปสู่ความกังวลของบริษัทผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวกับทางการเมืองในสหรัฐ หลัง TikTok เติบโตสวนทางกับแอปอื่นที่ได้รับความนิยมลดลง
ในงาน Code Conference 2022 แอปพลิเคชัน TikTok เป็นหัวข้อที่ได้รับการพูดถึงจากผู้บริหารในวงการเทคโนโลยีและนักการเมืองในสหรัฐ แม้ว่าตัวแทนของ TikTok จะไม่ได้เข้าร่วมงานก็ตาม
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นฟ้อง Google ฐานละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดหลังจากมีรายงานว่าเตรียมยื่นฟ้องไปในเดือนสิงหาคม โดยบอกว่า Google ทำสัญญาจ่ายเงินหลายพันล้านเหรียญต่อปีให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่เพื่อให้ใช้กูเกิลเป็นบริการค้นหาเริ่มต้น ซึ่งกระทวงยุติธรรมมองว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด
Jim Ryan ซีอีโอของ PlayStation ออกมาเปิดปากพูดในประเด็นเรื่องอนาคตของ Call of Duty บนแพลตฟอร์ม PlayStation หลังไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard ซึ่งเป็นแกนกลางของการถกเถียงเรื่องผูกขาดในหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก เช่น CMA ของสหราชอาณาจักร และ บราซิล
Competition and Markets Authority (CMA) หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ออกรายงานผลการสอบสวนดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard ในระยะแรก (Phase 1 investigation) แสดงความ "กังวล" ว่าดีลนี้จะทำให้ระดับการแข่งขันในตลาดเกมลดลง
มุมมองของ CMA ระบุว่าหากไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard สำเร็จ อาจกีดกันไม่ให้คู่แข่งเข้าถึงเกมในเครือ Activision Blizzard ซึ่งได้รับความนิยมสูง หรืออาจยังให้ด้วยเงื่อนไขธุรกิจที่แย่กว่าเดิม
CMA ยังมองไปถึงการใช้อิทธิพลของไมโครซอฟท์ในตลาดคลาวด์ (Azure) และพีซี (Windows) ร่วมกับเกมของ Activision Blizzard ทำลายการแข่งขันในตลาดคลาวด์เกมมิ่งที่กำลังเติบโต
ไมโครซอฟท์ผ่อนคลายเงื่อนไขสัญญาอนุญาตใช้งานซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ฝั่งองค์กร ให้เอื้อต่อการนำไปรันบนเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทเอาท์ซอร์ส หรือผู้ให้บริการคลาวด์รายย่อยมากขึ้น
ทิศทางของไมโครซอฟท์เกิดจากแรงกดดันฝั่งยุโรป ที่มองว่าไมโครซอฟท์เป็นทั้งเจ้าของซอฟต์แวร์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์สำคัญ (เช่น Windows Server หรือ SQL Server) ในอีกทางก็เป็นผู้ให้บริการคลาวด์เองด้วย ทำให้ไมโครซอฟท์อาจใช้กลยุทธ์เรื่องสัญญาอนุญาตเพื่อให้คลาวด์ของตัวเองได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งผู้บริหาร AWS เพิ่งออกมาโวยเรื่องนี้
ฝ่ายป้องกันการผูกขาดทางการค้าของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา กำลังเตรียมเอกสารและร่างคำฟ้องเพื่อฟ้องร้องเอาผิด Apple ในเรื่องการผูกขาดทางการค้า
เป้าหมายของการร่างคำฟ้องนี้จะมุ่งไปที่ประเด็นการกีดกันทางการค้าซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากการสอบสวนเกี่ยวกับ App Store โดยทางฝ่ายฯ ตั้งเป้าที่จะร่างเอกสารให้ทันฟ้องร้อง Apple ภายในปีนี้
Alex Neill นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิผู้บริโภคของสหราชอาณาจักร ยื่นฟ้อง Sony PlayStation ในข้อหา "ขูดรีดผู้บริโภค" จากการจำหน่ายเกมแพงเกินไป เพราะโซนี่กินส่วนแบ่ง 30% จากยอดขายเกมดิจิทัลบน PlayStation Store
Neill บอกว่าโซนี่มีอำนาจเหนือตลาด (dominant posision) เพราะควบคุมช่องทางการขายเกมดิจิทัลทั้งหมดบน PlayStation และใช้อำนาจนี้บีบทั้งนักพัฒนาเกมให้ยอมรับส่วนแบ่ง 30% อย่างไร้อำนาจต่อรองใดๆ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อเกมในราคาแพงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น
Bloomberg รายงานอ้างอิงคนในว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) กำลังเตรียมยื่นฟ้อง Alphabet กรณี Google มีพฤติกรรมผูกขาดในตลาดโฆษณา หลังสืบพยานและเตรียมคดีมาหลายปี
รอบนี้ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดว่ากระทรวงยุติธรรมจะฟ้อง Alphabet/Google ในแง่มุมไหน ขณะที่การยื่นฟ้องอาจเร็วที่สุดในเดือนหน้า ที่ศาลใดศาลหนึ่งระหว่างศาลในวอชิงตัน ที่มีคดีผูกขาด Search ค้างอยู่ หรือศาลในนิวยอร์ก ที่อัยการสูงสุดของมลรัฐมียื่นคดีผูกขาดโฆษณา Google ไว้อยู่
เมื่อปี 2020 Google เคยถูกฟ้องผูกขาดโฆษณามาแล้วครั้งหนึ่งจากทนายความจาก 10 รัฐ
Competition and Markets Authority (CMA) หน่วยงานกำกับดูแลการค้าของสหราชอาณาจักร อนุมัติดีลการควบกิจการบริษัทซอฟต์แวร์ความปลอดภัย NortonLifeLock กับ Avast มูลค่า 8 พันล้านดอลลาร์ ที่ประกาศในเดือนสิงหาคม 2021
NortonLifeLock เคยซื้อกิจการ Avira มาก่อนเมื่อปี 2020 และมาซื้อ Avast อีกต่อหนึ่ง หากดีลนี้ผ่านก็จะกลายเป็นอาณาจักรซอฟต์แวร์ความปลอดภัยรายใหญ่ที่มีผู้ใช้รวมกันมากกว่า 500 ล้านคน
ดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard จำเป็นต้องผ่านการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก (หน่วยของอังกฤษเพิ่งเริ่มสอบสวนอย่างเป็นทางการ)
CADE หน่วยงานด้านการแข่งขันของบราซิล เป็นอีกหน่วยงานที่เรียกผู้เกี่ยวข้องเข้าไปสอบสวน หนึ่งในนั้นคือคู่แข่งรายสำคัญอย่างโซนี่ ที่ไปให้การตั้งแต่เดือนมิถุนายน และ CADE เผยแพร่เอกสารขึ้นบนเว็บไซต์ให้สาธารณะเข้าชม
ถึงแม้เราเห็นข่าว Meta หรือ Facebook โดนเพ่งเล็งในข้อหาผูกขาดการแข่งขัน จากการซื้อทั้ง Instagram และ WhatsApp รวมถึงกรณีการซื้อ Giphy ที่โดนหน่วยงานฝั่งอังกฤษฟันธงว่าผูกขาด
แต่ Federal Trade Commission (FTC) หน่วยงานกำกับดูแลด้านการค้าของสหรัฐ กลับยังไม่เคยมีคำสั่งลักษณะเดียวกันมาก่อน จนกระทั่งล่าสุดมีเซอร์ไพร์สคือ FTC ประกาศว่าจะขวางดีล Meta ซื้อบริษัท Within ผู้พัฒนาแอพออกกำลังกาย VR ชื่อ Supernatural เมื่อปี 2021
เราเห็นข่าวหน่วยงานภาครัฐทั่วโลกพยายามบี้แอปเปิลและกูเกิล ให้ปลดล็อคเรื่องการจ่ายเงินในร้านขายแอพของตัวเอง ตัวอย่างคือ กรณีของ App Store ในเกาหลีใต้ ที่ลดค่าธรรมเนียมเหลือ 26% หากใช้ระบบจ่ายเงินอื่น, กรณีของกูเกิลในเกาหลีใต้ หรือ กรณีของ App Store ในเนเธอร์แลนด์ แต่เฉพาะแอพหาคู่เดต
Competition and Markets Authority หรือ CMA หน่วยงานด้านการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ประกาศเข้าสอบสวนดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard อย่างเป็นทางการ เพื่อดูว่าสร้างการผูกขาดต่อธุรกิจหรือไม่
CMA ประกาศเริ่มสอบสวนอย่างเป็นทางการในวันนี้ (6 ก.ค.) โดยเปิดรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องภายในวันที่ 20 ก.ค. และกำหนดเส้นตายขั้นต้นเป็นวันที่ 1 ก.ย. ว่าจะตัดสินอย่างไร (อาจเลื่อนได้ถ้าจำเป็น)
ดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard เป็นดีลใหญ่ที่มีมูลค่าถึง 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์ และต้องผ่านกระบวนการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลในหลายๆ ประเทศ จึงจะสามารถเดินหน้าต่อได้
มหากาพย์แอปเปิลกับรัฐบาลเกาหลีใต้ จบลงด้วยการที่แอปเปิลยอมเปิด App Store ให้นักพัฒนาแอพสามารถใช้ระบบจ่ายเงินอื่นๆ นอกเหนือจากของแอปเปิลได้ โดยจะเสียค่าธรรมเนียมถูกลง 4% (เหลือ 26%)
ตอนนี้ระบบจ่ายเงินออนไลน์ที่แอปเปิลรองรับคือ KCP, Inicis, Toss, NICE โดยนักพัฒนาสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบจ่ายเงินของแอปเปิลต่อไปตามปกติ หรือจะเปลี่ยนมาใช้ระบบจ่ายเงินค่ายอื่น ซึ่งจะเสียฟีเจอร์อย่าง Ask to Buy, Family Sharing และจำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่าน StoreKit External Purchase Entitlement ซึ่งเป็น API พิเศษเวอร์ชันเฉพาะของสโตร์เกาหลีใต้ด้วย
หน่วยงานด้านการแข่งขันทางการค้าของแคนาดา (Competition Bureau) ยื่นเรื่องต่อศาลแข่งขัน (Competition Tribunal) ขอระงับการควบรวมระหว่างบริษัทโทรคมนาคม Rogers ที่เสนอซื้อกิจการบริษัท Shaw ในราคา 26 พันล้านดอลลาร์แคนาดา ด้วยเหตุผลว่าการควบรวมจะทำลายการแข่งขัน ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องจ่ายแพงขึ้น ในคุณภาพบริการที่ลดลง
ดีลนี้ Rogers โอปเปอเรเตอร์อันดับหนึ่งของแคนาดา มีฐานลูกค้าราว 11.3 ล้านราย เสนอซื้อกิจการ Shaw โอเปอเรเตอร์อันดับสี่ มีฐานลูกค้า 2.1 ล้านราย (Shaw ยังมีธุรกิจด้านเน็ตผ่านเคเบิลตามบ้าน และทีวีดาวเทียมด้วย)
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ออกผลการประเมินเบื้องต้น (preliminary view) ว่าบริการ Apple Pay เข้าข่ายผูกขาดระบบจ่ายเงินบน iOS เพราะเป็นบริการเดียวที่สามารถเข้าถึง NFC บนอุปกรณ์ iOS ได้
คณะกรรมการยุโรปบอกว่าการที่แอปเปิลจำกัดไม่ให้นักพัฒนารายอื่นใช้ NFC เพื่อจ่ายเงินได้ เป็นการปิดกั้นการแข่งขัน และทำให้ Apple Pay เป็นบริการที่ครองตลาดเพียงรายเดียว
ตอนนี้คณะกรรมการฯ ได้ส่งจดหมายแจ้งเตือนแอปเปิลอย่างเป็นทางการ (เป็นกระบวนการตามมาตรฐาน และยังไม่ถือเป็นการตัดสินว่าผิด) และจะเริ่มกระบวนการสอบสวนในขั้นต่อไป หากพบว่าแอปเปิลผิดจริงก็จะถือว่าผิดกฎหมายมาตรา 102 ของสหภาพยุโรปที่ห้ามผูกขาด
ร่างกฎหมายตลาดดิจิทัล (Digital Markets Act - DMA) ของสหภาพยุโรปกำลังเข้าสู่ร่างสุดท้ายเตรียมการรับรอง โดยกฎหมายนี้เพิ่มภาระหน้าที่ให้กับแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ (เรียกว่า gatekeeper) เช่น การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานบังคับกฎหมาย และการเปิดแพลตฟอร์มให้ธุรกิจอื่นสามารถใช้งานแพลตฟอร์มได้อิสระขึ้น
กูเกิลปรับนโยบายช่องทางการจ่ายเงินบน Google Play Store ให้ผ่อนคลายมากขึ้น จากเดิมที่บังคับต้องจ่ายผ่านระบบของกูเกิลเท่านั้น แต่เมื่อช่วงหลังได้รับแรงกดดันจากหน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศ (เช่น เกาหลีใต้ที่ถึงขั้นออกเป็นกฎหมาย) ทำให้กูเกิลต้องยอมปรับตัว
ล่าสุดกูเกิลประกาศว่าจะ 'ทดลอง' ให้นักพัฒนาในประเทศอื่นใช้ระบบจ่ายเงินของตัวเองด้วย โดยเริ่มจาก Spotify เป็นรายแรก ที่สามารถนำเสนอวิธีการจ่ายเงินของตัวเองคู่ไปกับ Google Play billing แล้วให้ผู้ใช้เป็นฝ่ายเลือกว่าจะจ่ายทางไหน
ความตื่นตัวเรื่องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ทำให้แนวทางการตามรอยข้ามเว็บด้วยคุกกี้ (third-party cookies) เริ่มใช้งานไม่ได้อีกต่อไป กูเกิลในฐานะทั้งผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ Chrome และเจ้าของระบบโฆษณาออนไลน์ขนาดใหญ่ของโลก เคยเสนอแนวทาง Privacy Sandbox ที่ใช้แทนคุกกี้มาตั้งแต่ปี 2019 และเคยประกาศแผนยกเลิกคุกกี้ข้ามเว็บภายในปี 2022 (ภายหลังเลื่อนมาเป็นปี 2023)