จากข่าว กูเกิลอ่วม MPEG LA ผนึกกำลัง 12 บริษัทเตรียมฟ้อง WebM ละเมิดสิทธิบัตร ล่าสุดกูเกิลสามารถยุติคดีกับ MPEG LA และบริษัทอื่นๆ ได้แล้ว
ความคืบหน้าล่าสุดของคดีระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงที่ศาลเขตแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2012 คณะลูกขุนตัดสินให้แอปเปิลชนะคดีซัมซุง ค่าเสียหายมูลค่า 1.05 พันล้านดอลลาร์
ขั้นตอนต่อไปของคดีคือ ผู้พิพากษาพิจารณาคำตัดสินของคณะลูกขุนว่าจะยืนยันตามนั้นหรือไม่ ซึ่งเวลาผ่านมาอีกหลายเดือน ผู้พิพากษา Lucy Koh ของคดีนี้ก็มีคำสั่งดังนี้
ถ้ายังจำกันได้ ปลายปีที่แล้วมีคดีมหากาพย์เรื่องแอปเปิลลงประกาศขอโทษซัมซุง ซึ่งจบลงที่ศาลอังกฤษสั่งให้แอปเปิลจ่ายค่าทนายให้ซัมซุง และมีการตำหนิแอปเปิลที่พยายามละเมิดคำสั่งศาลด้วยวิธีการต่างๆ เรื่องนี้น่าจะจบลงแต่ก็ดันมีภาคต่ออีกครับ
ศึกระหว่าง wiki ด้านการท่องเที่ยวสองแห่งยุติลงด้วยการไกล่เกลี่ยคดีนอกศาล เรื่องมีอยู่ว่าทีมงานผู้เขียน Wikitravel (ซึ่งเป็นทรัพย์สินของบริษัท Internet Brands) ไม่พอใจบริษัทและแยกตัวออกมาตั้ง Wikivoyage (ซึ่งดูแลโดย Wikimedia Foundation)
ปัญหาคือรูปแบบการแยกตัวคล้ายกับการ fork โครงการ เพราะ Wikivoyage ดูดเนื้อหา (ที่มีสัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons) มาจาก Wikitravel ด้วย
Internet Brands จึงตัดสินใจฟ้องอาสาสมัคร 2 คนของ Wikitravel เดิมที่ย้ายไป Wikivoyage ในข้อหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ฝั่งของ Wikimedia Foundation จึงเข้ามาช่วยสู้คดี รวมถึงฟ้องกลับ Internet Brands ว่าไม่มีสิทธิสกัดกั้น Wikivoyage ด้วย
แม้ว่าคดีระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงยังมีต่อไปเรื่อย ๆ แต่รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์สบอกว่าทิม คุก เอง ไม่เคยอยากให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น และก็ไม่ต้องการที่จะให้แอปเปิลฟ้องซัมซุงตั้งแต่แรก ในฐานะที่ซัมซุงเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับแอปเปิลมาตลอด ทิม คุก เองเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนจุดนี้ เพราะเขาเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องของห่วงโซ่อุปทานดี
ผู้พิพากษาศาลแขวง California เตรียมเรียกผู้บริหารบริษัทไอทีหลายราย ซึ่งรวมทั้ง Tim Cook และ Eric Schmidt ขึ้นให้การในกรณีโดนฟ้องร้องโดยกลุ่มพนักงาน ด้วยข้อหาการทำข้อตกลงระหว่างบริษัท ซึ่งทำให้กลุ่มพนักงานสูญเสียโอกาสเพิ่มรายได้อย่างไม่เป็นธรรม
คดีนี้เป็นการฟ้องร้องโดยกลุ่มพนักงาน ซึ่งกล่าวหาบริษัทนายจ้างหลายรายว่ามีข้อตกลงระหว่างกันที่จะไม่ติดต่อดึงตัวพนักงานของอีกฝ่าย ซึ่งผู้ฟ้องระบุว่าสภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ไม่เกิดการแข่งขันกันระหว่างองค์กร และทำให้กลุ่มพนักงานเองสูญเสียโอกาสที่จะได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น
เป็นเวลาสองปีมาแล้ว ตั้งแต่แอปเปิลได้ฟ้องแอเมซอนกรณีใช้คำว่า App Store ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของแอปเปิลในร้านค้าซอฟต์แวร์ของตัวเอง Amazon Appstore ตอนนี้ Bloomberg รายงานว่าศาลได้สั่งให้ทั้งสองฝ่ายไปตกลงกันเอง ก่อนที่จะมีการเริ่มพิจารณาในชั้นศาลในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้
AMD ฟ้องอดีตพนักงาน 4 ราย ในข้อหาเปิดเผยความลับทางธุรกิจให้แก่คู่แข่งอย่าง NVIDIA
กลุ่มอดีตพนักงานดังกล่าวประกอบไปด้วยอดีตรองประธาน Robert Feldstein และอดีตผู้จัดการอีก 3 ราย ได้แก่ Manoo Desai, Nicolas Kociuk และ Richard Hagen ถูกกล่าวหาว่าทำสำเนาข้อมูลเอกสารของ AMD เกินกว่า 100,000 รายการ และนำข้อมูลเหล่านั้นติดตัวไปด้วยในตอนที่ลาออกไปยังบริษัทใหม่ ซึ่งก็ไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็น NVIDIA คู่แข่งสำคัญของ AMD นั่นเอง
AMD อ้างว่ามีหลักฐานสำคัญที่ชี้ชัดได้ว่ามีโอนถ่ายข้อมูลไปยังอุปกรณ์จัดเก็บภายนอก นอกจากนี้ยังมีหลักฐานการใช้อินเทอร์เน็ตของหนึ่งในอดีตผู้จัดการเพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการโอนย้ายและกำจัดเอกสารดิจิทัลอีกด้วย
ปิดไปอีกหนึ่งคดีระหว่างสองบริษัทยักษ์ใหญ่ โดยศาลเขตกรุงเฮกของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีคำตัดสินว่า Galaxy Tab 10.1, 8.9, 7.7 ไม่ละเมิดแนวทางการออกแบบ "สี่เหลี่ยมมุมโค้ง" ตามที่แอปเปิลกล่าวหา
ตัวแทนของซัมซุงออกแถลงการณ์ตอบรับคำตัดสินนี้ โดยแสดงความเชื่อมั่นว่า "แอปเปิลไม่ใช่ผู้ออกแบบแท็บเล็ตสี่เหลี่ยมมุมโค้งเป็นรายแรก" และมีสินค้ามากมายที่ใช้แนวทางการออกแบบนี้ก่อนแอปเปิล
จุดที่น่าสนใจในคดีนี้คือ ศาลเนเธอร์แลนด์อ้างอิงคำตัดสินของศาลสูงอังกฤษในคดีลักษณะเดียวกันด้วย
Cisco เริ่มแผนการโฆษณาใหม่เมื่อเดือนก่อนด้วยวลีเก๋ไก๋ "Tomorrow Starts Here" ดูตัวอย่างได้จากเว็บไซต์ของ Cisco
เรื่องนี้คงไม่มีอะไรหากวลีเด็ดของแผนโฆษณานี้ ไม่ไปซ้ำกับสโลแกนของมหาวิทยาลัย East Carolina ซึ่งอ้างว่าพวกเขาใช้ข้อความนี้ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลมานานนับทศวรรษ โดยมีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงตีพิมพ์ในสื่ออย่าง Forbes และ Wired
มหาวิทยาลัย East Carolina ระบุว่าสิ่งที่ Cisco ทำนั้นขัดต่อกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากเป็นการละเมิดเครื่องหมายทางการค้าที่มหาวิทยาลัยได้ยื่นจดไว้เมื่อเดือนสิงหาคมปี 2010 และในตอนนี้ได้มีการยื่นฟ้องร้องแล้ว
สงครามสิทธิบัตรระหว่างโมโตโรลากับไมโครซอฟท์ (ที่สืบต่อมาจนถึงยุคของกูเกิล) เริ่มมีสัญญาณของสันติภาพ เมื่อกูเกิลยื่นเอกสารต่อ ITC ขอ "ถอนคำฟ้อง" สิทธิบัตรบางรายการที่เคยฟ้องไมโครซอฟท์เอาไว้
สิทธิบัตรที่ว่าเกี่ยวข้องกับ H.264 ซึ่งมีส่วนหนึ่งที่ถือเป็น "สิทธิบัตรพื้นฐาน" (standards-essential patents) ที่จำเป็นต่อการใช้งานของทุกบริษัทในวงการ และตามมารยาทแล้วไม่ควรนำมาใช้กลั่นแกล้งหรือต่อรองกันในทางธุรกิจ (ในข้อตกลงที่กูเกิลยอมความกับ FTC ก็มีเรื่องนี้ คือจะอนุญาตให้คู่แข่งใช้งานสิทธิบัตรพื้นฐานเหล่านี้ได้)
เป็นคดีที่ลากยาวมาเกือบปีแต่ก็มาถึงตอนจบแล้ว จากกรณีที่แอปเปิลฟ้อง Amazon ว่าละเมิดเครื่องหมายการค้า "App Store" ในชื่อ Amazon Appstore for Android ซึ่งแอปเปิลอ้างว่าทำให้ลูกค้าสับสน โดยศาลมีคำสั่งยกฟ้องคดีนี้ครับ จากก่อนหน้านี้ได้สั่ง
ศาลปักกิ่งสั่งปรับแอปเปิลเป็นเงิน 1.03 ล้านหยวน เนื่องจากขายอีบุ๊กละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศจีน
คดีนี้นักเขียนชื่อดัง 8 รายในจีน รวมตัวกันยื่นฟ้องแอปเปิล หลังจากค้นพบว่าหนังสือของตัวเองถูกแปลงเป็นแอพบน iOS และเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี จนทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์สูญเสียรายได้จากการขายหนังสือเป็นจำนวนมาก ซึ่งศาลก็ตัดสินว่าแอปเปิลทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ของจีน โดยปล่อยปละละเลยให้มีแอพละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้น
ก่อนหน้านี้ไม่นาน แอปเปิลเพิ่งโดนคดีคล้ายๆ กันในจีน แต่ผู้ฟ้องเป็นสารานุกรมของจีนแทน และศาลตัดสินให้แอปเปิลต้องชดใช้ค่าเสียหายเช่นกัน
ความเดิม ศึกสายเลือดเกาหลี LG Display ฟ้องซัมซุงละเมิดสิทธิบัตรจอ OLED และ Samsung ฟ้องร้องให้ประกาศสิทธิบัตร OLED ของ LG เป็นโมฆะ
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของคดีนี้ส่งท้ายปีเก่าคือ LG Display ยื่นเรื่องต่อศาลกรุงโซล ขอให้สั่งแบนการขาย Galaxy Note 10.1 ในเกาหลีใต้ เนื่องจากการละเมิดสิทธิบัตรจอ LCD พร้อมเรียกค่าเสียหาย 1 พันล้านวอน (29 ล้านบาท) ต่อวันด้วย
ที่มา - AFP
Pinterest งานเข้ารับปีใหม่อย่างจังเสียแล้วแล้ว เพราะวันนี้ นาย Theodore F. Schroeder ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแห่งนครนิวยอร์ค โดยฟ้องทั้ง Pinterest และนาย Brian Cohen ผู้ก่อตั้งว่าลอกไอเดียของเขา
โฆษกของ Pinterest กล่าวกับเหตุการณ์นี้ว่า "การฟ้องร้องนี้ไม่มีมูลความจริงและเรายืนกรานว่าจะสู้คดี"
Schoroeder กล่าวว่าเขาและ Cohen ได้เคยทำงานร่วมกันในปี 2007-2008 ช่วงก่อนตั้ง Pinterest ซึ่งเขาเป็นเจ้าของไอเดียนี้ที่ในตอนนั้นเรียกว่า Rendezvoo หลังจากนั้นจึงพัฒนาเป็น Skoopwire ต่อมาได้จดทะเบียนก่อตั้งเป็นบริษัท Pinterest ซึ่งมี Cohen เป็นผู้ก่อตั้งในปี 2009
จากปัญหา Instagram เปลี่ยนเงื่อนไขการใช้งาน (จนต้องเปลี่ยนกลับ) ล่าสุดมีกลุ่มผู้ใช้ Instagram จำนวนหนึ่งยื่นฟ้องร้องแบบกลุ่ม (class action lawsuit) ต่อศาลเขตซานฟรานซิสโกแล้ว
ข้อหาที่ Instagram โดนฟ้องคือเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของรูปภาพในกรณีเลิกใช้บริการ จะกลายเป็นของ Instagram แทน ส่วนโฆษกของ Facebook ในฐานะเจ้าของ Instagram ก็ให้สัมภาษณ์ว่าข้อหานี้ไม่มีน้ำหนักและจะต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
ที่มา - Reuters
เมื่อสามวันก่อน ศาลในสหราชอาณาจักรได้แถลงปิดคดีที่ไมโครซอฟท์ฟ้องร้องโมโตโรล่าโมบิลิตี้ ซึ่งกูเกิลซื้อไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ว่าสิทธิบัตรด้านการซิงค์สถานะของข้อความที่โมโตโรล่าโมบิลิตี้ถืออยู่เป็นโมฆะ โดยผู้พิพากษากล่าวว่าการขอจดสิทธิบัตรนั้นถือเป็นโมฆะและสิทธิบัตรควรถูกเพิกถอน (ทั้งสองบริษัทได้รับคำตัดสินล่วงเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนหน้านี้แล้ว)
ถึงแม้สิทธิบัตรที่ได้รับการจดในสหราชอาณาจักรนั้นจะอ้างถึงเทคโนโลยีเพจเจอร์ตั้งแต่ยุคปี 1990 แต่การต่อสู้ทางกฎหมายนี้เน้นถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในอุปกรณ์พกพาสมัยใหม่และคอมพิวเตอร์ที่ทำงานอยู่บนการซิงค์สถานะของข้อความ อาทิ สถานะที่ระบุว่าผู้รับปลายทางเปิดอ่านอีเมลแล้วหรือไม่
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Google, Facebook, Zynga, Dell, Red Hat และบริษัทชั้นนำด้านไอทีอีกสามบริษัทได้ร่วมกันยื่นหนังสือถึงศาลอุทธรณ์ของสหรัฐ เพื่อร้องขอให้ศาลปฏิเสธการคุ้มครองของสิทธิบัตรสี่ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องระหว่างสถาบันการเงินสองแห่ง เนื่องจากสิทธิบัตรกลุ่มดังกล่าวพูดถึงกระบวนการประมวลผลในเชิงแนวคิดเท่านั้นและได้รับการคุ้มครองอย่างกว้างขวาง เนื่องจากใช้วลีทั่วไปอย่าง "บนคอมพิวเตอร์" หรือ "ผ่านอินเทอร์เน็ต" ผู้ร้องขอจึงมองว่าสิทธิบัตรลักษณะนี้เป็นการขอความคุ้มครองแค่ไอเดียเท่านั้นซึ่งใครจะคิดขึ้นมาก็ได้ แต่ในความเป็นจริงการอิมพลีเมนต์ไอเดียให้ใช้งานได้ในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก ดังนั้นสิทธิบัตรลักษณะนี้จะขวางกั้นการเกิดนวัตกรรมใหม่
คดีสิทธิบัตรระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงในสหรัฐ (คดีเดียวกับที่คณะลูกขุนตัดสินให้แอปเปิลชนะ) กลับมาสู่กระบวนการทางศาลอีกครั้ง โดยผู้พิพากษาหญิง Lucy Koh ระบุว่าจะพิจารณาค่าเสียหาย 1 พันล้านดอลลาร์ที่คณะลูกขุนตัดสินมาเสียใหม่ เพราะสิทธิบัตรที่ลูกขุนตัดสินว่าละเมิดไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มากถึงขนาดนั้น
คดีนี้จะต้องผ่านกระบวนการทางศาลอีกหลายสัปดาห์ แต่ Koh ก็ระบุว่าจะตัดสินประเด็นย่อยต่างๆ ในกฎหมายนี้ให้เสร็จเรียบร้อยไปทีละเรื่อง
ข้อเรียกร้องของฝั่งซัมซุงคือการไต่สวนใหม่ (new trial) หรือปรับลดค่าเสียหายลง ส่วนแอปเปิลก็เรียกร้องให้ผู้พิพากษาเพิ่มมูลค่าความเสียหาย และแบนผลิตภัณฑ์ 8 ชิ้นของซัมซุงเป็นการถาวร
หลังจากที่ USPTO ได้เข้ารื้อค้นคลังสิทธิบัตรที่แอปเปิลขอจดเอาไว้ เพื่อใช้ปกป้องสิทธิของตัวเองต่างๆ นานา มากมาย เมื่อเดือนตุลาคม USPTO ได้ประกาศแช่แข็งและยกสิทธิบัตรขึ้นมาพิจารณาใหม่ไปแล้ว 1 ฉบับคือ US Patent 746938 - Apple Rubbing Banding ถ้าไม่เข้าใจ สิทธิบัตรฉบับนี้คือเอฟเฟค เด้งไปเด้งมาเวลาเลื่อนเมนูต่างๆ ที่ดูเหมือนหนังยางน่ะครับ
ก่อนหน้านี้เราทราบความว่าเอชทีซีบรรลุข้อตกลงบางประการ ซัมซุงไม่ยินยอมที่จะตามเกม และร้องขอต่อศาลให้ฝ่ายแอปเปิลเปิดเอกสาร จนในที่สุดศาลมีคำสั่งให้แอปเปิลเผยสัญญา และในตอนนี้แอปเปิลก็เผยสัญญาฉบับนี้เรียบร้อยครับ
เว็บไซต์ FOSS Patents อ่านเอกสารยื่นอุทธรณ์ของออราเคิลในคดี Java กับกูเกิล (ซึ่งยื่นเมื่อเดือนธันวาคม) พบว่าออราเคิลตัดสินใจไม่อุทธรณ์คดีส่วนสิทธิบัตร และอุทธรณ์เฉพาะคดีเรื่องลิขสิทธิ์ของ Java API เท่านั้น
FOSSPatents ประเมินว่าออราเคิลคงต้องการโฟกัสไปที่ประเด็นเรื่อง Java API เป็นหลัก, สิทธิบัตรบางชิ้นกำลังจะหมดอายุ และสิทธิบัตรบางชิ้นอาจเรียกค่าเสียหายได้ไม่มากนัก เลยตัดสินใจทิ้งประเด็นเรื่องสิทธิบัตรไป
กระบวนการของคดีนี้ยังต้องใช้เวลาอีกนาน ถ้ากำหนดการเป็นไปตามที่วางแผนกันไว้ กว่าที่ทั้งสองฝ่ายจะแถลงตอบโต้กันครบ (ฝ่ายละ 2 รอบ) ก็ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2013 ครับ
Apple เดินหน้าฟ้อง Samsung เรื่องการละเมิดสิทธิบัตรอย่างต่อเนื่องโดยเพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ของ Samsung ที่เกี่ยวข้องอีก 6 รายการ โดยตัวชูโรงอย่าง Galaxy S III และ Galaxy Note II อยู่ในข่ายด้วย
หลังจาก Samsung ร่ำๆ ว่าจะเพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ Apple ในคำฟ้องของตน ฟาก Apple ก็จัดการเพิ่มคำฟ้องผลิตภัณฑ์ของ Samsung อีก 6 รายการ โดยนอกเหนือจาก 2 รายการเด่นแล้ว ยังมี Galaxy Tab 8.9 WiFi, Galaxy Tab 2 10.1, Rugby Pro และ the Galaxy S III Mini รวมอยู่ในคำฟ้องครั้งนี้ด้วย
ในการไต่สวนคดีที่ Microsoft ละเมิดสิทธิบัตรของ Google ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าด้วยเทคโนโลยีของสิทธิบัตรดังกล่าว อาจสร้างรายได้ให้แก่ Microsoft ได้มากถึง 94 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2017
สิทธิบัตรที่เป็นข้อพิพาทนี้ว่าด้วยการรับชมวิดีโอบนเว็บผ่านเครือข่ายไร้สาย ซึ่งเดิมทีเป็นของ Motorola ก่อนเปลี่ยนมือมาสู่ Google ภายหลังถูกซื้อกิจการ โดยเรื่องนี้กำลังอยู่ในชั้นศาลเพื่อหาข้อสรุปเงินชดเชยที่ Microsoft จะต้องจ่ายให้แก่ Google ซึ่งเรียกร้องเงิน 4 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่ Microsoft ซึ่งมีท่าทีว่าต้องการเจรจากลับเห็นว่า Google เรียกร้องมากเกินไป โดยยินดีจ่ายแค่ 1 ล้านดอลลาร์ต่อปีเท่านั้น
Samsung เพิ่งจะเพิ่ม iPhone 5 ลงในคำฟ้องคดีสิทธิบัตรต่อ Apple ไปหยกๆ ก็เตรียมยัดผลิตภัณฑ์ล่าสุดของ Apple อีก 3 รายการลงในคำฟ้องด้วย ทั้ง iPad (4th Gen), iPad mini และ iPod touch
ในขณะที่ยังไม่มีข่าวคืบหน้าใดๆ ในการอุทธรณ์คดีของ Samsung ภายหลังคำตัดสินของศาล California ให้ Samsung แพ้คดีฐานละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน และการออกแบบตัวเครื่อง กลับเห็นได้อย่างชัดเจนว่า Samsung พยายามตอบโต้ Apple ทุกช่องทางด้วยการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรด้านอื่นๆ และล่าสุด สินค้าใหม่ทุกรายการของ Apple ที่เปิดตัวในปี 2012 นี้ ก็อยู่ในข่ายเพ่งเล็งของ Samsung