การแข่งขันในเครื่องมือค้นหาข้อมูลเชิงลึกด้วย AI สำหรับการศึกษาวิจัยดูจะร้อนแรงมากขึ้น ล่าสุด Perplexity เปิดตัวคุณสมบัติใหม่ Deep Research ซึ่งทำงานตามชื่อ ในการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่หลากหลายและเขียนสรุป โดยตอนนี้ทั้งกูเกิลมีความสามารถนี้ใน Gemini 2.0 และ OpenAI มีฟังก์ชันชื่อเหมือนกันใน ChatGPT
Perplexity บอกว่า Deep Research ของตนเองมีจุดเด่นเหนือกว่าคู่แข่ง เพราะสามารถให้ผลลัพธ์ที่ต้องการในเวลาต่ำกว่า 3 นาที ซึ่งเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการค้นหาข้อมูล อ่านทำความเข้าใจ วิเคราะห์ และเขียนรายงานสรุปออกมาเป็นฟอร์แมตที่พร้อมนำไปใช้งาน
ทีมวิจัยร่วมระหว่างไมโครซอฟท์และมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน รายงานถึงการสำรวจคนทำงานแบบใช้ความรู้ 319 คนถึงผลกระทบของ generative AI ต่อการทำาน พบว่ายิ่งพนักงานมั่นใจในปัญญาประดิษฐ์ขึ้นแค่ไหนก็ส่งผลลบต่อความมั่นใจในการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ของตัวเอง
กลุ่มตัวอย่าง 319 คนที่ใช้ GenAI ทำงานอยู่แล้ว เป็นชายหญิงอย่างละครึ่ง (ไม่ใช่ชายหญิง 5 คนและไม่ระบุ 2 คน) ส่วนใหญ่ใช้ ChatGPT 96.87% ที่เหลือใช้ Microsoft Copilot 23.20%, Gemini 21.63%, Copilot ใน Office 18.81%, และ Gemini ใน Workspace 15.36% ตัวงานหาคำตอบสองคำถามคือ
SCB EIC ประเมินว่าความต้องการ AI ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ผลิตชิปและส่วนประกอบที่ไม่รวมชิปต้นน้ำ โดยผลประโยชน์จะตกไปที่ผู้ประกอบการไทย 2 ด้าน ดังนี้:
นอกจากประกาศแผนการออกโมเดล GPT4.5, GPT-5 และยกเลิกการออก o3 แล้ว Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ได้อธิบายแผนเกี่ยวกับบริการค้นหาข้อมูลเชิงลึกสำหรับงานวิจัย Deep Research ของ ChatGPT ด้วย
มีผู้ใช้งานชื่อ seconds_0 บอกว่าสำหรับเขาแล้ว Deep Research เป็นเครื่องมือที่ดีมากระดับพร้อมจ่าย 1,000 ดอลลาร์ต่อเดือนเลย ซึ่งตอนนี้ Deep Research ยังจำกัดการใช้งานไว้ 100 คิวรีต่อวันเฉพาะลูกค้า Pro ซึ่ง Altman โควทโพสต์นี้และบอกว่าเขาเตรียมเปิดให้ลูกค้ากลุ่มอื่นใช้ Deep Research ได้ด้วย โดยลูกค้า Plus ใช้ได้ 10 คิวรีต่อเดือน และผู้ใช้งานฟรี 2 คิวรีต่อเดือน ซึ่งตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
ทีมวิจัยระดับปริญญาตรีนำเสนอโครงสร้างข้อมูลแบบใหม่เพื่อปรับปรุงโครงสร้างข้อมูล open-addressing hash table หรือโครงสร้างแฮชที่เก็บข้อมูลในตารางแฮชโดยตรง โดยสามารถสร้างอัลกอริทึมที่เร็วกว่า การคาดคะเนของ Andrew Yao ที่วางข้อจำกัดความเร็วของปัญหาแบบนี้ไว้ตั้งแต่ปี 1985
ภายหลังจากที่ทาง กสทช. อนุญาตให้เกิดการควบรวมของผู้ให้บริการสัญญาณมือถือ (TRUE+DTAC) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้าน (AIS+3BB) จนถึงตอนนี้ได้ผ่านมาเป็นเวลา 1-2 ปีแล้ว อยากขอเสียงผู้บริโภคทุกค่าย ว่าการใช้งานมือถือและเน็ตบ้านของทุกคนดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไรบ้าง
Blognone ร่วมกับ 101 PUB ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง สำรวจข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ-อินเทอร์เน็ตบ้าน ว่าเกิดอะไรขึ้นหลังการควบรวมผู้ให้บริการโทรคมนาคม ทั้งกรณี True + DTAC และ AIS + 3BB
ก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่าแอปเปิลกำลังพัฒนาโครงการใหม่เป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยส่วนตัวในบ้าน ที่สามารถเคลื่อนที่ติดตามผู้ใช้งานได้ ล่าสุดแอปเปิลเผยแพร่รายละเอียดงานวิจัยของบริษัทซึ่งน่าจะยืนยันข่าวนี้ และทำให้เห็นแนวทางที่แอปเปิลสนใจ
งานวิจัยนี้เรียกชื่อว่า ELEGNT ย่อมาจาก Expressive and Functional Movement Design for Non-Anthropomorphic Robot หรือการออกแบบการทำงานแสดงความรู้สึกให้หุ่นยนต์ที่ไม่ได้มีรูปร่างแบบคน ซึ่งแอปเปิลสาธิตผ่านหุ่นยนต์รูปร่างเหมือนหลอดไฟตั้งโต๊ะ Luxo Jr. สัญลักษณ์ของสตูดิโอ Pixar ที่สตีฟ จ็อบส์เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น
ทีมนักวิจัยจากประเทศไทย 3 คน และช่างภาพอีก 1 คน เดินทางไปทำวิจัยที่ขั้วโลกใต้ (แอนตาร์กติก) ถือเป็นคณะคนไทยที่เดินทางทำวิจัยไปขั้วโลกใต้ในรอบ 11 ปี (ไปคราวก่อนคือ 2557)
การเดินทางครั้งนี้อยู่ภายใต้ "โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ของ "มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ที่มีความร่วมมือกับหน่วยงานด้านขั้วโลกของประเทศจีน (PRIC) ทำให้สามารถส่งนักวิจัยไทยไปทำวิจัยที่สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ของจีนได้
ทีมจากไทยทั้ง 4 คนได้แก่
หลัง Donald Trump รับตำแหน่งประธานาธิบดี และเซ็นคำสั่งบริหารห้ามหน่วยงานของรัฐบาลระบุเพศ LGBTQ+ ให้เหลือเฉพาะเพศชายและหญิงเท่านั้น
OpenAI เปิดตัวความสามารถใหม่ของ ChatGPT เรียกชื่อว่า Deep Research สำหรับการค้นหา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลในเชิงลึก ที่มาพร้อมผลลัพธ์ซึ่งอธิบายเป็นลำดับขั้นตอน และให้แหล่งอ้างอิงประกอบ
OpenAI บอกว่า Deep Research เหมาะสำหรับคนทำงานที่ต้องอาศัยความรู้เชิงลึกเฉพาะด้าน เช่น การเงิน วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม กฎหมาย ซึ่งวิธีการค้นหาข้อมูลเชิงลึกเดิมนั้นใช้เวลามาก เพราะต้องยืนยันความน่าเชื่อถือข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน นอกจากนี้ Deep Research ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการค้นหาเปรียบเทียบข้อมูลสินค้าที่มีรายละเอียดเปรียบเทียบเยอะ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
ทีมนักวิจัยจาก University of Waterloo ในแคนาดา ค้นพบการปรับแต่งโค้ดเคอร์เนลลินุกซ์ 30 บรรทัด สามารถช่วยลดการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลลงได้สูงสุด 30%
โค้ดส่วนนี้เกี่ยวกับวิธีการประมวลผลแพ็คเก็ตของระบบเครือข่าย ซึ่งทีมนักวิจัยพบว่าเดิมทีเคอร์เนลลินุกซ์ประมวลผลได้ไม่มีประสิทธิภาพมากนัก มีปัญหาเรื่อง interruption หรือการถูกขัดจังหวะการทำงานของซีพียู จึงปรับแก้โค้ดเพียงเล็กน้อย (ทีมวิจัยบอกว่าไม่ได้เพิ่มอะไรเลย แค่สลับตำแหน่ง) ช่วยให้ใช้แคชของซีพียูอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
งานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ และนำเสนอในงาน ACM SIGMETRICS 2024 ส่วนแพตช์ตัวนี้ถูกรวมเข้ากับเคอร์เนลเวอร์ชัน 6.13 ที่เพิ่งออกไป
องค์กรวิจัย Pew Research Center รายงานผลสำรวจว่าวัยรุ่นในอเมริกาอายุ 13-17 ปี ใช้ ChatGPT ช่วยทำการบ้านหรือช่วยงานโรงเรียนมากน้อยแค่ไหน พบว่า 26% บอกว่าใช้ ChatGPT ช่วยทำงานโรงเรียน ผลสำรวจปี 2024 นี้จึงเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปี 2023 ซึ่งอยู่ที่ 13%
อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้อาจบอกได้ว่าวัยรุ่นยังนำ ChatGPT มาใช้กับงานโรงเรียนไม่มากนัก เพราะอีก 74% ก็ไม่ได้นำมาใช้ ซึ่งเรื่องนี้ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในแวดวงการศึกษา
นักวิจัยจาก Imperial College London และ University of Graz ในออสเตรีย ได้สอบถามนักศึกษามากกว่า 600 คน เกี่ยวกับประสบการณ์และสิ่งที่พวกเขารู้สึกเมื่อเล่นเกมแบบโอเพนเวิลด์ พบว่าการเล่นเกมประเภทนี้ส่งผลดีต่อสุขภาพจิต ทำให้ผ่อนคลาย มีสมาธิ และช่วยให้ได้พักออกห่างจากโลกความจริง
ทั้งนี้ในการสำรวจวิจัยได้นิยามเกมโอเพนเวิลด์ไว้ว่า เป็นเกมที่มีสภาพแวดล้อมในเกมขนาดใหญ่ เปิดให้ผู้เล่นสามารถเคลื่อนที่ ค้นหา ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ และมีข้อจำกัดในเกมน้อยที่สุด ด้วยเทคโนโลยีในการพัฒนาเกมที่มากขึ้น ทำให้การสร้างสรรค์เกมโอเพนเวิลด์ทำได้ทั้งขนาดที่ใหญ่ขึ้น รูปแบบที่ซับซ้อน เพิ่มจินตนาการในการออกเดินทางค้นหา พร้อมรูปแบบภารกิจที่ไม่มีลำดับขั้นตอนมากนักมากำหนด
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Waterloo รายงานถึงความสำเร็จในการพัฒนาเทคนิคการใช้เรดาร์ในระยะใกล้ผิวหนังเพื่อวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ต้องเจาะเลือดแบบเดิมๆ
ทีมวิจัยใช้เรดาร์คลื่นความถี่ย่าน 60GHz ด้วยชิป Infineon BGT60TR13C ที่ราคาไม่แพงนัก (ราคาชุดพัฒนาแบบขายปลีกประมาณ 9,000 บาท) ประกบเข้ากับแผ่น meta-surface ที่ช่วยโฟกัสสัญญาณให้ชัดเจนขึ้น เปิดทางให้สามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยอาศัยเซ็นเซอร์ที่แปะอยู่บนข้อมือเท่านั้น
ผลที่ได้ตอนนี้ค่อนข้างมีความหวัง โดยระดับสัญญาณที่ได้จากเรดาร์ล้อไปกับระดับน้ำตาลในตัวอย่างจำลองอย่างชัดเจน ตัวเซ็นเซอร์ใช้พลังงานจาก USB และหากมีการปรับปรุงก็น่าจะทำให้ทำงานด้วยแบตเตอรี่ได้ เปิดทางเก็บข้อมูลระดับน้ำตาลต่อเนื่อง
ARPA-H หน่วยงานให้ทุนวิจัยระดับสูงของสหรัฐฯ ประกาศโครงการ Transplantation of Human Eye Allografts (THEA) ที่สนับสนุนหน่วยงานวิจัยให้สามารถปลูกถ่ายดวงตาจนผู้รับดวงตาสามารถกลับมามองเห็นได้
ผู้ได้รับทุนจาก THEA จะวิจัยเทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการปลูกถ่ายดวงตา แบ่งเป็นสามด้าน (technical areas - TA) ได้แก่
ตอนนี้มี 4 ทีมวิจัยร่วมโครงการ THEA ได้แก่
DeepMind เปิดตัวโมเดลพยากรณ์อากาศตัวใหม่ชื่อ GenCast ซึ่งพัฒนาขึ้นจากโมเดล GraphCast ของปี 2023
GenCast เป็นโมเดลตระกูล generative ตามชื่อโมเดล ใช้อัลกอริทึมแบบ diffusion ที่เราคุ้นเคยกันในโมเดลสร้างภาพ-เสียง-วิดีโอ สามารถพยากรณ์อากาศระดับละเอียด (0.25° ของละติจูดและลองจิจูด ประมาณ 28x28 ตารางกิโลเมตร) ได้ล่วงหน้า 15 วัน (GraphCast ได้ 10 วัน) ได้แม่นยำกว่าโมเดล ENS ของศูนย์พยากรณ์อากาศยุโรป (European Centre for Medium-Range Weather Forecasts หรือ ECMWF) ซึ่งเป็นโมเดลที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
แผนกวิจัยของ DeepMind ขึ้นชื่อเรื่องการนำโมเดล machine learning ไปใช้กับงานวิจัยแขนงต่างๆ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ AlphaFold ใช้ช่วยงานวิจัยโปรตีนจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
ล่าสุด DeepMind เผยแพร่งานวิจัย AlphaQubit ในวารสาร Nature เป็นการนำเทคนิค machine learning ของ DeepMind ไปช่วยงานวิจัยด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์ของทีม Google Quantum AI
NVIDIA ประกาศความร่วมมือกับทีม Google Quantum AI เพื่อช่วยให้กูเกิลสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยให้ยืมซูเปอร์คอมพิวเตอร์ NVIDIA Eos ของตัวเอง รันซิมูเลเตอร์ จำลองการประมวลผลควอนตัมผ่านแพลตฟอร์ม CUDA-Q
ที่ผ่านมา กูเกิลมีงานวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมมายาวนาน แต่การสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีจำนวน qubit สูงๆ และรันการประมวลผลต่อเนื่องไปนานๆ จะเริ่มเจอปัญหา noise เพิ่มขึ้นจนไม่สามารถประมวลผลต่อได้ ถือเป็นข้อจำกัดสำคัญในการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมในปัจจุบัน
DeepMind ปล่อยโมเดลและโค้่ดสำหรับรัน AlphaFold 3 ปัญญาประดิษฐ์ทำนายโครงสร้างโปรตีนรุ่นล่าสุดที่ทำให้ทีมวิจัยได้รับรางวัลโนเบล
โค้ดสำหรับรันนั้นเป็นเปิดซอร์สแบบ CC-BY-NC-SA ห้ามใช้เพื่อการค้า สำหรับตัวโมเดลนั้นต้องส่งข้อมูลให้ทีมงานพิจารณา 2-3 วันทำการก่อนจึงดาวน์โหลดมาใช้งานได้ นอกจากตัวซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปรันได้เองแล้ว DeepMind ยังเปิดบริการ AlphaFold Server สำหรับการรันผ่านคลาวด์
นักวิจัยสามารถใช้งานเพื่อตีพิมพ์รายงานวิจัยจาก AlphaFold ได้ แต่ห้ามนำผลไปฝึกปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ ต่อหรือใช้เพื่อการค้าอื่น
ฝ่ายวิจัยพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์ของ Meta หรือทีม FAIR เผยแพร่งานวิจัยในการพัฒนา AI ที่สามารถรับรู้ผ่านการสัมผัส เพื่อให้นำไปใช้งานกับหุ่นยนต์ที่เลียนแบบความรู้สึกของมนุษย์ได้ โดยงานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เซ็นเซอร์ GelSight และบริษัทหุ่นยนต์ Wonik Robotics
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ (UC Berkeley) ของสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์วัสดุชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพกักเก็บคาร์บอนในอากาศได้ดีกว่าเดิม
เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (carbon capture) ถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดปริมาณ CO2 แก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอนในปัจจุบันยังทำงานได้ดีในการดูดคาร์บอนหนาแน่นจากแหล่งเดียว (เช่น ปากปล่องควันโรงงานผลิตไฟฟ้า) หากเราเอามากักเก็บ CO2 ตามท้องถนนทั่วไป มันยังทำงานได้ไม่ดีนัก
Luke Durant อดีตวิศวกร NVIDIA (ทำงานพัฒนา CUDA ตั้งแต่ปี 2010) พบจำนวนเฉพาะใหม่ (2^136,279,841) - 1 หรือ M136279841 เมื่อเขียนฐานสิบมีความยาวทั้งสิ้น 44 ล้านหลัก
กระบวนการพบเลขจำนวนเฉพาะขนาดใหญ่เช่นนี้ไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดาได้ Luke พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนชิปกราฟิกบนคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ รวมใช้ GPU นับพันตัว กระจายไปตามศูนย์ข้อมูล 24 แห่ง รวม 17 ประเทศ ใช้เวลาประมาณหนึ่งปี ชิป NVIDIA A100 ในไอร์แลนด์ก็รายงานว่าเลข M136279841 น่าจะเป็นจำนวนเฉพาะ จากนั้นใช้เวลาอีกหนึ่งวัน ชิป NVIDIA H100 ก็ยืนยันว่าเลขนี้เป็นจำนวนเฉพาะจริง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล. หรือ KMITL) เปิดศูนย์วิจัยเซมิคอนดักเตอร์ KMITL Academy of Innovative Semiconductor Manufacturing (KAISEM) ทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการกลาง รวมผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ เช่น วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมระบบการผลิต และวิศวกรรมวัสดุ มาวิจัยเซมิคอนดักเตอร์ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เซมิคอนดักเตอร์ของไทย
ในงานเปิดศูนย์ KAISEM ยังมีการเซ็นบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท National Instruments (NI) ของสหรัฐ เพื่อนำเครื่องมือและความเชี่ยวชาญของ NI มาใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ด้วย
มีงานวิจัยจากคณะนักวิจัยชาวจีน ทดลองนำ ChatGPT ไปทำโจทย์โปรแกรมมิ่งจำนวน 728 ข้อ ที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมยอดนิยม 5 ภาษา (C, C++, Java, Python, JavaScript) รวมถึงวิเคราะห์ช่องโหว่ CWE จำนวน 18 ช่องโหว่ แล้วมาประเมินว่าได้ผลลัพธ์ดีแค่ไหน
จากการประเมินของทีมวิจัยพบว่า ChatGPT ทำผลลัพธ์ออกมาได้ค่อนข้างดี (fairly good) ทำโจทย์ระดับง่าย กลาง ยาก ได้คะแนนผ่าน 89%, 71%, 40% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของ ChatGPT คือทำโจทย์ที่เกิดขึ้นหลังปี 2021 ไม่ค่อยได้ โดยหลายครั้งถึงขั้นไม่เข้าใจคำถามเลยด้วยซ้ำ แม้ว่าเป็นคำถามระดับง่ายก็ตาม อัตราทำโจทย์สำเร็จระดับง่ายลดเหลือ 52% และอัตราทำโจทย์ระดับยากเหลือ 0.66%
สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น หรือ NICT รายงานผลการทดสอบร่วมกับสถาบันอีกหลายแห่ง ในการพัฒนาวิธีส่งข้อมูลผ่านไฟเบอร์ใยแก้วพาณิชย์ ด้วยความเร็วเป็นสถิติใหม่ 402 Tb/s โดยผลทดสอบนี้ถูกนำเสนอในงาน Optical Fiber Communication Conference 2024 ที่แซนดีเอโก
ระยะทางที่ใช้ในการส่งข้อมูลคิดเป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร มีการใช้ตัวขยายสัญญาณ 6 ชนิด บนแบนด์วิธว่าง 37 THz เพื่อให้ได้ความเร็วในการส่งข้อมูลที่ระดับ 402 Tb/s ทำให้นอกจากได้ความเร็วที่สูงสุดใหม่ ยังขยายแบนด์วิธส่งข้อมูลเพิ่มอีกด้วย