European Union
Meta และ TikTok ยื่นขอให้ตรวจสอบค่าธรรมเนียม ที่บริษัทต้องจ่ายให้กับหน่วยงานกำกับดูแลของ EU เพื่อใช้ในการตรวจสอบเนื้อหาต่าง ๆ ตามกฎหมายดิจิทัลใหม่ DSA (Digital Services Act) โดยให้เหตุผลว่าค่าธรรมเนียมนี้ถูกคำนวณอย่างไม่เหมาะสม
ในข้อกำหนดนั้น EU ระบุว่าบริษัทจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งมีการคิดคำนวณจากปัจจัยต่าง ๆ โดยเงินที่จ่ายให้กับหน่วยงาน จะสูงสุดไม่เกิน 0.05% ของกำไรบริษัท แต่ตัวเลขนี้ก็ทำให้ตัวแทนของ Meta มองว่าไม่ยุติธรรม เพราะบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุน ต่อให้มีฐานผู้ใช้งานจำนวนมากแค่ไหน ก็ไม่ต้องจ่ายเงินให้ EU เลย
ส่วนตัวแทนของ TikTok มองว่าการคิดจำนวนผู้ใช้งาน ที่ EU ใช้ข้อมูลจากบริษัทภายนอก แล้วนำคำนวณค่าธรรมเนียมนั้น เป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง
Meta เป็นบริษัทล่าสุดที่แสดงความเห็นโจมตีนโยบายใหม่ของ App Store และ iOS ที่แอปเปิลปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามกฎหมาย DMA ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
โดยซีอีโอ Mark Zuckerberg พูดถึงเรื่องนี้ในช่วงแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุดบอกว่า เขาไม่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่นี้ Meta จะต้องทำอะไรเพิ่มเติมที่ต่างจากเดิม เนื่องจากความยุ่งยากที่แอปเปิลกำหนดออกมาในรายละเอียด และเขาก็ไม่คิดว่านักพัฒนาส่วนใหญ่จะเลือกย้ายแอปไปอยู่สโตร์อื่น เพราะขั้นตอนที่แอปเปิลกำหนดนั้นยุ่งยากสร้างภาระเป็นอย่างมาก
มีประเด็นเล็ก ๆ เพิ่มเติม จากประกาศของแอปเปิล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใน App Store, iOS และ Safari เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย DMA ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เช่น สามารถโหลดแอปจากสโตร์อื่นได้ หรือเบราว์เซอร์สามารถใช้เอ็นจินอื่นที่ไม่ใช่ WebKit ได้ นั่นคือ บางอย่างมีผลกับทุกแพลตฟอร์มของแอปเปิล (ในสหภาพยุโรป) แต่บางอย่างมีผลแค่ iPhone เท่านั้น iPad ไม่ได้สิทธิ์นี้
สาเหตุก็เพราะตอนที่สหภาพยุโรปหรือ EU ระบุว่าแพลตฟอร์มใดบ้างที่เข้าข่าย gatekeeper นั่นคือ ต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่, มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และมีสถานะป้องกันการแข่งขันได้ดี ระบบปฏิบัติการของแอปเปิลที่เข้าข่ายคือ iOS สำหรับ iPhone ส่วน iPadOS ของ iPad ถือว่าเป็นคนละระบบปฏิบัติการ และยังไม่เข้าเกณฑ์ gatekeeper
Mozilla ออกมาแสดงความเห็นจากนโยบายใหม่ของแอปเปิล ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย DMA ของสหภาพยุโรป ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้เบราว์เซอร์อื่นเป็นค่าเริ่มต้นง่ายขึ้น และผู้พัฒนาก็ไม่ต้องใช้ WebKit เป็นเอ็นจินได้ด้วย ทั้งหมดอาจฟังดูเป็นประโยชน์สำหรับผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ 3rd Party แต่ Mozilla ไม่คิดเช่นกัน
แอปเปิลประกาศปรับโครงสร้างการคิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ มีผลกับแอป iOS สำหรับนักพัฒนาในกลุ่มประเทศ EU ตามแนวทางใหม่ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย DMA ที่เปิดให้สามารถสร้างสโตร์แยกสำหรับการดาวน์โหลดแอป รวมทั้งเลือกจ่ายเงินผ่านช่องทางอื่นนอกจากของแอปเปิลได้
โดยส่วนที่มีเปลี่ยนแปลงสำหรับแอปที่ใช้ช่องทาง App Store เหมือนเดิมมีดังนี้
แอปเปิลประกาศการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดิจิทัล Digital Markets Act (DMA) ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้กับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มรายใหญ่ 7 มีนาคมนี้
การเปลี่ยนแปลงนั้นแอปเปิลบอกว่าจะมี API ใหม่ มากกว่า 600 รายการ สำหรับนักพัฒนา เพื่อให้เข้าถึงทั้งเอ็นจินของเบราว์เซอร์, กระบวนการจ่ายเงินในแอป, กระบวนการเผยแพร่แอป, การวิเคราะห์ข้อมูลแอป ซึ่งทั้งหมด แอปเปิลบอกว่าจะมาพร้อมแนวทางการป้องกันความปลอดภัยกับผู้ใช้งานแบบใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงจากแนวทาง DMA นี้ และทำให้การใช้อุปกรณ์แอปเปิลปลอดภัยสำหรับลูกค้าในกลุ่มประเทศ EU
ตามที่กฎหมาย Digital Markets Act (DMA) ที่รัฐสภายุโรปออกมาเพื่อควบคุมการผูกขาดของแพลตฟอร์มออนไลน์ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 มีนาคมนี้ และแอปเปิลก็ต้องปฏิบัติตามโดยเพิ่มทางเลือกให้ผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศ EU โหลดแอปผ่านช่องทางอื่นนอกเหนือจาก App Store ได้ด้วย ตอนนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีที่แอปเปิลจะเปิดให้ใช้งาน
Meta ประกาศว่าเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายกำกับดูแลแพลตฟอร์มออนไลน์ของกลุ่มประเทศ EU หรือ Digital Markets Act (DMA) จึงได้เพิ่มทางเลือกสำหรับผู้ใช้งานในการควบคุมบริการและฟีเจอร์ต่าง ๆ มีผลเฉพาะผู้ใช้งานในประเทศกลุ่ม EU, EEA และสวิตเซอร์แลนด์
ทางเลือกที่เพิ่มเติมมามีดังนี้
Mark Gurman แห่ง Bloomberg ให้ข้อมูลล่าสุดว่าตามที่รัฐสภายุโรปได้ผ่านกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) เพื่อควบคุมการผูกขาดของแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้ระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟนต้องเปิดให้ลงสโตร์ภายนอกได้ มากกว่าแค่ Play Store หรือ App Store นั้น
โดยกรณีของแอปเปิล เขาบอกว่าแอปเปิลได้เตรียมปฏิบัติตามกฎหมายใหม่นี้ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคมนี้ โดยใช้วิธีสร้าง App Store แยกออกมาอีกเวอร์ชันที่ใช้เฉพาะในกลุ่มประเทศ EU ซึ่งจะแตกต่างไปจากที่อื่นในโลก อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายละเอียดการทำงานส่วนนี้ แต่แอปเปิลนั้นได้ทำงานและปรึกษากับหน่วยงานกำกับดูแลตลอด
ArsTechnica อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัว ระบุว่าสหภาพยุโรปเตรียมจัดเว็บโป๊ 3 เว็บ ได้แก่ Xvideos, Pornhub, และ Stripchat ว่าเข้าข่ายแพลตฟอร์มขนาดใหญ่มาก (very large online platform) ที่จะถูกมาตรการกำกับดูแลเพิ่มเติมตามกฎหมาย Digital Services Act (DSA)
ตามเกณฑ์ของ DSA แพลตฟอร์มที่เข้าข่ายแพลตฟอร์มขนาดใหญ่มากนี้ต้องมีผู้ใช้เกิน 45 ล้านคน ที่ผ่านมาเว็บขนาดใหญ่ถูกกำกับด้วยมาตรการนี้ เช่น Facebook, Wikipedia, TikTok ในกรณีของเว็บโป๊เหล่านี้จะถูกบังคับให้มีมาตรการตรวจสอบอายุผู้ใช้, มาตรการลบเนื้อหาผิดกฎหมาย รวมถึงภาพโป๊ที่ไม่ได้รับความยินยอม
Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta ประกาศว่า Threads แพลตฟอร์มโซเชียลตัวหนังสือ ที่หวังแข่งขันกับ X ตอนนี้เริ่มให้บริการในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU แล้ว ซึ่งช้ากว่าประเทศอื่นทั่วโลก 5 เดือน ตามที่มีรายงานก่อนหน้านี้
สาเหตุที่ Threads ให้บริการใน EU ช้ากว่าที่อื่นนั้น Meta ไม่ได้ออกมาให้เหตุผล แต่คาดเดาว่ากฎระเบียบของ EU มีข้อกำหนดหลายอย่างที่ทำให้ Meta ต้องปฏิบัติตาม โดยส่วนที่สำคัญคือการเปิดให้ผู้ใช้งานใน EU เลือกสร้างโปรไฟล์ที่เชื่อมต่อกับบัญชี Instagram เดิม หรือเลือกสร้างโปรไฟล์ใหม่ไปเลยก็ได้
Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล ร่วมมือกับ Meta, Qualcomm และบริษัทเทคโนโลยีอีก 7 แห่ง จัดตั้งกลุ่มเพื่อผลักดันระบบนิเวศดิจิทัลแบบเปิด เรียกย่อว่า CODE (Coalition for Open Digital Ecosystems) เป้าหมายเพื่อโปรโมตแพลตฟอร์มและระบบเปิด รองรับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการเติบโตในภูมิภาคยุโรป
กลุ่ม CODE บอกว่าจะทำงานร่วมกับองค์กรการศึกษา การเมือง และบริษัทต่าง ๆ เพื่อผลักดันแพลตฟอร์มแบบเปิดในยุโรปควบคู่ไปกับกฎหมายตลาดดิจิทัล (Digital Markets Act - DMA) ในกลุ่มประเทศ EU ที่กำหนดให้แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากและเป็นระบบปิดซึ่งเรียกว่า gatekeeper ต้องเปิดให้คู่แข่งสามารถเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มได้ด้วย
ถึงแม้แพลตฟอร์มโซเชียลข้อความ Threads จะออกมาแล้วระยะหนึ่ง แต่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือ EU นั้น ก็ยังไม่ได้ให้บริการ เนื่องจาก Meta มีประเด็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล จึงเลือกยังไม่ให้บริการในกลุ่มประเทศนี้ในช่วงแรก
ล่าสุดมีรายงานว่า Threads เตรียมเปิดให้ใช้งานในประเทศกลุ่ม EU แล้ว ในเดือนธันวาคม และถือเป็นการขยายตลาดประเทศผู้ใช้งานรอบใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง
Alexander Hanff นักรณรงค์ด้านความเป็นส่วนตัวได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการปกป้องข้อมูลของไอร์แลนด์ เพื่อให้สอบสวน YouTube ว่าการบล็อกไม่เล่นวิดีโอหากตรวจพบตัวบล็อกโฆษณาในเบราว์เซอร์ เข้าข่ายการละเมิดกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (EU) หรือไม่
ในรายละเอียดคำร้องบอกว่า กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลของ EU ระบุว่าผู้ให้บริการออนไลน์ต้องแสดงข้อความขออนุญาต หากมีการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน กรณีของ YouTube นั้นพบว่ามีการฝังสคริปต์เพื่อตรวจสอบดูว่า HTML ที่เรนเดอร์แล้วของฝั่งผู้ใช้งานใช้ตัวบล็อกโฆษณาหรือไม่ ซึ่งเขามองว่าสคริปต์นี้เป็นการละเมิดข้อมูลและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องมีการควบคุมเหมือนการร้องขอจัดเก็บคุกกี้
ตามที่กรรมมาธิการยุโรปออกกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) ให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ที่มีแพลตฟอร์มซึ่งมีสถานะแข็งแกร่งได้เปรียบเหนือรายอื่นเป็น Gatekeeper ต้องเปิดแพลตฟอร์มให้บริการอื่นเข้ามาเชื่อมต่อใช้งาน และแข่งขันได้ ซึ่งมีบริษัทเทคโนโลยีที่เข้าข่าย 6 ราย ล่าสุดมีรายงานว่าแอปเปิลพยายามชี้แจงในส่วนของเบราว์เซอร์ Safari ว่าไม่ได้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างที่ถูกระบุ
กรณีของแอปเปิลนั้น มีบริการ 3 อย่างที่ถูกระบุว่าเป็น Gatekeeper คือ iOS, App Store และ Safari ทำให้แอปเปิลต้องเปิดให้ใช้สโตร์ภายนอกโหลดแอปได้ และต้องให้ใช้เอ็นจินอื่นของเบราว์เซอร์ได้นอกเหนือจาก WebKit กำหนดภายในมีนาคม 2024
Thierry Breton กรรมาธิการยุโรปด้านตลาดในสหภาพยุโรปส่งจดหมายถึง Mark Zuckerberg ขอให้ตระหนักในการนำข่าวปลอมออกจากแพลตฟอร์ม เนื่องจากสหภาพยุโรปเห็นข่าวปลอมบนแพลตฟอร์มในประเด็นการโจมตีระหว่างอิสราเอลและฮามาสเพิ่มขึ้นจำนวนมาก จึงขอให้ Mark Zuckerberg ปฏิบัติตามอย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมง
Meta มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบและลบเนื้อหาที่ผิดกฎหมายเช่น เนื้อหาของผู้ก่อการร้าย, คำพูดแสดงความเกลียดชัง ภายใต้กฎหมาย Digital Services Act ของยุโรป ถ้าไม่ปฏิบัติตามอาจส่งผลให้เสียค่าปรับ 6% จากรายได้ต่อปีของบริษัท
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องระบุว่า Meta ได้นำเสนอรายละเอียดต่อหน่วยงานกำกับดูแลของ EU ถึงการออกแพ็คเกจ Subscription ให้ผู้ใช้งานในภูมิภาค แลกกับการใช้งานแบบไม่มีโฆษณา โดยผู้ใช้ต้องจ่ายเงินประมาณ 10 ยูโรต่อเดือน (390 บาท) และคิดราคาเพิ่มอีก 6 ยูโรต่อบัญชีที่พ่วงเพิ่มเติมเข้ามา ราคานี้จะปรับเพิ่มขึ้นหากสมัครผ่านแอปมือถือ เนื่องจากต้องจ่ายส่วนแบ่งให้แอปเปิลหรือกูเกิล
Thierry Breton กรรมาธิการยุโรปด้านตลาดในสหภาพยุโรป หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมาธิการยุโรป 27 คน ออกมาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยสเตอร์ว่าควรเปิด ecosystem ของตัวเองให้คู่แข่ง ตามแนวทางของกฎหมาย DMA
Breton พูดถึงบริการสำคัญๆ ที่แอปเปิลยังผูกกับตัวเอง เช่น Wallet, App Store, และเบราว์เซอร์ ขณะที่ประกาศของกรรมาธิการยุโรปนั้นระบุว่าแอปเปิลมีสถานะเป็น gatekeeper ในบริการระบบปฎิบัติการ iOS, เบราว์เซอร์ Safari, และ App Store
Breton ให้สัมภาษณ์ครั้งนี้หลังพบกับ Tim Cook ก็อาจจะเป็นท่าทีว่าคณะกรรมาธิการยุโรปยังแข็งกร้าวกับบริษัทเทคขนาดใหญ่ต่อไป
กรรมาธิการยุโรปประกาศ 6 บริษัทที่เข้าข่ายสถานะ gatekeeper ได้แก่ Alphabet, Amazon, Apple, ByteDance, Meta, และ Microsoft โดยหลังจากนี้ทั้ง 6 บริษัทมีเวลา 6 เดือนปรับการทำธุรกิจให้เป็นเป็นตามข้อบังคับที่เพิ่มขึ้น
สถานะ gatekeeper ตามกฎหมาย Digital Markets Act ระบุให้เป็นบริษัทขนาดใหญ่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม, มีผู้ใช้เป็นคนหรือธุรกิจจำนวนมาก, และมีความสามารถในการป้องกันสถานะตัวเองได้อย่างแข็งแกร่ง บริษัทที่ถูกจัดเข้าหมวดจะถูกบังคับให้เปิดแพลตฟอร์มให้บริการอื่นเข้ามาแข่งขันได้ และต้องไม่สร้างความได้เปรียบบริการของตัวเองเหนือบริการของผู้ให้บริการภายนอก เช่นการบังคับติดตั้งแอปบางตัวโดยไม่ให้ถอนออก
มีรายงานจาก Financial Times เกี่ยวกับกฎหมายดูแลการแข่งขันในตลาดดิจิทัล ของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เรียกย่อว่ากฎหมาย DMA ซึ่งเริ่มมีผลตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้ว รายละเอียดหนึ่งคือการประกาศรายชื่อบริการ ที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตาม DMA เนื่องจากมีผู้ใช้งานจำนวนมาก และสามารถกีดกันคู่แข่งได้ (gatekeeper)
เงื่อนไขของบริการที่เข้าเกณฑ์ DMA คือบริการนั้นต้องมีผู้ใช้งานในประเทศกลุ่ม EU มากกว่า 45 ล้านคนต่อเดือน หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ จะมีค่าปรับปีละ 7.5 พันล้านยูโร ซึ่งข้อกำหนดหนึ่งคือการออกแบบระบบ ให้รองรับการใช้งานหรือเชื่อมต่อบริการของผู้พัฒนารายอื่นได้
มีรายงานจาก The New York Times ว่า Meta กำลังพิจารณาออกแพ็คเกจ Subscription สำหรับประเทศกลุ่ม EU เพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งเรื่องการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน และการแสดงผลโฆษณา โดยแพ็คเกจนี้เมื่อผู้ใช้งานจ่ายเงินแพลตฟอร์มของ Meta ทั้ง Facebook, Instagram จะไม่แสดงโฆษณาเลย
ปัจจุบัน Meta เปิดให้ผู้ใช้ใน EU สามารถเลือกปิดการติดตามข้อมูลผู้ใช้งานสำหรับแสดงโฆษณาแบบ Opt-out และเตรียมเปิดการตั้งค่านี้เป็น Opt-in ไปเลย
ที่ผ่านมาไอร์แลนด์ได้สั่งปรับ Meta 1.3 พันล้านดอลลาร์ จากสาเหตุมีการส่งออกข้อมูลผู้ใช้ในประเทศออกไปอเมริกา ผิดเงื่อนไข GDPR ซึ่งส่งผลให้ Meta ระมัดระวังในการให้บริการมากขึ้น
Meta ประกาศว่าเพื่อให้เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายดิจิทัล DSA ของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU ต้องสามารถปิดการใช้งาน (opt-out) ระบบแนะนำเนื้อหา (Recommendation) ที่เรียนรู้และปรับแต่งให้เข้ากับผู้ใช้งานแต่ละคนได้ โดย Meta จะเพิ่มตัวเลือกปิดการแนะนำเนื้อหามีผลกับ Reels, Stories และ Search ใน Facebook และ Instagram
Meta บอกว่าเมื่อผู้ใช้งานเลือกปิดระบบแนะนำ ฟีดจะเลือกเนื้อหามาแสดงโดยอิงตามบัญชีที่ติดตาม เรียงตามลำดับเวลาล่าสุดไปหาเก่าสุด ส่วนระบบ Search แสดงผลการค้นหาอิงตามคีย์เวิร์ดที่ป้อนเข้าไป โดยไม่มีการปรับแต่งผลลัพธ์อิงตามประวัติการใช้งานแต่ละคน
ดีลที่ Adobe ประกาศซื้อกิจการ Figma ด้วยมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ เริ่มถูกหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศต่าง ๆ มาสอบสวนมาเป็นการผูกขาดหรือไม่ ล่าสุด คณะกรรมการยุโรป หรือ European Commission ประกาศเตรียมทำการสอบสวนเต็มรูปแบบ หลังจากประเมินขั้นต้นว่าอาจเป็นการผูกขาดตลาด
หน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดการค้าของ EU มองว่าดีลนี้ทำให้ Adobe สามารถควบคุมตลาดในระดับโลก ให้ลดการแข่งขัน ลูกค้ามีตัวเลือกซอฟต์แวร์ออกแบบงานน้อยลง โดยทาง EU จะดูรายละเอียดว่าหากดีลนี้สำเร็จ ลูกค้าจะยังมีทางเลือกอยู่มากพอหรือไม่
TikTok เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ซึ่งมีจุดเด่นคือระบบอัลกอริทึมแนะนำคลิปสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคน (personalised) อย่างไรก็ตามด้วยกฎหมายดิจิทัล DSA ที่ออกมาจากคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission: EC) เมื่อเดือนเมษายน ทำให้ TikTok ต้องปรับระบบนี้ตามข้อกำหนดที่ภูมิภาค
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) อนุมัติกรอบความร่วมมือว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (EU-U.S. Data Privacy Framework) เปิดทางให้บริษัทเทคโนโลยีสามารถถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของชาวยุโรปไปยังเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกาได้แล้ว
คณะกรรมาธิการยุโรปให้เหตุผลว่า รายละเอียดของการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวภายใต้กรอบนี้ ถือว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ และตอบโจทย์ข้อกังวลและข้อเสนอแนะของศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice) เช่น จำกัดการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐเท่าที่จำเป็น หรือการตั้งศาล Data Protection Review Court ที่ชาวยุโรปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้