JetBrains ประกาศปรับเปลี่ยนไลเซนส์ของ IDE ในเครือ 2 ตัวคือ WebStorm (JavaScript/TypeScript) และ Rider (Unreal) ให้ใช้งานฟรี หากไม่ได้ใช้งานในเชิงพาณิชย์ (non-commercial use)
JetBrains อธิบายว่าก่อนหน้านี้ได้ออก IDE ใหม่ๆ อย่าง RustRover (Rust) และ Aqua (QA/Test Automation) ที่มีไลเซนส์แบบ non-commercial อยู่แล้ว จึงขยายไลเซนส์แบบเดียวกันมายัง WebStorm กับ Rider เพิ่มด้วย
บริษัท Deep Silver ผู้จัดจำหน่ายเกมเอาตัวรอดจากซอมบี้ Dead Island 2 ที่วางขายเมื่อปี 2023 ประกาศความสำเร็จว่ามียอดผู้เล่นเกิน 10 ล้านคนแล้ว (นับรวมทั้งกลุ่มที่ซื้อเกมโดยตรง เล่นผ่าน Game Pass และเล่นเวอร์ชันเดโม trial)
Dead Island 2 เป็นภาคต่อของเกม Dead Island ภาคแรกที่ออกในปี 2011 โดยเปลี่ยนสถานที่จากเกาะกลางทะเลในภาคแรก มาเป็นเมืองลอสแอนเจลิสแทน เกมเปิดตัวครั้งแรกในปี 2014 แต่เปลี่ยนสตูดิโอผู้พัฒนามาแล้วถึง 3 รอบ จนสุดท้ายมาจบที่สตูดิโอ Dambuster Studios ในเครือ Deep Silver เอง แล้วออกวางขายในปี 2023 ได้ในที่สุด
Sega ประกาศความสำเร็จของเกม Sonic X Shadow Generations ทำยอดขายได้เกิน 1 ล้านชุดภายในวันแรกที่วางขาย 25 ตุลาคม 2025
Sonic X Shadow Generations เป็นการรีมาสเตอร์เกม Sonic Generations ปี 2011 แล้วเพิ่มเนื้อหาเกม Shadow Generations ที่ใช้ตัวละครเป็น Shadow the Hedgehog เข้ามา เกมทำคะแนนรีวิวได้ดี คะแนนรีวิวเฉลี่ย 80/100
เว็บไซต์ The Verge อ้างข่าวลือจากแหล่งข่าวใกล้ชิดกูเกิล ว่าเราจะได้เห็นโมเดล Gemini 2.0 เปิดตัวในเดือนธันวาคม ไล่เลี่ยกับ ข่าวลือว่า OpenAI จะเปิดตัวโมเดลใหม่ Orion ซึ่งรายงานโดย The Verge เช่นกัน
แหล่งข่าวของ The Verge บอกว่าโมเดล Gemini 2.0 ไม่ได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากเท่ากับที่ Google DeepMind คาดหวังไว้ แต่เขาก็บอกว่าทุกบริษัทที่พัฒนาโมเดลขนาดใหญ่เจอปัญหาลักษณะเดียวกัน ซึ่งน่าจะเริ่มเป็นทางตันของโมเดลตระกูล Transformer ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เวอร์ชันปัจจุบันของ Gemini คือ 1.5 เปิดตัวครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2024
เว็บไซต์ The Verge รายงานข่าวจากแวดวงว่า OpenAI เตรียมเปิดตัวโมเดลเวอร์ชันสำคัญตัวใหม่โค้ดเนม Orion ในเดือนธันวาคมนี้ แต่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า GPT-5 หรือไม่
ตามข่าวบอกว่าในช่วงแรกๆ Orion จะยังไม่เปิดให้ใช้งานทั่วไปผ่าน ChatGPT แบบที่แล้วๆ มา แต่จะเปิดให้บริษัทพาร์ทเนอร์ใกล้ชิดลองใช้งานก่อน เพื่อนำ Orion ไปใช้กับผลิตภัณฑ์ของพาร์ทเนอร์เอง ตัวอย่างคือไมโครซอฟท์จะเริ่มโฮสต์ Orion บนระบบ Azure ในเดือนพฤศจิกายน "เป็นอย่างเร็ว"
The New York Times รายงานว่าเมื่อปี 2005 หรือประมาณ 19 ปีก่อน Paul Otellini ซีอีโอของอินเทล ณตอนนั้น เคยคิดจะซื้อกิจการ NVIDIA ในราคา 2 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่แนวคิดนี้ถูกบอร์ดของอินเทลปัดตกไป
แนวคิดของ Otellini ในตอนนั้นคืออยากซื้อ NVIDIA เพื่อไปทำจีพียูสำหรับศูนย์ข้อมูล ซึ่งในเวลานั้นเพิ่งเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม บอร์ดของอินเทลมองว่าราคา 2 หมื่นล้านดอลลาร์นั้นแพงไป และบอร์ดมองว่าควรพัฒนาจีพียูขึ้นเองมากกว่า ซึ่งก็คือโครงการ Larrabee ที่นำทีมโดย Pat Gelsinger ซีอีโอคนปัจจุบันของอินเทล ก่อนที่เขาจะลาออกจากอินเทลในปี 2009
กูเกิลอัพเดต Google Calendar เวอร์ชันเว็บเป็นธีม Material Design 3 หน้าตาดู "กลม" มากขึ้น ปรับมาใช้ฟอนต์เฉพาะของกูเกิลเอง และมีของใหม่คือรองรับ Dark Mode แล้ว สามารถกดสลับเองได้ หรือตั้งค่าให้เลือกตามค่าของระบบปฏิบัติการก็ได้
หน้าเว็บ Google Calendar เวอร์ชันใหม่ทยอยเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปใช้งานแล้ว ทั้งบัญชีแบบองค์กรและบัญชีส่วนตัว (ลองกับบัญชีตัวเองก็ได้แล้ว)
ที่มา - Google Workspace
ปริศนาคาใจของเกม Final Fantasy VII ยาวนาน 27 ปี (เกมออกปี 1997) ถูกแก้ได้แล้ว เมื่อมีเกมเมอร์รายหนึ่งพบวิธีทำให้ Aerith ไม่ตายได้สำเร็จ
เกมเมอร์ที่ค้นพบช่องทางนี้เป็นผู้เล่นเกมแบบ speedrunner หาวิธีให้เกมจบเร็วที่สุด ชื่อว่า AceZephyr และ Kuma ค้นพบบั๊กของเกม FF7 ภาคต้นฉบับ ที่เปิดให้ผู้เล่นสามารถเดินจากเมืองแรก Midgar ไปยังเมือง Forgotten Capital ในทวีปอื่นได้ทันที (เดินตัดใต้ทะเล ข้ามภูเขาไปได้ดื้อๆ) ทำให้สามารถข้ามเนื้อเรื่องส่วนที่ Aerith ออกจากปาร์ตี้ไปได้ ส่งผลให้ Aerith ยังอยู่ในปาร์ตี้ได้ต่อไป แถมยังเห็นตัวเองโดน Sephiroth ฆ่าในคัตซีนได้ด้วย (คัตซีนเหมือนเดิม แต่ Aerith ยังอยู่ในปาร์ตี้)
เว็บเบราว์เซอร์ Vivaldi ออกเวอร์ชัน 7.0 ทิ้งช่วงห่างจากเวอร์ชัน 6.0 ประมาณครึ่งปี
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Vivaldi 7.0 คือหน้าตาใหม่หมด สังเกตได้ชัดจากแท็บแบบ "เกาะ" ลอยจากพื้นหลัง (floating tabs) ภาพรวมดีไซน์ดูกว้าง มีพื้นที่ระหว่างปุ่มมากขึ้น (ปรับค่าเป็น compact เองได้ถ้าต้องการ) วาดไอคอนปุ่มต่างๆ ใหม่ทั้งหมด
นอกจากหน้าตาใหม่แล้ว Vivaldi 7.0 ยังเพิ่มฟีเจอร์ Dashboard รวบรวมข้อมูลทุกอย่างของเบราว์เซอร์ลง widget จัดไว้ในหน้าเดียวกัน เช่น ปฏิทิน ตารางนัดหมาย โน้ตและงานที่จดไว้ รวมถึงข่าวจาก Feed Reader ด้วย widget ทั้งหมดสามารถจัดตำแหน่งได้ตามใจชอบ
ฟีเจอร์อื่นของเวอร์ชัน 7.0 คือ
ประเด็นถกเถียงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ Overwatch คงหนีไม่พ้นเรื่องเกมเพลย์แบบทีม 6v6 (ภาค 1) หรือ 5v5 (ภาค 2) ซึ่งความเห็นแยกเป็น 2 ฝั่งชัดเจน
แม้ว่า Overwatch 2 ปรับรูปแบบเกมมาเป็น 5v5 ตามสมัยนิยม แต่ก็มีแฟนรุ่นเก่าๆ เรียกร้องให้กลับมาทำ 6v6 อยู่เสมอ จนเมื่อไม่นานมานี้ Aaron Keller ผู้กำกับเกมได้ออกมาเขียนโพสต์อธิบายเหตุผลที่ตัดสินใจทำ 5v5 ว่าช่วยให้เกมกระชับขึ้น คุณภาพของแมตช์ไม่แกว่งมากเท่า 6v6 แถมผู้ชมยังติดตามดูได้ง่ายกว่า เพราะจำนวนผู้เล่นในแมตช์น้อยกว่า แต่เขาก็บอกว่ายินดีกลับมาทดสอบเกมแบบ 6v6 ว่าจะได้ผลออกมาเป็นอย่างไร
Meta ปล่อยโมเดล Llama 3.2 รุ่นเล็ก ขนาดพารามิเตอร์ 1B และ 3B แบบลดขนาดโมเดลลงจากปกติ (quantized) ตั้งใจทำมาให้เล็กจนรันในอุปกรณ์พกพาได้ และเพิ่มความเร็วในการตอบคำถาม
ก่อนหน้านี้ Meta มี Llama 3.2 ขนาดพารามิเตอร์ 1B/3B อยู่แล้ว รอบนี้เป็นเวอร์ชันลดขนาดโมเดลลงได้อีก 56% (โมเดลรุ่น 1B ลดเหลือประมาณ GB จากขนาดเดิม 2.3GB) โดยยังคงคุณภาพและความปลอดภัยในระดับใกล้เคียงโมเดลต้นฉบับ ขนาดโมเดลที่ลดลงทำให้ลดหน่วยความจำที่ต้องใช้ลงได้ 41% และเพิ่มความเร็วได้ 2-4 เท่า
Meta จับมือกับผู้ผลิตชิปมือถือรายใหญ่ทั้ง MediaTek และ Qualcomm ให้รองรับโมเดลรุ่นนี้บนซีพียู Arm แล้ว และกำลังพัฒนาให้รองรับการใช้งานบน NPU ต่อไป
Google DeepMind เปิดซอร์สโค้ด SynthID Text ตัวช่วยสร้างลายน้ำเพื่อบอกว่าข้อความสร้างด้วย AI เพื่อนำไปใช้ตรวจสอบได้ในอนาคต
Google DeepMind มี SynthID สำหรับทำลายน้ำลงในภาพ AI อยู่ก่อนแล้ว กรณีของภาพ ทุกคนคงนึกออกว่าการแทรกลายน้ำที่แยกด้วยสายตามนุษย์ไม่เห็นคงทำได้ไม่ยากนัก เพราะในหนึ่งภาพมีปริมาณข้อมูลอยู่มาก การแทรกลายน้ำเพิ่มไปอีกหน่อยคงไม่ใช่เรื่องยาก แต่เมื่อต้องใส่ลายน้ำลงในข้อความ text ล้วนๆ จะทำอย่างไร
SynthID Text ใช้หลักการว่า โมเดลภาษา LLM คือ "เครื่องพ่นคำ" คาดเดาคำถัดไปจากความน่าจะเป็น โดยคำหรือ token ที่มีค่าความน่าจะเป็นสูงสุดจะถูกคัดเลือกออกมาเป็นผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็น
คนในแวดวง AI คงรู้จักบริษัท Hugging Face ในฐานะศูนย์รวมคลังโมเดลขนาดใหญ่ (มีโมเดลเกิน 1 ล้านตัวแล้ว) วิธีการหารายได้ของ Hugging Face ที่ผ่านมาคือการให้เช่าเซิร์ฟเวอร์สำหรับเทรน-ปรับแต่ง-รันโมเดลเหล่านี้ได้ทันที
คราวนี้ Hugging Face ขยายโมเดลธุรกิจของตัวเอง โดยนำซอฟต์แวร์ที่ใช้รันโมเดลข้างต้น เปิดให้ลูกค้าเช่าใช้งานซอฟต์แวร์นี้บนระบบไอทีของตัวเองได้ด้วย ใช้ชื่อว่า Hugging Face Generative AI Services หรือตัวย่อ HUGS
Warner Bros. Discovery ประกาศราคาของ Max หรือ HBO Max ในไทยอย่างเป็นทางการ หลังออกข่าวว่าจะเปิดบริการอย่างเป็นทางการในไทย 19 พฤศจิกายน 2567
ค่าย JetBrains มีบริการใช้ AI ช่วยเขียนโค้ดชื่อ JetBrains AI Assistant ประมวลผลที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2023 โดยใช้โมเดลภาษาจากหลายค่ายผสมกัน ที่เคยระบุชื่อไว้คือจาก OpenAI และ Google LLM
ล่าสุด JetBrains เปิดตัวโมเดลภาษาของตัวเองชื่อ Mellum ที่บอกว่าสร้างมาเพื่องานช่วยเติมโค้ด (code completion) โดยเฉพาะ เมื่อเป็นโมเดลสำหรับงานเขียนโค้ดอย่างเดียว ทำให้โมเดลมีขนาดเล็ก ช่วยเติมโค้ดได้เร็วกว่าโมเดลภาษาอื่นๆ ในท้องตลาด
Mishaal Rahman บล็อกเกอร์สาย Android ชื่อดัง อ้างแหล่งข้อมูลในกูเกิล ว่ากูเกิลกำลังมีโครงการใหม่ที่ช่วยให้อุปกรณ์ Android ทั่วๆ ไปสามารถอัพเดตได้ยาวนาน 7 ปี
โครงการนี้มีชื่อเรียกว่า Google Requirements Freeze (GRF) เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2020 เพื่อแก้ปัญหาที่ว่าผู้ผลิตชิป (เช่น Qualcomm หรือ MediaTek) ไม่อยากอัพเดตซอฟต์แวร์ของตัวเองให้ใช้กับ Android เวอร์ชันใหม่ๆ ส่งผลให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM ไม่สามารถอัพเดตระบบปฏิบัติการตามได้ แม้ต้องการทำก็ตาม
GRF เป็นการผ่อนคลายเงื่อนไขว่า ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM สามารถอัพเดตระบบปฏิบัติการ โดยยังใช้ซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตชิปเวอร์ชันเดิมได้ ("freeze") ช่วยให้การออกอัพเดตง่ายขึ้น ก่อนหน้านี้โครงการ GRF กำหนดให้ผู้ผลิตชิปต้องซัพพอร์ตซอฟต์แวร์นาน 3 ปี
Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ยอมรับว่าชิป Blackwell มีปัญหาเรื่องการออกแบบจริงๆ ตามข่าวลือก่อนหน้านี้ ทำให้ต้องเลื่อนการส่งมอบออกไป
Huang ให้ข้อมูลว่ามันเป็นข้อบกพร่องของการออกแบบชิป ทำให้อัตราการผลิตสำเร็จ (yield) ต่ำลง ปัญหานี้เกิดจากฝั่ง NVIDIA 100% แต่บริษัทก็ร่วมมือกับ TSMC ช่วยกันแก้ปัญหานี้ได้สำเร็จแล้ว ตอนนี้ TSMC สามารถกลับมาผลิต Blackwell ได้เต็มกำลัง และจะเริ่มส่งมอบสินค้าได้ในไตรมาส 4 ปีนี้
Huang อธิบายว่า Blackwell มีความซับซ้อนสูง ต้องใช้ชิปย่อย 7 ตัวทำงานร่วมกัน และต้องเริ่มกระบวนการผลิตชิปพร้อมๆ กันด้วย ขนาดของตัวชิปนั้นใหญ่ขึ้นกว่าชิปรุ่นก่อนหน้ามาก
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้กับแอพส่งข้อความ Google Messages ให้ป้องกันข้อความหลอกลวง (scam) ดีขึ้นกว่าเดิม
ความคืบหน้าของคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัท Arm Holding Plc กับ Qualcomm ที่ Arm มองว่า Qualcomm ทำผิดไลเซนส์การใช้งานสถาปัตยกรรม Arm โดยนำไลเซนส์ของบริษัทลูก Nuvia มาใช้กับบริษัทแม่ Qualcomm ด้วย ซึ่ง Arm มองว่าไม่สามารถทำแบบนั้นได้
Huawei เปิดตัวระบบปฏิบัติการ HarmonyOS Next เวอร์ชัน 5.0 อย่างเป็นทางการ ความสำคัญคือมันเป็น HarmonyOS รุ่นแรกที่ไม่รองรับการรันแอพจาก Android แล้ว
หน้าตาของ HarmonyOS Next 5.0 ไม่ได้ต่างจากเวอร์ชันก่อนๆ มากนัก ยังคงเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือและแท็บเล็ต สิ่งที่เพิ่มมาเป็นลูกเล่นอย่าง dynamic wallpaper, การปรับแต่ง lockscreen ตามสภาพอากาศ มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยที่เรียกว่า Star Shield, ปรับปรุงประสิทธิภาพและการทำงานของแบตเตอรี่ เป็นต้น
คู่มากับการเปิดตัวชิป Snapdragon Ride/Cockpit Elite สำหรับรถยนต์ Qualcomm ยังประกาศความร่วมมือกับกูเกิล พัฒนาระบบแสดงผลในหน้าจอรถยนต์ (digital cockpit) ร่วมกัน
ฝั่ง Qualcomm มีแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์สำหรับรถยนต์ที่เรียกรวมๆ ว่า Snapdragon Digital Chassis (มีทั้ง Ride, Cockpit และส่วนอื่นๆ) ส่วนกูเกิลมีระบบปฏิบัติการรถยนต์ Android Automotive OS (AAOS) ภายใต้ข้อตกลงนี้ ทั้งสองบริษัทจะร่วมมือกันให้ฝั่งฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น อัพเกรดง่ายขึ้น ส่งข้อมูลจากรถยนต์ขึ้นคลาวด์สะดวก กลายเป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานสำหรับบริษัทรถยนต์นำไปใช้ต่อได้ง่าย
งานสัมมนาประจำปีของ Qualcomm รอบนี้่ นอกจากการเปิดตัว Snapdragon 8 Elite สำหรับสมาร์ทโฟน ยังมีการเปิดตัว Snapdragon Cockpit Elite และ Snapdragon Ride Elite สำหรับตลาดรถยนต์ด้วย (เมื่อรวมกับ Snapdragon X Elite สำหรับพีซีแล้ว ทุกอย่างล้วนเป็น Elite)
Qualcomm เจาะตลาดชิปสำหรับรถยนต์มานานพอสมควรแล้ว อย่าง Snapdragon Ride ชิปสำหรับรถยนต์ไร้คนขับ เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2020 และ Snapdragon Cockpit สำหรับแสดงผลในจอรถยนต์ เริ่มทำปี 2022
IBM เปิดตัวโมเดล Granite เวอร์ชัน 3.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชันอัพเดตจาก Granite 1.0 ที่เปิดตัวเมื่อเดือนพฤษภาคม
Granite เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ที่เปิดเป็นโอเพนซอร์สใต้สัญญาอนุญาตแบบเปิดกว้าง Apache 2.0 ชูจุดเด่นด้านประสิทธิภาพสูงกว่าหรือเทียบเท่าโมเดล LLM โอเพนซอร์สหรือเชิงพาณิชย์
Granite 3.0 มีให้เลือก 2 ขนาดพารามิเตอร์คือ 2B และ 8B โดย IBM โชว์เบนช์มาร์คคะแนน Hugging Face OpenLLM Leaderboard ว่าสามารถเอาชนะโมเดลโอเพนซอร์สขนาดใกล้เคียงกันอย่าง Llama 3.1 8B และ Mistral 7B
จดหมายข่าววงการเกม Game File รายงานข่าวว่า Netflix สั่งปิดสตูดิโอพัฒนาเกมระดับ AAA ในรัฐแคลิฟอร์เนียแล้ว โดยยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน
สตูดิโอแห่งนี้ไม่มีชื่อเรียก แค่มีโค้ดเนมภายในว่า Team Blue ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย สตูดิโอเกมแห่งนี้เคยมีข่าวได้นักพัฒนาเกมชื่อดังๆ มาร่วมทีมหลายคน เช่น Chacko Sonny อดีตโปรดิวเซอร์ของ Overwatch มาเป็นหัวหน้าสตูดิโอ, Rafael Grassetti หัวหน้าฝ่ายศิลป์ของ God of War และ Joseph Staten หัวหน้าทีมครีเอทีฟของ Halo ที่เข้ามาร่วมทีมเมื่อปี 2023 แต่หลังจากนั้น ข่าวของสตูดิโอแห่งนี้ก็เงียบหายไป ล่าสุดคือทั้งสามคนไม่ได้อยู่กับสตูดิโอแห่งนี้แล้ว
จากข่าว Qualcomm เปิดตัวชิป Snapdragon 8 Elite ที่คุยว่าเป็นชิปมือถือที่แรงที่สุดในตอนนี้
เว็บไซต์ Android Authority ได้ตัวเลขเบนช์มาร์คจาก Qualcomm ที่รันทดสอบกับมือถือรุ่นต้นแบบ (reference smartphone) ทำให้เราพอได้มองเห็นภาพกันว่า Snapdragon 8 Elite มีสมรรถนะแค่ไหน
การทดสอบ Geekbench 6 พบว่า Snapdragon 8 Elite ได้คะแนนแบบคอร์เดี่ยวน้อยกว่า Apple A18 Pro เล็กน้อย (ประมาณ 4%) แต่ชิปทั้งสองตัวก็นำหน้าชิปอื่นในท้องตลาดไปไกล ส่วนคะแนนมัลติคอร์นั้น Snapdragon 8 Elite เอาชนะ A18 Pro ได้เยอะถึง 27% ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากจำนวนคอร์ประสิทธิภาพสูงของ Snapdragon 8 Elite มีเยอะกว่า (6 คอร์ เทียบกับของ A18 Pro มี 4 คอร์)