Canonical ประกาศนโยบายรีวิวทุกแพ็กเกจที่ส่งเข้าระบบ Snap Store หรือรู้จักกันในชื่อ Snapcraft (สำหรับใช้ใน Ubuntu) ด้วยมนุษย์ หลังจากถูกโจมตีด้วยการส่งแพ็กเกจแอพ crypto wallet ปลอมเข้ามาในระบบ และมีผู้ใช้ถูกขโมยเหรียญคริปโตไปบ้างแล้ว
การลงทะเบียนแพ็กเกจ snap ใหม่จำเป็นต้องกรอกฟอร์ม อธิบายรูปแบบการทำงานของแพ็กเกจ และรอการรีวิวจากวิศวกรของ Canonical ก่อน (ใช้เวลา 2 วันทำการ) เมื่อผ่านแล้วจึงสามารถส่งแพ็กเกจเข้าระบบได้
การโจมตีคลังซอฟต์แวร์ยอดนิยมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง โดยเคสล่าสุดคือ PyPI ถึงขั้นต้องปิดรับแพ็กเกจใหม่ชั่วคราว และคลังอื่นๆ อย่าง GitHub, RubyGems, npm ก็เจอปัญหาแบบนี้กันถ้วนหน้า
Seang Chau ผู้บริหารตำแหน่ง VP of Devices & Services Software ของกูเกิล ออกรายการ Made by Google Podcast อธิบายเหตุผลที่ Pixel ยืดระยะเวลาซัพพอร์ตซอฟต์แวร์เป็น 7 ปี
Chau บอว่าสถิติของกูเกิลเองพบว่าคนที่ใช้มือถือรุ่นเก่าๆ นานๆ มักเปลี่ยนเครื่องตอนอายุ 7 ปีพอดี ตัวอย่างคือยังมีคนใช้ Google Pixel 1 ที่ออกในปี 2016 อยู่เลย แต่พอเครื่องมีอายุราว 7 ปี สถิติการใช้งานจะลดลงอย่างมาก จึงตัดสินใจเลือกซัพพอร์ตมือถือนาน 7 ปี
กูเกิลเขียนโพสต์ประกาศควบรวมเฟรมเวิร์ค Angular และ Wiz อย่างเป็นทางการ หลังประกาศไปก่อนหน้านี้บนเวทีงาน NG Conf 2024
คนทั่วไปรู้จัก Angular กันอยู่แล้ว แต่ Wiz เป็นเฟรมเวิร์คที่ใช้กันเฉพาะภายในกูเกิลเองเท่านั้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้งาน Wiz อยู่แล้วมีทั้ง Google Search, Google Photos, Google Payments รูปแบบการทำงานของ Wiz คือเรนเดอร์หน้าเพจที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (server-side rendering) แล้ว "สตรีม" เพจมายังเครื่องของผู้ใช้ เพื่อลดการเรนเดอร์ JavaScript ที่ฝั่งไคลเอนต์ให้มากที่สุด
Telegram ประกาศว่าผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนบัญชีปัจจุบันให้เป็นบัญชีธุรกิจ (Business account) ทำให้สามารถใช้งานฟีเจอร์เฉพาะของบัญชีธุรกิจได้ เช่น ตั้งค่าเวลาเปิดบริการ, พิกัดธุรกิจ, ระบบตอบอัตโนมัติ, แชทบอต และอื่น ๆ
การเปลี่ยนเป็นบัญชีธุรกิจนี้รองรับทั้งผู้ใช้งานแบบฟรี และแบบพรีเมียมจ่ายเงินรายเดือน ดูรายละเอียดได้ที่ Settings > Telegram Business
ฟีเจอร์อื่นที่มีในบัญชีธุรกิจได้แก่ ตั้งค่าหน้าแรก, ตั้งข้อความทักทายลูกค้า, ตั้งแต่ค่า Away, ใส่ป้ายกำกับข้อความ, ใส่ลิงก์ไปยังแชท ซึ่งจะมีฟีเจอร์อื่นเพิ่มเติมอีกในอนาคต
ที่มา: Telegram
กูเกิลตกลงยอมความยุติคดีที่ผู้ใช้งานฟ้องร้องแบบกลุ่ม ระบุว่ากูเกิลเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน Chrome แม้อยู่ในโหมดไม่ระบุตัวตนหรือ Incognito โดยบอกว่าการสื่อสารของกูเกิลทำให้พวกเขาเข้าใจว่าไม่มีการเก็บข้อมูลใด ๆ ซึ่งกูเกิลบอกว่าข้อมูลที่ไม่เก็บคือประวัติในอุปกรณ์หรือเบราว์เซอร์ แต่กูเกิลอาจรวบรวมข้อมูลกิจกรรมไว้
ประเด็นหนึ่งของการยอมความนี้ กูเกิลตกลงที่จะทำลายข้อมูลซึ่งในการฟ้องร้องระบุว่า ถูกเก็บรวบรวมอย่างไม่ถูกต้องก่อนหน้านี้ตั้งแต่มิถุนายน 2016 จำนวนข้อมูลนั้นคาดว่ามีระดับหลายพันล้านชุดข้อมูล ซึ่งปัจจุบันกูเกิลแจ้งทางเลือกการเก็บข้อมูลไว้แล้วใน Settings ของ Chrome
OpenAI ประกาศว่า ChatGPT สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องล็อกอินด้วยบัญชี OpenAI มีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยจะทยอยอัปเดตกับผู้ใช้งานทั่วโลก
ทั้งนี้ในการใช้งาน ChatGPT แม้อยู่ในโหมดไม่ล็อกอิน OpenAI อาจใช้ข้อมูลที่ป้อนเข้ามาไปปรับปรุงโมเดล ซึ่งหากผู้ใช้งานไม่ต้องการ สามารถตั้งค่าปิดการเก็บข้อมูลนี้ได้ใน Settings
ความแตกต่างของการใช้งาน ChatGPT โหมดไม่ล็อกอิน จะไม่สามารถบันทึกหรือดูบทสนทนาย้อนหลังได้ รวมทั้งบางฟีเจอร์เช่น สนทนาเสียง หรือคัสตอมคำสั่ง จะไม่สามารถใช้งานได้
ที่มา: OpenAI
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับวัน April Fool's ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งยังคงหาแก๊กมาอำคนอ่านกันต่อไป แม้หลายบริษัทเช่น Google ที่ยืนเด่นต่อเนื่องมานานจะประกาศหยุดการเล่นมุก April Fool's ไปแบบไม่มีกำหนด
รวบรวมแก๊กและไอเดียที่น่าสนใจมาไว้แล้วดังนี้
Cyberpunk 2077 ขายแผ่นเกมเวอร์ชันพิเศษผลิตจำนวนจำกัด Cyberpunk 2077 Floppy Edition เพื่อให้ผู้เล่นได้ย้อนกลับไปวันวานที่ถอดสลับแผ่นดิสก์กันวนไป ในเซตมีดิสก์ 3.5 นิ้ว 97,619 แผ่น กดสั่งดูรายละเอียดได้ที่นี่ cp2077.ly/FloppyEdition
ไมโครซอฟท์มีแผนขาย Microsoft 365 ที่ไม่พ่วง Teams มาให้ โดยจะขายแยกต่างหาก มีผลกับผู้ใช้งานทั่วโลก หลังจากไมโครซอฟท์ขาย Microsoft 365 ในรูปแบบดังกล่าวกับกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (EU) เพื่อเลี่ยงข้อกล่าวหาผูกขาด
ก่อนหน้านี้ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ไมโครซอฟท์ถูก Slack ร้องเรียนเรื่องการผูกขาด จากการพ่วง Teams มาใน Microsoft 365 ซึ่ง EU ก็ประกาศเริ่มสอบสวนกรณีดังกล่าวเมื่อกรกฎาคมปีที่แล้ว แต่ไมโครซอฟท์ก็ตัดสินใจเพิ่ม Microsoft 365 แบบขายแยก Teams ในเดือนถัดมา แต่มีผลเฉพาะในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป
Capcom ออกแบบสอบถามชุด Super Elections บนเว็บไซต์ถามแฟนเกมทั่วโลกจำนวน 10 คำถามเกี่ยวกับเกมภาคต่อที่แฟน ๆ อยากให้สร้างต่อ ซึ่งสามารถเข้าไปโหวตได้จนถึงวันที่ 12 เมษายนนี้ โดย Capcom ได้แชร์ Word Cloud ที่แสดงว่าชื่อเกมใดปรากฏบ่อยที่สุดในคำตอบของการสำรวจ
จากข้อมูลที่ปรากฏใน Word Cloud ณ ปัจจุบันเผยว่าเกม Dino Crisis และ Mega Man (Rockman) ได้อันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ ส่วนเกมอื่น ๆ ที่แฟน ๆ อยากได้ภาคต่อรองลงมาคือเกม Ace Attorney, Resident Evil, Onimusha, Devil May Cry, Darkstalkers, Okami และ Breath of Fire โดยมีตัวอย่างคำถามที่มุ่งเป้าที่ไปที่เกมภาคต่อ และเกมรีเมคดังนี้
คุณภาพชีวิตทางการเงิน เป็นปัจจัยสำคัญในระยะยาวของชีวิตหลังเข้าสู่วัยทำงาน ที่ใครหลายคนอาจละเลย ไม่ได้สนใจหรือไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจมากเพียงพอ ซึ่งหากอยู่ในวัยทำงาน การได้รับการสนับสนุนและได้องค์ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้จากองค์กรที่ทำงาน ก็น่าจะเป็นหนึ่งในประโยชน์ดีๆ ที่ติดตัวไปตลอด
Koei Tecmo บริษัทโฮลดิ้งที่ถือบริษัทเกมจำนวนมาก เช่น Team Ninja ผู้สร้าง Dead or Alive, Omega Force ผู้สร้าง Dynasty Warriors ประกาศแผนปรับโครงสร้างองค์กร โดยมีการตั้งสตูดิโอพัฒนาเกมใหม่อีก 1 สตูดิโอเพื่อเน้นผลิตเกมระดับ AAA
สตูดิโอใหม่นี้ยังไม่มีชื่อแต่จะได้ Yosuke Hayashi โปรดิวเซอร์ผู้เคยมีผลงานกับเกม Dead or Alive, Ninja Gaiden, Nioh, Fatal Frame, Hyrule Warriors และ Metroid: Other M มาดูแล และควบตำแหน่งรองประธานบริหารของแผนกบันเทิงของ Koei Tecmo
ผลงานล่าสุดของ Koei Tecmo คือเกม Rise of the Ronin พัฒนาโดย Team Ninja สตูดิโอผู้สร้าง Nioh และ Ninja Gaiden จัดจำหน่ายโดย PlayStation ลงให้กับเครื่อง PS5 เท่านั้น
Jim Ryan ซีอีโอของ PlayStation ที่เพิ่งเกษียณจากตำแหน่งให้สัมภาษณ์กับ PlayStation Podcast ตอนที่ 481 เพื่อบอกลาทีมงาน PlayStation และพูดถึงสถานะของแแบรนด์ในตอนนี้
Jim กล่าวว่า PlayStation กำลังอยู่ในจุดสูงสุด ในขณะที่ PlayStation 5 กำลังมุ่งหน้าไปสู่การเป็นเครื่องเกมคอนโซลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ PlayStation ในหลายแง่มุม แล้วเกมจาก PlayStation Studios นั้นให้ประสบการณ์การเล่นที่ดีที่สุด และยังบอกอีกว่าเกมที่วางจำหน่ายในยุค PS5 มีจำนวนเยอะที่สุดเท่าที่เคยมีมาแล้ว
ในระหว่างการประชุมทางเศรษฐกิจ และสังคมของรัสเซีย มีรายงานว่าประธานาธิบดี Vladimir Putin ได้สั่งให้รัฐบาลรัสเซียพิจารณาการผลิต และพัฒนาเครื่องเกมคอนโซลของรัสเซียเอง โดยให้ชั่งน้ำหนักข้อกำหนดสำหรับการจัดระเบียบการผลิตเครื่องเล่นเกมคอนโซลทั้งแบบอยู่กับที่และพกพาในรัสเซีย ภายใน 15 มิถุนายน 2024
ส่วนหนึ่งของคำสั่ง Putin ยังเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาการพัฒนาระบบปฏิบัติการ และระบบคลาวด์เพื่อส่งมอบเกมให้กับผู้เล่น ซึ่งคำสั่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกมของรัสเซียขึ้นมาเอง
Xiaomi เปิดให้ลูกค้าในจีนสั่งของรถยนต์ไฟฟ้าตัวแรก SU7 ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสถานการณ์ล่าสุดในแอปสั่งจองระบุว่าในรถยนต์บางรุ่น จะต้องรอนานถึง 7 เดือน จึงอาจสะท้อนความต้องการที่สูงกว่ากำลังผลิตตอนนี้
โดยรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น SU7 ตัวมาตรฐาน ตอนนี้ต้องรอ 18-21 สัปดาห์, SU7 Pro รอ 18-21 สัปดาห์ ขณะที่รุ่นท็อป SU7 Max รอ 27-30 สัปดาห์
Xiaomi ยังทำการตลาดเพื่อดึงดูดให้คนจองเป็นกลุ่มแรก โดย 5,000 คันแรก จะเป็นรถรุ่นพิเศษ Founder's Edition และได้ของแถมเช่นตู้เย็น แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีคำสั่งซื้อมากถึง 50,000 คัน ใน 27 นาที ทำให้ซีอีโอ Lei Jun บอกว่า Xiaomi อาจเปิดขาย Founder's Edition อีกรอบเพิ่มเติม
GSMArena สัมภาษณ์ Nicholas Porter ผู้บริหารซัมซุง และสอบถามว่าทำไมซัมซุงถึงตัดสินใจขยายระยะเวลาซัพพอร์ตสมาร์ทโฟนเป็น 7 ปี
คำตอบของ Porter คือจากสถิติของซัมซุงเองพบว่าผู้บริโภคยุคนี้มีแนวโน้มใช้งานสมาร์ทโฟนเครื่องเดิมยาวนานขึ้น ทำให้บริษัทต้องขยายระยะเวลาซัพพอร์ตให้นานขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม บริษัทยังพบว่าถึงแม้มีผู้ซื้อกลุ่มไม่ได้สนใจเรื่องระยะเวลาซัพพอร์ต ก็ยังได้ประโยชน์จากความปลอดภัยและประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น ลื่นไหลต่อเนื่องในระยะยาวด้วยเช่นกัน
นโยบายของซัมซุงให้ซัพพอร์ตนาน 7 สำหรับมือถือกลุ่มเรือธง (ตอนนี้ยังมีเฉพาะ S24 แต่น่าจะรวมถึง Z Flip/Fold 6 ด้วย) ส่วนมือถือกลุ่ม Galaxy A Series ได้ระยะซัพพอร์ตนาน 5 ปี
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ Copilot ให้กับ Microsoft Teams โดยเป็นการอัพเกรดฟีเจอร์ชุดใหญ่รอบที่สอง หลังเพิ่ม Copilot เข้ามาใน Teams ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2023
Copilot in meetings เพิ่มการสรุปแชทในห้องประชุม นอกเหนือจากการถอดเสียงการประชุม (transcript) ที่มีอยู่เดิมแล้ว ช่วยเก็บรายละเอียดของการประชุมได้ครบถ้วนทุกประเด็น หากในห้องมีทั้งคนคุยเสียงและแชทคุยกัน ฟีเจอร์นี้จะเปิดใช้ในเดือนพฤษภาคม
Won-joon Choi ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจมือถือของซัมซุง ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ยอมรับว่าผู้ช่วยส่วนตัว Bixby จำเป็นต้องอัพเกรดให้มีความสามารถด้าน generative AI และ LLM เพิ่มมากขึ้น มีความฉลาดขึ้น สนทนาได้เป็นธรรมชาติขึ้นกว่าเดิม
Choi บอกว่าปัจจุบัน Bixby ถือเป็นระบบสั่งงานด้วยเสียงใน ecosystem ของซัมซุง ไม่ใช่แค่สมาร์ทโฟน แต่ครอบคลุมไปยังสมาร์ททีวี และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ด้วย เขาบอกคร่าวๆ เพียงว่าทีมพัฒนาของซัมซุงกำลังทำงานอย่างหนักเพื่ออัพเกรดความสามารถนี้ แต่ยังไม่ประกาศว่าจะได้เห็นกันเมื่อไร
ที่มา - CNBC
1 เมษายน 2004 หรือวันนี้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็นวันแรกที่กูเกิลเปิดตัว Gmail ฟรีอีเมลที่มาพร้อมแนวคิดใหม่ และส่งผลต่อบริการฟรีอีเมลในปัจจุบัน ในเวลานั้น Gmail เปิดตัวพร้อมกับพื้นที่ 1GB ต่ออีเมล ขณะที่เวลานั้นผู้ให้บริการหลักอย่างไมโครซอฟท์หรือยาฮู ให้เนื้อที่ระดับ 20-50MB เท่านั้น
Gmail ยังออกแบบการใช้งานใหม่ ด้วยการใช้วิธีค้นหาอีเมลที่ต้องการ ไม่เน้นการเรียงอีเมลตามลำดับเวลา และรวมอีเมลที่เป็นหัวข้อเดียวกันต่อเป็นเธรด ตามที่ Marissa Mayer อดีตซีอีโอยาฮู ที่เป็นผู้บริหารกูเกิลและร่วมออกแบบ Gmail เวลานั้นบอกว่า Gmail ประกอบด้วย 3S คือ Storage, Search และ Speed
AT&T โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐ รายงานเหตุข้อมูลรั่วไหลกระทบลูกค้าปัจจุบันและอดีตรวม 73 ล้านคน หลังจากมีรายงานการพบข้อมูลถูกโพสต์ใน Dark Web เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว
AT&T บอกว่าจากการสอบสวนล่าสุด ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าข้อมูลชุดนี้หลุดออกมาจาก AT&T เอง หรือจากเวนเดอร์ของบริษัท ข้อมูลที่หลุดออกมาเป็นข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า ซึ่งรวมทั้งหมายเลข Social Security เป็นข้อมูลช่วงปี 2019 หรือก่อนหน้านั้น เป็นบัญชีลูกค้า AT&T ที่ใช้งานปัจจุบัน 7.6 ล้านคน และเป็นบัญชีที่ไม่มีการใช้งานแล้ว 65.4 ล้านคน
การสอบสวนล่าสุดระบุว่ายังไม่มีข้อมูลว่าเหตุการณ์ใดทำให้ข้อมูลนี้หลุดออกมาได้ ซึ่ง AT&T จะรายงานผลการสอบสวนเพิ่มเติมต่อไป
AI Pin อุปกรณ์ติดเสื้อผ้า ที่ทำงานสั่งการบนแนวคิดใหม่ผ่าน AI ซึ่งเปิดตัวและสั่งจองตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ล่าสุดสินค้าเตรียมเริ่มส่งมอบลอตแรกกลางเดือนเมษายน Humane บริษัทผู้พัฒนา ซึ่งก่อตั้งโดยทีมอดีตพนักงานแอปเปิล เลยเริ่มเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมของอุปกรณ์นี้
สเป็กเพิ่มเติมของ Ai Pin มีกล้องหน้าแบบอัลตร้าไวด์ 13MP ในการถ่ายภาพนิ่งจะถ่ายโหมด burst 3 รูปต่อกัน เพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด พร้อมแก้ไขสีและปรับปรุงนอยส์ รองรับการเชื่อมต่อกับบริการ 3rd Party หลายตัว เช่น TIDAL สำหรับการฟังเพลง, Google contact และ Google Photos, Microsoft contacts และ iCloud contacts
The Wall Street Journal อ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Discord เตรียมเพิ่มการแสดงโฆษณาในแพลตฟอร์ม โดยมาในรูปแบบโปรโมชันจากผู้ผลิตวิดีโอเกม และได้ของรางวัลหากทำภารกิจที่กำหนด ทั้งหมดจะเกิดขึ้นระหว่างการแคสต์เกมนั้นบน Discord
ที่ผ่านมา Discord เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลที่ปฏิเสธโมเดลรายได้จากโฆษณามาโดยตลอด ซีอีโอ Jason Citron เคยบอกอยู่หลายครั้งว่าบริษัทไม่ต้องการพึ่งโฆษณาแบบ Facebook, Instagram หรือ TikTok อย่างไรก็ตามรายงานบอกว่า Discord ตอนนี้เปิดรับสมัครงานฝ่ายโฆษณาหลายสิบตำแหน่งแล้ว จึงอาจบอกได้ว่าแผนแสดงโฆษณาใน Discord อาจมีมากกว่านั้น
Infisical โครงการแพลตฟอร์มเก็บความลับ (secret management platform) แบบโอเพนซอร์ส รายงานถึงการย้ายระบบฐานข้อมูลจาก MongoDB มาเป็น PostgreSQL ว่าประสบความสำเร็จดีและทำให้การเซ็ตอัพโครงการใช้งานเองทำได้ง่ายขึ้น
ทางโครงการระบุว่าเลือก MongoDB พร้อมกับ Mongoose ORM เพราะทีมงานเคยชินกับ stack นี้ที่สุด และตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะมีผู้ใช้พยายามติดตั้งแพลตฟอร์มใช้งานเองมากนัก แต่หลังจากโครงการได้รับความนิยม MongoDB กลับเป็นคอขวดเนื่องจากฟีเจอร์สำคัญคือการทำ transaction จำเป็นต้องติดตั้งแบบคลัสเตอร์แบบโปรดักชั่นและคนที่เชี่ยวชาญการเซ็ตอัพ MongoDB ก็หาได้ยากกว่า ขณะที่ฝั่งนักพัฒนาเองหลายครั้งก็อยากได้ฟีเจอร์ฝั่ง SQL เช่น CASCADE ที่สามารถลบข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกไปพร้อมกันทีเดียวได้
HMS for Car เป็นโซลูชันในรถยนต์อัจฉริยะระดับโลกที่พัฒนาขึ้นโดยบริการเทอร์มินัลคลาวด์ของหัวเว่ย ซึ่งเปิดตัวในเดือนกันยายน 2563 มีเป้าหมายในการส่งเสริมยุคนวัตกรรมโซลูชันในรถยนต์สำหรับผู้ใช้ทั่วโลก HMS for Car ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานในรถยนต์ได้อย่างราบรื่นและสมบูรณ์แบบ โดยผ่าน สมรรถนะหลักที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การนำทางอัจฉริยะ การสั่งด้วยเสียงอัจฉริยะ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอัจฉริยะ และระบบนิเวศอัจฉริยะ
เราเห็น Amazon แก้ปัญหาเรื่องการขาดโมเดล LLM ความสามารถสูง ด้วยการลงทุน 4 พันล้านดอลลาร์ใน Anthropic เพื่อเข้าถึงการใช้งานโมเดล Claude ที่เวอร์ชันล่าสุดทำคะแนนได้ดีกว่า GPT-4
ถึงแม้เงินแก้ปัญหาในระยะสั้นได้ แต่ก็เกิดคำถามตามมา (ในหมู่พนักงานเองด้วย) ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับ Amazon ไม่มีศักยภาพสร้างโมเดล LLM ของตัวเองได้เลยหรือ (ปัจจุบัน Amazon มีโมเดลของตัวเองชื่อ Titan ให้ใช้งานบน AWS แม้ยังอาจสู้ Claude ไม่ได้ก็ตาม)
คนในแวดวงไอทีอาจรู้จักภาพ Lenna ที่นิยมใช้เป็นภาพทดสอบ image processing กันมายาวนาน ภาพต้นฉบับเป็นภาพถ่ายของนางแบบชาวสวีเดน Lena Forsén ในนิตยสาร Playboy ฉบับปี 1972 แล้วถูก Jamie Hutchinson อาจารย์ที่มหาวิทยาลัย University of Southern California หยิบมาใช้ในงานในเปเปอร์วิจัย เพราะเบื่อภาพถ่ายสต๊อกแบบเดิมๆ แล้ว แต่ก็ได้รับความนิยมและกลายเป็นมีมยุคก่อนอินเทอร์เน็ตที่ถูกใช้ต่อกันมาเรื่อยๆ