AMD ออกอัปเดต BIOS 1.2.0.2 สำหรับซีพียู Ryzen 5 9600X และ 9700X ซึ่งปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ค่า TDP เพิ่มขึ้นเป็น 105W จากเดิมสูงสุดที่ 65W ความเร็วจะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 10%
นอกจากนี้ AMD ยังอัปเดตปรับปรุงประสิทธิภาพความหน่วงระหว่างคอร์ของซีพียูตระกูล Ryzen 9000 แบบ Multi-CCD ซึ่งก่อนหน้านี้พบกรณีที่ทำให้ขั้นตอนเขียนอ่านใช้เวลานาน โดยปรับปรุงให้ลดเวลาลงครึ่งหนึ่ง
สุดท้าย AMD เปิดตัวเมนบอร์ดใหม่ X870 และ X870E รองรับความเร็วเต็มอัตราของ PCIe Gen 5 สำหรับกราฟิกและหน่วยความจำ NVMe มี USB4 เป็นมาตรฐาน
ที่มา: Engadget
Raspberry Pi เปิดตัวกล้อง Raspberry Pi AI Camera กล้องที่สามารถรันโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้ในโมดูลโดยตรง ทำให้ใส่ฟีเจอร์ประมวลผลภาพได้โดยโหลดซีพียู หรือหาการ์ดเร่งความเร็วปัญญาประดิษฐ์มาใส่อีก
ตัวโมดูลพัฒนาร่วมกับโซนี่ที่ช่วยพัฒนาโมดูลและซอฟต์แวร์สำหรับแปลงโมเดลปัญญาประดิษฐ์เข้าไปรัน ตอนนี้รองรับโมเดลทั้ง TensorFlow และ PyTorch ภายในโมดูลมีชิป RP2040 ช่วยจัดการคำสั่งการรันโมเดล เบื้องต้นมีโมเดลที่แปลงมาให้แล้วจำนวนหนึ่ง รองรับงานสามประเภท ได้แก่ การจัดหมวดหมู่รูปภาพ, การตรวจจับวัตถุ, และการตรวจจับท่าทางบุคคล แม้ตัวกล้องจะมีความละเอียดสูงแต่โมเดลต่างๆ ก็มักทำงานที่ความละเอียดต่ำกว่า สูงสุดไม่เกิน 640x640 เท่านั้น
HP เปิดตัวบริการซัพพอร์ตทางเทคนิคจากระยะไกลแบบใหม่ HP out-of-band remediation service สามารถเข้ามาซ่อมเครื่องให้ลูกค้าได้ แม้พีซีเครื่องนั้นบูตไม่ขึ้นก็ตาม
HP ระบุว่าตัวเองเป็นผู้ผลิตพีซีรายแรกที่สามารถให้บริการลักษณะนี้ได้ เบื้องหลังของมันคือระบบ KVM (keyboard, video and mouse) ที่สามารถควบคุมได้จากระยะไกล (ผ่านหน่วยประมวลผลขนาดเบาตัวที่สอง ของแพลตฟอร์ม Intel vPro) ช่างเทคนิคของ HP สามารถรีโมทเข้ามาตรวจสอบอาการเสีย เช่น บูตไม่ผ่าน อิมเมจระบบปฏิบัติการพัง หรือปัญหา BIOS ได้โดยไม่ต้องให้ลูกค้าลองทำตามที่บอก (แน่นอนว่าต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อน โดยการกดยืนยัน security code)
เว็บไซต์ XDA ตั้งข้อสังเกตว่า บรรดาผู้ผลิตโน้ตบุ๊กทั้งหลายยังเลือกใช้ซีพียูอินเทล ในโน้ตบุ๊กระดับพรีเมียมกันต่อไป แม้ในตลาดมีคู่แข่งทั้ง AMD Ryzen AI และ Qualcomm Snapdragon X ก็ตาม
ตัวอย่างโน้ตบุ๊กระดับพรีเมียมของปี 2024 ได้แก่
RHEL เปิดตัว RHEL AI แพลตฟอร์มสำหรับองค์กรที่ต้องการฝึกโมเดล generative AI, ปรับแต่ง, หรือรันโมเดล รูปแบบคืออิมเมจ RHEL ที่ใส่เครื่องมือมาพร้อมใช้งานแล้ว และจะได้รับการซัพพอร์ตจาก Red Hat
เครื่องมือที่ใส่เข้ามาในตัวได้แก่ โมเดล Granite ของ IBM เอง, InstructLab ชุดเครื่องมือพัฒนาแชตบอต, ไลบรารีสำหรับรันโมเดลปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ ที่ระบุชื่อมาแล้วคือ PyTorch
ลูกค้าสามารถซื้อไลเซนส์ได้บนเว็บพอร์ทัลของ Red Hat เพื่อนำอิมเมจไปรันในเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง อิมเมจนี้สามารถใช้งานได้บน AWS และ IBM Cloud สำหรับ Azure และ Google Cloud จะเปิดให้ใช้งานภายในสิ้นปีนี้
Google แถลงร่วมกับรัฐบาล ประกาศแผนการลงทุน 3.6 หมื่นล้านบาท สำหรับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์และศูนย์ข้อมูลในกรุงเทพและชลบุรี หลังประกาศตั้งรีเจี้ยนมาตั้งแต่ปี 2022
Google ระบุว่าจะมีส่วนช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 1.4 แสนล้านบาทแก่ GDP ของประเทศไทย ภายในปี 2029 และสร้าง 14,000 ตำแหน่งต่อปีโดยเฉลี่ย ตั้งแต่ปี 2025 ถึง 2029 จากการศึกษาของบริษัท Deloitte
ทีมพัฒนา Arch Linux ประกาศว่าได้สปอนเซอร์จาก Valve สนับสนุนให้พัฒนาโครงการย่อย 2 โครงการ ได้แก่ build service infrastructure และ secure signing enclave โดย Valve จะสนับสนุนการเงินให้กับนักพัฒนาเหล่านี้ในฐานะฟรีแลนซ์
Arc Linux บอกว่าการสนับสนุนของ Valve มีคุณค่ามาก เพราะเหล่าอาสาสมัครสามารถลงมือพัฒนาโครงการเหล่านี้ได้ทันที แทนการใช้แค่ช่วงเวลาว่างเท่านั้น โครงการเหล่านี้ยังจะช่วยแก้ปัญหาระยะยาวหลายๆ อย่างของ Arch Linux ได้ด้วย
Valve ใช้ Arch Linux เป็นแกนกลางสำหรับพัฒนา SteamOS เวอร์ชัน 3.x ที่ใช้กับเครื่องเกมพกพา Steam Deck โดย SteamOS เวอร์ชันก่อนหน้านั้น (ยุคที่ใช้กับ Steam Machine) พัฒนาบน Debian
SCBX แถลงข่าวการขายหุ้นบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood ให้กับกลุ่มผู้ลงทุน นำโดย ยิบอินซอย (Yip In Tsoi) ที่เป็นที่รู้จักในวงการไอทีในฐานะ Systen Integrator (SI)
กลุ่มทุนที่มาร่วมกับยิบอินซอยก็มี กลุ่ม Brooker Group บริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน, กลุ่ม SCT Rental Car บริษัทด้านธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์สำหรับใช้งานส่วนบุคคลและเชิงพาณิชย์และกลุ่ม LOXBIT บริษัทผู้ให้บริการไอทีโซลูชั่น สินเชื่อดิจิทัลครบวงจร
มูลค่าการซื้อขายครั้งนี้อยู่ที่สูงสุดไม่เกิน 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็นชำระเบื้องต้นทันที 400 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ จ่ายเพิ่มตามผลประกอบการสูงสุดไม่เกิน 1,600 ล้านบาท
Gavin Newsom ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียใช้สิทธิวีโต้กฎหมาย SB-1047 ที่ออกมาเพื่อควบคุมปัญญาประดิษฐ์ขนาดใหญ่ที่ฝึกด้วยต้นทุนเกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากนักวิชาการออกมาคัดค้าน เช่น Andrew Ng และ Fei Fei Li
Newsom ยอมรับว่ากฎหมายนี้ร่างขึ้นมาด้วยความตั้งใจดี แต่ให้เหตุผลที่วีโต้ว่ากฎหมายไม่ได้จำกัดที่การใช้งานว่าโมเดลปัญญาประดิษฐ์ถูกใช้งานในสภาพแวดล้อมเสี่ยงสูงหรือไม่จึงค่อยควบคุม แต่กลับควบคุมไปทั้งหมด
Cloudflare เขียนบล็อกอธิบายแนวคิดการให้บริการฟรีแบบไม่จำกัดแบนวิดท์ (unmetered) จนทุกวันนี้มีเว็บ 20% ในโลกให้บริการอยู่บน Cloudflare ว่าแนวทางนี้ทำให้บริษัทมีต้นทุนที่ถูกลงมาก และสามารถสร้างบริการใหม่ๆ ได้ดีขึ้น
ปกติแล้วผู้ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตจะต้องซื้อการเชื่อมต่อผ่าน transit provider ที่คิดค่าใช้งาน แต่เนื่องจากเว็บจำนวนมากให้บริการผ่าน Cloudflare ทำให้มี ISP ทั่วโลกขอเชื่อมต่อตรง (peering) เข้ามา ทำให้เน็ตเวิร์คของ Cloudflare เป็นเน็ตเวิร์คที่มี peer มาที่สุดเน็ตเวิร์คหนึ่งของโลก โดยต้นทุนค่าทราฟิกนี้คิดเป็น 80% ของต้นทุนสินค้าทั้งหมดของบริษัท ตามมาด้วยค่าเซิร์ฟเวอร์, ค่าเช่าศูนย์ข้อมูล, และค่าบุคคลากรตามลำดับ
แหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวระบุกับ Reuters ว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok กำลังจะฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์ด้วยชิป Huawei Ascend 910B เพิ่มเติม กระจายความเสี่ยงในการจัดหาชิป NVIDIA
ก่อนหน้านี้ ByteDance ก็ใช้ชิป Ascend 910B อยู่ก่อนแล้ว แต่ใช้งานรันโมเดลเป็นหลัก ไม่ได้ใช้ฝึกโมเดลที่ต้องการพลังประมวลผลหนักกว่า
ปัญหาอย่างหนึ่งคืออัตราการส่งมอบของ Ascend 910B ก็ไม่ดีนัก โดย ByteDance สั่งชิปไปแล้วกว่าแสนชุดแต่ส่งมอบได้สามหมื่นชุดเท่านั้น
ที่มา - Strait Times
Ruby on Rails เว็บเฟรมเวิร์คที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในงานสาย startup เปิดตัวเวอร์ชัน 8.0.0 Beta 1 เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 โดยมีสโลแกนใหม่ของการอัปเดตครั้งนี้ว่าเพื่อการ deploy แอป โดยไม่ต้องใช้ PaaS (Platform as a Service)
ใน Rails 8.0.0 Beta 1 มีฟีเจอร์สำคัญดังนี้:
Jason Schreier นักข่าวสายเกมคนดังของ Bloomberg กำลังจะมีผลงานหนังสือเล่มใหม่ชื่อ Play Nice: The Rise, Fall and Future of Blizzard Entertainment ช่วงนี้เขาเลยเดินสายโปรโมทหนังสือ และไปออกรายการพ็อดแคสต์ของ IGN เปิดเผย "ข้อมูลใหม่" ว่า Blizzard กำลังทำเกมยิงในจักรวาล StarCraft อีกครั้ง
ในยุค StarCraft รุ่งเรือง Blizzard เคยพัฒนาเกมยิงมุมมองบุคคลที่สามชื่อ StarCraft: Ghost ที่ถึงขั้นนำมาโชว์ในงาน E3 2005 แล้ว แต่ในปี 2006 โครงการถูกระงับไม่มีกำหนด และสุดท้ายถูกยกเลิกไป
หลังจาก Android 15 ออกรุ่นเสถียรเข้าโครงการ AOSP แต่เวอร์ชัน Pixel กลับต้องรอนานกว่าปกติ (เพราะ Pixel 9 ดันออกเร็วกว่าปกติ)
Vivo กลายเป็นเสือปืนไว ปล่อยอัพเดต Funtouch OS 15 ที่อิงจาก Android 15 ให้ผู้ใช้บางส่วนในอินเดียแล้ว สมาร์ทโฟนกลุ่มที่มีรายงานว่าได้อัพเดตแล้วคือ Vivo X Fold 3, Vivo X100 รวมถึงแบรนด์ลูกคือ iQOO 12 ด้วย
ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราเห็น Pixel เป็นจุดเริ่มต้นของการอัพเดต Android เวอร์ชันใหม่เสมอ ช่วงหลังๆ อาจมีซัมซุงสอดแทรกเข้ามาบ้าง แต่ตอนนี้กลายเป็น Vivo ปล่อยอัพเดตเร็วกว่าใครๆ แล้ว
ที่มา - Android Police
Mark Gurman แห่ง Bloomberg รายงานข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HomePod รุ่นใหม่มีหน้าจอสัมผัส ซึ่งคาดว่าแอปเปิลจะเปิดตัวช่วงต้นปีหน้า ในรูปแบบอุปกรณ์สมาร์ทโฮม มี Apple Intelligence ที่สามารถใช้ประชุมออนไลน์หรือคุย FaceTime ได้ด้วย
Gurman ไม่ได้เรียกอุปกรณ์ใหม่นี้ว่า HomePod มีจอ แต่บอกว่าเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้านที่มีหน้าจอตัวใหม่ โดยมีสองรุ่นย่อย ตัวแรกโค้ดเนม J595 หน้าจอใหญ่ระดับ iPad มีแขนกลที่คอยขยับจอตามตำแหน่งผู้ใช้งาน สำหรับงานประชุมออนไลน์ และอีกตัวราคาถูกลงมา J490 เป็นหน้าจอยึดตำแหน่ง ราคาจะอยู่ที่ 1,000 ดอลลาร์บวกลบ
NIST เผยแพร่แนวทางสำหรับความปลอดภัยของรหัสผ่าน (Password) ซึ่งระบุในเอกสาร 800-63B ภาพรวมนั้นคล้ายกับแนวทางที่เคยระบุในเอกสารฉบับก่อนหน้า แต่มีการเปลี่ยนแปลงบางหัวข้อ ซึ่งหลายคนอาจคุ้นเคยว่าเป็นแนวทางตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย แต่ NIST เปลี่ยนคำแนะนำแล้ว
โดยหัวข้อหนึ่ง NIST บอกว่า ต้องไม่กำหนดให้ตั้งรหัสผ่านที่ซับซ้อน ซึ่งมีทั้งอักษรตัวเล็ก-ตัวใหญ่ ตัวเลข และอักขระพิเศษ (Shall Not) แต่ต้องกำหนดให้รหัสผ่านยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร (Shall) และแนะนำให้กำหนดอย่างน้อย 15 ตัวอักษร (Should) ซึ่งนักวิจัยของ NIST ให้ข้อมูลว่า รหัสผ่านที่ยาวกว่านั้นปลอดภัยกว่า และดีกว่าการไปกำหนดให้ตั้งรหัสผสมอักขระ
Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สินค้าใหม่แอปเปิลขาประจำ โพสต์ข้อมูลล่าสุดว่าด้วย Apple Vision Pro รุ่นใหม่ ซึ่งเขาบอกว่าจะเริ่มเข้าสู่สายการผลิตหลักครึ่งหลังปี 2025 โดยใช้ชิป M5 (รุ่นปัจจุบันเป็น M2) ซึ่งทำให้การใช้งาน Apple Intelligence ได้ประสบการณ์ดีที่สุด
อย่างไรก็ตามนอกจากชิปรุ่นใหม่แล้ว สเป็กฮาร์ดแวร์ส่วนอื่น และการออกแบบภายนอกจะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก ซึ่งแอปเปิลคาดว่าจะช่วยทำให้ต้นทุนถูกลง และทำให้ราคาขายลดลงได้
เมื่อ Vision Pro จะเพิ่มฟีเจอร์ด้าน AI เข้ามา ส่วนจอที่สวมติดกับศีรษะจึงเป็นโจทย์สำคัญในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน ให้สั่งการต่าง ๆ ได้ราบรื่น และอาจเป็นคำตอบของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ AI ในอนาคตด้วย
DeepMind เผยแพร่งานวิจัยของ AlphaChip โมเดลปัญญาประดิษฐ์ช่วยออกแบบวงจรในชิป ซึ่งใช้งานจริงมาเงียบๆ สักระยะหนึ่งแล้วกับชิป TPU สามรุ่นหลังสุด, ซีพียู Google Axion รวมถึงชิปของบริษัทอื่นอย่าง MediaTek Dimensity 5G ด้วย
DeepMind บอกว่าการออกแบบชิปในปัจจุบันมีความซับซ้อนสูงมาก จึงนำแนวคิด reinforcement learning ให้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการ "เล่นเกม" แบบเดียวกับ AlphaGo และ AlphaZero แต่แทนที่จะเป็นโกะหรือหมากรุก ก็เป็นเกมออกแบบผังวงจรอิเล็กทรอนิกส์แทน
ในรายงานเรื่องเอกสารคาดการณ์ผลประกอบการของ OpenAI ที่ประเมินรายได้ปีนี้ 3.7 พันล้านดอลลาร์ มีอีกข้อมูลที่น่าสนใจคือแผนการขยับขึ้นราคาบริการ Subscription ChatGPT Plus
ปัจจุบันค่าบริการ ChatGPT Plus อยู่ที่ 20 ดอลลาร์ต่อเดือน แต่เพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น OpenAI อาจขึ้นราคาเป็น 22 ดอลลาร์ ภายในสิ้นปีนี้ และถ้ายังไม่พอ ภายในปี 2029 อาจเพิ่มราคาเป็นถึง 44 ดอลลาร์
ตัวเลขนี้อาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้นจริงก็ได้ เพราะ OpenAI น่าจะใช้ตัวเลขนี้ในการทำต้นแบบคาดการณ์รายได้ ขณะที่ TechCrunch มีข้อมูลสำรวจพบว่าตรงราคา 20 ดอลลาร์นี้ คนใช้งานจำนวนมากก็รู้สึกว่าแพงอยู่แล้ว
Adam Mosseri หัวหน้าทีม Instagram โพสต์คลิปอธิบายประเด็นหนึ่ง ที่เขาบอกว่าได้ยินคนพูดต่อกันแบบเข้าใจผิด ซึ่งสรุปได้ว่า
Mosseri จึงแนะนำว่าให้ลบลายน้ำเหล่านั้นออกไปก่อน วิดีโอก็จะไม่ถูกลด Reach นั่นเอง
ที่มา: Adam Mosseri
Mark Zuckerberg มีมูลค่าสินทรัพย์รวม (net worth) แตะหลัก 2 แสนล้านดอลลาร์ หลังจากมูลค่าหุ้นของ Meta พุ่งสูงขึ้นมากในปีนี้ ส่งผลให้สินทรัพย์ของเขามีมูลค่าเพิ่ม 7.34 หมื่นล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ต้นปี (คิดจากอันดับมหาเศรษฐีโลกของ Bloomberg)
Mark Zuckerberg กลายเป็นเศรษฐีคนที่ 4 ในโลกที่มีมูลค่าสินทรัพย์เกิน 2 แสนล้านดอลลาร์ โดยบุคคลที่รวยที่สุดในโลกตอนนี้ยังเป็น Elon Musk (2.72 แสนล้านดอลลาร์) ตามด้วย Jeff Bezos (2.11 แสนล้านดอลลาร์) และ Bernard Arnault (2.07 แสนล้านดอลลาร์)
มีข่าวลือมาระยะหนึ่งแล้วเรื่องแผนการออก HomePod รุ่นใหม่ของแอปเปิลที่เพิ่มหน้าจอสัมผัส ซึ่งน่าเชื่อถือมากขึ้นจากการพบชื่อฮาร์ดแวร์ใหม่ที่ระบุในโค้ดว่า HomeAccessory
ล่าสุด 9to5Mac มีข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข่าวหลายรายบอกว่า HomeAccessory นี้มีโค้ดเนมที่เรียกภายในแอปเปิลว่า J490 ใช้ชิป A18 จึงน่าจะรองรับการทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ Apple Intelligence
เว็บไซต์ Insider-Gaming เผยแพร่อีเมลภายในของ Yves Guillemot ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Ubisoft ส่งให้พนักงานทุกคน ทำให้เราทราบรายละเอียดมากขึ้น (กว่าที่แถลงต่อสาธารณะ) ว่า ทำไมถึงเลื่อนขาย Assassin's Creed Shadows และแนวทางการพัฒนาเกมในระยะยาวของบริษัท ที่จะกลับมาโฟกัสกับผู้เล่นเป็นหลัก
ความคืบหน้าล่าสุดของ X ถูกสั่งบล็อกในบราซิล หลังจาก X เปิดเผยว่าบริษัทจะปฏิบัติตามคำสั่งศาล และจ่ายเงินค่าปรับ แต่ก็ดูจะยังไม่จบในทันที
ศาลสูงสุดของบราซิลแจ้ง X ว่า บริษัทต้องจ่ายเงินค่าปรับเพิ่มเติมอีก 10 ล้านเรอัล หรือประมาณ 60 ล้านบาท เนื่องจากไม่ทำตามคำสั่งศาลเป็นเวลา 2 วัน จากการเปิดให้ผู้ใช้งานในบราซิลเข้าถึงแพลตฟอร์มได้ ซึ่งหาก X จ่ายเงินค่าปรับส่วนนี้ ศาลจะยกเลิกคำสั่งบล็อกทันที
ค่าปรับนี้เป็นส่วนที่เพิ่มมาจากค่าปรับจากความผิดแรก 18.35 ล้านเรียล (110 ล้านบาท) ที่บราซิลหักเงินออกมาจากบัญชีของ X และ Starlink ที่อายัดไว้
The Wall Street Journal รายงานจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ว่าตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ถึงแผนการเพิ่มทุน OpenAI รอบใหม่ ซึ่งมีรายชื่อแอปเปิล เป็นหนึ่งในผู้ร่วมลงทุนด้วย ล่าสุดแอปเปิลได้ตัดสินไม่เข้าร่วมการลงทุนแล้ว
Sarah Friar ซีเอฟโอของ OpenAI เปิดเผยว่าข้อตกลงการเพิ่มทุนทั้งหมดจะสรุปได้ภายในสัปดาห์หน้า โดยมีตัวเลขเงินลงทุนรวมไม่เป็นทางการอยู่ประมาณ 6,500 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการประมาณ 1.5 แสนล้านดอลลาร์ และไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายสำคัญใน OpenAI คาดว่าจะลงทุนเพิ่มในรอบนี้อีกประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์