แม้ว่ากระแสเทคโนโลยีองค์กรช่วงนี้จะหันไปทางไหนก็มีแต่ AI, ปัญญาประดิษฐ์กันไปหมด แต่ก็คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า คำว่า Data is the (new) oil ยังคงเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน เพราะไม่ว่าองค์กรจะนำเทคโนโลยีใหม่แค่ไหนมาใช้งาน แต่ Big Data ยังคงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ
แต่สิ่งหนึ่งที่หลายองค์กรอาจจะยังไม่รู้คือข้อมูลที่เรียกว่า Telco Data Insights จากผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถเป็นชุดข้อมูลสำคัญเพื่อช่วยให้องค์กรในต่อยอดธุรกิจได้อย่างแม่นยำ เข้าใจลูกค้า ไปจนถึงเข้าใจตลาดได้มากยิ่งขึ้น
มีรายงานจาก The Information ว่า Meta เตรียมเพิ่มหน้าจอแสดงผลในแว่นตาอัจฉริยะ Ray-Ban Meta Glasses เพื่อรองรับความสามารถใหม่ที่ต้องการใส่เข้ามาในอนาคต คาดว่าแว่นรุ่นใหม่นี้จะเปิดตัวภายในครึ่งหลังของปีหน้า 2025
หน้าจอแสดงผลนี้จะไม่ได้กินพื้นที่ทั้งเลนส์ของแว่นตาให้กลายเป็นอุปกรณ์ Metaverse เหมือนแว่นตา Orion แต่จะมีขนาดจอเล็ก ๆ อยู่ที่ด้านหนึ่งของแว่น ไว้แสดงข้อมูลแจ้งเตือน หรือแสดงผลการตอบสนองของ Meta AI
รายงานบอกว่าแว่นตา Ray-Ban Meta Glasses เป็นสินค้าขายดีมากกว่าที่ Meta ประเมินไว้ตอนแรก ทำให้บริษัทพยายามต่อยอดสินค้านี้ด้วยการใส่ฟีเจอร์ใหม่มาดึงดูดลูกค้ามากขึ้นนั่นเอง
xAI ประกาศรับเงินเพิ่มทุนซีรีส์ C รวม 6,000 ล้านดอลลาร์ ตามที่มีรายงานออกมาเมื่อต้นเดือน โดยกลุ่มนักลงทุนหลักได้แก่ Andreessen Horowitz, Blackrock, Fidelity, Kingdom Holdings, Lightspeed, MGX, Morgan Stanley, OIA, QIA, Sequoia Capital, Valor Equity Partners, Vy Capital และอื่น ๆ
xAI บอกว่าในการเพิ่มทุนรอบนี้ มีผู้ลงทุนเชิงกลยุทธ์รายสำคัญรวมอยู่ด้วยคือ NVIDIA และ AMD เพื่อสนับสนุนการขยาย Infrastructure ของบริษัท
บริษัทเครื่องพิมพ์ควบกิจการกันเอง Xerox ประกาศซื้อกิจการ Lexmark ด้วยมูลค่ารวม 1.5 พันล้านดอลลาร์ (รวมหนี้ของ Lexmark ที่ Xerox จะรับช่วงต่อให้) จากกลุ่มบริษัทลงทุนจีนเดิมที่เข้าซื้อ Lexmark ออกจากตลาดหลักทรัพย์ในปี 2016
Xerox ระบุว่า Lexmark เป็นพาร์ทเนอร์และซัพพลายเออร์ของตัวเองอยู่แล้ว การซื้อธุรกิจของ Lexmark ที่เด่นเรื่องเครื่องพิมพ์และเครื่องพิมพ์แบบมัลติฟังก์ชัน จะเข้ามาเติมเต็มไลน์สินค้าของ Xerox โดยเฉพาะกลุ่มตลาดเครื่องพิมพ์สี A4 รวมถึงช่วยขยายตลาดฝั่งเอเชียแปซิฟิก
การควบรวมครั้งนี้ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ Xerox + Lexmark ติดอันดับ Top 5 ในทุกเซกเมนต์ย่อย ทั้งเครื่องพิมพ์ระดับล่าง กลาง และโปรดักชัน
Steam ประกาศรายชื่อเกม Best of 2024 (ข่าวปี 2023)
เกมทำรายได้สูงสุดของปี 2024 (gross revenue) มีจำนวน 12 เกมในระดับ Platinum เป็นการผสมผสานกันทั้งเกมยอดฮิตตลอดกาล (เช่น Apex Legends, DOTA 2, CS2, PUBG) และเกมใหม่ยอดนิยมของปี 2024 ทั้ง Wukong, Palworld และ Warhammer
สำนักข่าว ETnews ของเกาหลีใต้ รายงานข่าวลือ ว่าในปี 2025 ซัมซุงจะเพิ่มเป้ายอดขาย Galaxy S25 มากขึ้น แต่จะปรับลดเป้าของมือถือจอพับ Galaxy Z Flip/Fold 7 ลง เนื่องจากยอดขายของ Galaxy Z Flip/Fold 6 ไม่เป็นไปตามเป้า
ตามข่าวบอกว่าเป้าของซีรีส์ Galaxy S25 จะอยู่ที่ 37.4 ล้านเครื่อง และจะมีรุ่นย่อยใหม่ Galaxy S25 Slim เพิ่มเข้ามา มีเป้าที่ 3 ล้านเครื่อง รวมเป็น 40.4 ล้านเครื่อง
ส่วน Galaxy Z Flip 7 เป้าคือ 3 ล้านเครื่อง และ Galaxy Z Fold 7 เป้าที่ 2 ล้านเครื่อง รวมเป็น 5 ล้านเครื่อง ลดลงจากเป้ารวมของ Galaxy Z Flip/Fold 6 ที่ 8.2 ล้านเครื่อง
X หรือ Twitter เดิม ประกาศสถิติคอนเทนต์มาแรงประจำปี 2024 บนแพลตฟอร์ม โดยมีม (Meme) แห่งปีเป็นของ "หมูเด้ง" หรือ Moo Deng ฮิปโปแคระสุดเฟมัสของโลกแห่งสวนสัตว์เปิดเขาเขียว มีจำนวนโพสต์เกี่ยวกับหมูเด้งถึง 7.7 ล้านโพสต์
หมูเด้งยังเป็นเหตุการณ์เด่นในรอบปี โดยอันดับอื่นมีทั้ง GTA VI, คอนเสิร์ต The Eras Tour ของ Taylor Swift, ยาปากกาลดน้ำหนัก Ozempic และเหตุการณ์สุริยุปราคา
ที่ผ่านมาชิปทั้งตระกูล A ใน iPhone และตระกูล M บน Mac, iPad ของแอปเปิล ใช้การออกแบบเป็น SoC ที่รวมซีพียูและจีพียูไว้ด้วยกัน แต่มีรายงานว่าในชิป M5 รุ่นถัดไปของแอปเปิล จะเปลี่ยนแนวทางโดยแยกซีพียูและจีพียูจากกัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูลนี้มาจาก Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สินค้าใหม่แอปเปิลสายซัพพลายเชนคนเดิม เขาบอกว่า TSMC มีกระบวนการผลิตชิปแบบใหม่เรียกว่า SoIC-mH (System-on-Integrated-Chips-Molding-Horizontal) เป็นการแพ็คเกจจิ้งชิปที่แตกต่างกันไว้ด้วยกัน โดยข้อดีคือการระบายความร้อนแยกส่วน เพราะไม่ได้อยู่บนชิปเดียวกัน และทำให้การผลิตชิปที่แยกส่วนมียิลด์ (yield) ที่ดีขึ้น
Pavel Durov ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Telegram เปิดเผยว่าตอนนี้ Telegram เป็นบริษัทที่มีกำไรแล้ว โดยปี 2024 นี้ แอปมีรายได้รวมมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ เป็นครั้งแรก มีสินทรัพย์เงินสดมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์ และยังไม่รวมคริปโตที่บริษัทถือครองด้วย
ปัจจัยสำคัญที่เร่งรายได้ให้ Telegram คือการออกบริการ Subscription "Telegram Premium" ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2022 โดยจำนวนผู้สมัครใช้งานปัจจุบันมีมากกว่า 12 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 3 เท่าจากปีก่อน
สุดท้าย Durov พูดถึงเรื่องหนี้สิน โดย Telegram ออกหุ้นกู้รวมแล้วกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เมื่อช่วงปลายปีบริษัทได้ชำระเงินต้นคืนให้ผู้ถือหุ้นกู้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้บอกว่าเท่าใด
ข่าวลือของค่าย AMD ออกมาเรื่อยๆ ก่อนงาน CES 2025 คราวนี้เป็นเรื่องของจีพียู Radeon สถาปัตยกรรม RDNA 4 ที่เดิมทีคาดว่าจะใช้แบรนด์ Radeon RX 8000 ทำตลาด แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าเลขจะขยับเป็น Radeon RX 9000 แทนแล้ว
เหตุผลน่าจะเป็นเพราะ AMD เตรียมเปิดตัวจีพียูออนบอร์ดสถาปัตยกรรม RDNA 3.5 สำหรับโน้ตบุ๊ก ซึ่งจะใช้แบรนด์ Radeon 8000S ทำให้จีพียูเดสก์ท็อปที่เป็น RDNA 4 ต้องขยับไปยังเลข 9000 แทน
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คดีความระหว่าง Arm กับ Qualcomm เรื่องไลเซนส์การใช้งานซีพียู Arm ของ Nuvia บริษัทลูกของ Qualcomm เข้าสู่กระบวนการไต่สวนในศาล ผลลัพธ์ในภาพรวมออกมาเป็นประโยชน์กับทาง Qualcomm มากกว่าทาง Arm
รายละเอียดของคดีนี้คือ Nuvia ซื้อไลเซนส์พิมพ์เขียวซีพียูจาก Arm เพื่อใช้กับซีพียูเซิร์ฟเวอร์ แต่หลังจากนั้น Nuvia โดน Qualcomm ซื้อกิจการ แล้วนำเทคโนโลยีของ Nuvia มาใช้กับซีพียูไคลเอนต์ Snapdragon X โดยจ่ายค่าตอบแทนให้ Arm ในราคาที่ Qualcomm จ่ายอยู่เดิม (ซึ่งถูกกว่าที่ Nuvia จ่าย) Arm มองว่าผิดเงื่อนไขใบอนุญาตและตัดสินใจฟ้อง Qualcomm
X แจ้งการขึ้นราคาแพ็คเกจสมาชิกรายเดือนตัวบนสุด X Premium+ จากเดิม 550 บาทต่อเดือน เป็น 750 บาทต่อเดือน ส่วนแบบจ่ายรายปีเพิ่มจาก 5,800 บาท เป็น 7,800 บาท มีผลตั้งแต่ 21 ธันวาคม 2024 ทั้งกับผู้สมัครสมาชิกใหม่ และลูกค้าเดิมที่มีรอบตัดบิลหลังวันดังกล่าว
X ให้เหตุผลของการปรับราคาว่าเพื่อให้สอดคล้องกับฟีเจอร์ที่ลูกค้ากลุ่ม X Premium+ ได้รับ
สำหรับแพ็คเกจสมาชิกรายเดือนที่ราคาถูกกว่า ยังไม่มีการปรับขึ้นราคาทั้ง X Basic ที่ 103.13 บาทต่อเดือน และ X Premium ที่ 275 บาทต่อเดือน
ที่มา: TechCrunch
HUAWEI เปิดตัว HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนจอพับระดับท็อปในประเทศไทย วางจำหน่าย 2 สี ได้แก่ สีดำ และ สีแดง เปิดพรีออเดอร์ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2667 – 10 มกราคม 2568 ในราคา 66,990 บาท
กฎหมายแบน TikTok จะมีผลในวันที่ 19 มกราคมปีหน้า โดยศาลสูงสุดสหรัฐได้นัดพิจารณาคดีในวันที่ 10 มกราคม อย่างไรก็ตาม โดนัลด์ ทรัมป์ แสดงท่าทีที่น่าสนใจต่อเรื่องนี้ โดยเขาได้กล่าวบนเวทีงาน AmericaFest ซึ่งจัดโดยกลุ่มอนุรักษนิยม Turning Point ว่า บางทีอาจจะต้องเก็บแอปนี้เอาไว้สักพัก
ทรัมป์ระบุเพิ่มเติมว่า น่าจะต้องคิดเรื่องนี้กัน เพราะเขาได้ลองใช้ TikTok แล้วได้ผลตอบรับระดับพันล้านวิว นอกจากนี้ เมื่อสัปดาห์ก่อน เขาได้พบกับ CEO ของ TikTok พร้อมแถลงว่าเขารู้สึกดีกับ TikTok เพราะแคมเปญหาเสียงเลือกตั้งของเขาประสบความสำเร็จไม่น้อยในกลุ่มคนหนุ่มสาว และ TikTok ก็น่าจะมีส่วนช่วยในเรื่องนี้
Jez Corden บรรณาธิการบริหารของ Windows Central ผู้มีประวัติข้อมูลหลุดสายไมโครซอฟท์แม่นยำหลายครั้ง ให้ข้อมูลว่าแผนการในอนาคตของ Xbox จะแทบไม่มีเกมเอ็กซ์คลูซีฟของตัวเองเหลือแล้ว หลังเริ่มปรับยุทธศาสตร์นำเกมลง PlayStation ตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นมา
สิ่งที่ผู้บริหารของไมโครซอฟท์พูดไว้คือจะพิจารณานำเกมลง PlayStation เป็นเกมๆ ไป โดยเกมล่าสุดของไมโครซอฟท์ที่ประกาศลง PlayStation คือ Indiana Jones and the Great Circle และ The Outer Worlds 2 แต่แหล่งข่าวของ Corden ชี้ว่าเกมเกือบทั้งหมดของไมโครซอฟท์จะไม่เป็นเอ็กซ์คลูซีฟ Xbox และจะมีส่วนน้อยๆ มากๆ เท่านั้นที่เป็นเอ็กซ์คลูซีฟ
Steam ทำหน้ารวมสถิติการเล่นเกมทั้งปี Steam Replay ให้ผู้เล่นแต่ละคนย้อนดูว่าปีนี้เล่นเกมอะไรไปแล้วบ้าง แม้ข้อมูลเหล่านี้เป็นสถิติส่วนตัวเกือบทั้งหมด แต่มีสถิติภาพรวมให้เห็นกันว่า ผู้เล่นบน Steam ใช้เวลาเพียง 15% เท่านั้นกับการเล่นเกมใหม่ของปี 2024 เท่ากับว่า 85% ที่เหลือคือการเล่นเกมเก่าที่ออกก่อนหน้านั้น
ถึงแม้ตัวเลขนี้อาจบอกอะไรไม่ได้มากนักว่า "เกมเก่า" นั้นเก่าแค่ไหน เพราะนับรวมทุกเกมที่ไม่ได้ออกในปี 2024 แต่ก็ช่วยให้เห็นภาพรวมว่าผู้เล่นส่วนใหญ่ยังเล่นเกมเก่าวนๆ ไปกันอยู่
สถิติอื่นๆ ของ Steam ที่น่าสนใจ
ใกล้งาน CES 2025 เข้ามาเรื่อยๆ ฝั่งของค่าย AMD ก็เริ่มมีข่าวหลุดข่าวลือของชิป Ryzen AI MAX 300 หรือที่รู้จักกันในโค้ดเนม Strix Halo สำหรับโน้ตบุ๊กสายเกมมิ่งออกมา
ตามข่าวบอกว่า Ryzen AI MAX จะมีรุ่น Pro สำหรับงานเวิร์คสเตชันมืออาชีพ และรุ่น non-Pro สำหรับเกมมิ่ง โดยชิปตัวแรงสุดจะใช้ชื่อ Ryzen AI MAX+ (มี +) ทำตลาด สถาปัตยกรรมซีพียูเป็น Zen 5 และสถาปัตยกรรมจีพียู RDNA 3.5
ข้อมูลเบนช์มาร์คบน PassMark ที่หลุดออกมาเป็นของชิปสองตัวคือ
นอกจากกริ่งประตูบ้านอัจฉริยะที่คาดเป็นสินค้าใหม่ของแอปเปิลแล้ว Mark Gurman แห่ง Bloomberg ยังให้ข้อมูลสินค้าตัวอื่นรุ่นอัปเกรดในจดหมายข่าว Power ประจำสัปดาห์ด้วย รายละเอียดดังนี้
มีรายงานจาก The Information ว่าบริการค้นหาข้อมูล Google Search จะเพิ่มตัวเลือก "AI Mode" ซึ่งเป็นการค้นหาข้อมูลด้วย AI ในลักษณะเดียวกับ ChatGPT Search ของ OpenAI ที่เริ่มเปิดให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถใช้ได้แล้ว
ตามรายงานบอกว่าแนวทางของกูเกิลจะไม่บังคับให้ทุกคนมาใช้เครื่องมือค้นหาด้วย AI ทั้งหมด แต่มาในรูปแบบทางเลือกในแถบผลลัพธ์การค้นหาร่วมกับ All, Images, Videos ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ต้องการผลลัพธ์จาก AI เลือกได้ โดยการแสดงข้อมูลจะเหมือนกับเวลาใช้งาน Gemini ที่ให้รายละเอียด พร้อมลิงก์ไปยังปลายทางที่เกี่ยวข้อง
Meta รายงานถึงความคืบหน้าในการย้ายโค้ด Android จาก Java ไปเป็น Kotlin หลังจากเปลี่ยนแนวทางมาใช้ Kotlin เป็นหลักตั้งแต่ปี 2020 แต่ก็ยังมีโค้ด Java จำนวนมาก แต่ในช่วงหลังก็สามารถเร่งความเร็วในการแปลงโค้ดได้จากการทำงานร่วมกับ JetBrains ผู้สร้าง IntelliJ
ก่อนหน้านี้ Meta แปลง Java เป็น Kotlin โดยอาศัยฟีเจอร์แปลงโค้ดของ IntelliJ เป็นหลัก การแปลงแต่ละครั้งอาศัยนักพัฒนาคลิก IDE ทีละไฟล์เอง กระบวนการนี้ทำให้การแปลงโค้ดช้ามาก ทาง Meta เข้าไปช่วย IntelliJ พัฒนา J2K ที่เป็นเอนจินแปลงโค้ดภายใน IntelliJ ให้สามารถรันได้โดยไม่ต้องการ IntelliJ
หลังจากนั้น Meta พัฒนาเครื่องมือภายใน ชื่อว่า Kotlinator ที่ใช้ J2K เป็นแกน แต่มีฟีเจอร์ต่างๆ เพิ่มเติม
โครงการ curl ไคลเอนต์ HTTP ยอดนิยมประกาศถอดโค้ดโครงการ hyper ที่เป็นไลบรารีภาษา Rust หลังจากโค้ดนี้ได้รับบริจาคจาก ISRG มาสี่ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถพัฒนาให้ฟีเจอร์เทียบเท่า libcurl ได้
ข่าวลือสินค้าใหม่แอปเปิลประจำสัปดาห์โดย Mark Gurman แห่ง Bloomberg คนเดิม ครั้งนี้เป็นอุปกรณ์สมาร์ทโฮมอีกหนึ่งอย่างที่แอปเปิลมีแผนผลิตขาย นั่นคือกริ่งประตูบ้านอัจฉริยะ (Smart Home Doorbell) ซึ่งมีจุดขายแตกต่างจากสินค้าในตลาดคือรองรับการรู้จำใบหน้าขั้นสูง
วิธีการทำงานของกริ่งประตูบ้านนี้ก็คือใช้การสแกนใบหน้าผู้ใช้งานเพื่อปลดล็อก คล้ายกับการทำงาน Face ID ใน iPhone
อย่างไรก็ตามแอปเปิลมีแผนพัฒนาเฉพาะส่วนกริ่งประตูและการปลดล็อกด้วยใบหน้าเท่านั้น แต่ตัวล็อกจะร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตรายอื่น ซึ่ง Gurman บอกว่าแอปเปิลอาจเลือกร่วมมือกับผู้ผลิตเพียงรายเดียว สถานะของโครงการนี้ยังอยู่ในขั้นต้น คาดว่าสินค้าจะออกสู่ตลาดได้เร็วที่สุดก่อนสิ้นปีหน้า
The Wall Street Journal มีรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ถึงปัญหาและอุปสรรค์ของการพัฒนา GPT-5 โมเดลแชทบอตปัญญาประดิษฐ์เวอร์ชันใหม่ของ OpenAI หรือที่มีโค้ดเนมภายในว่า Orion ซึ่งพัฒนามานาน 18 เดือนแล้ว
OpenAI ได้เทรนข้อมูลครั้งใหญ่สำหรับ Orion แล้วสองครั้ง โดยมีเป้าหมายให้ Orion เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ฉลาดรอบรู้มากขึ้น แต่ปัญหาที่พบว่าคือความสามารถของ Orion ยังไม่ก้าวกระโดดไปจาก GPT-4 อย่างที่คาดหวัง และอีกปัญหาสำคัญคือการเทรนแต่ละครั้ง กินเวลา 6 เดือน ใช้ทรัพยากรเพื่อประมวลผลอย่างเดียวราว 500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นต้นทุนทั้งเงินและเวลาที่สูงกว่าทุกครั้ง
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ออกเอกสารเพื่อขอความเห็นจากสาธารณะ (public consultation) เรื่องฟีเจอร์ของ iOS ที่ควรเปิดให้อุปกรณ์ยี่ห้ออื่นเชื่อมต่อได้ด้วย
เอกสารนี้กล่าวถึงฟีเจอร์หลายอย่างของ iOS แต่ที่สำคัญคือ AirDrop และ AirPlay ที่มุมมองของคณะกรรมการยุโรปเห็นว่า แอปเปิลควรเปิด AirDrop และ AirPlay ให้แอพหรืออุปกรณ์ค่ายอื่นๆ เข้าถึงได้ (กรณีของ AirPlay นั้นแอปเปิลเคยเปิดบ้างแล้ว)
ในเอกสารฉบับเดียวกัน ยังมีประเด็นว่าแอปเปิลควรอนุญาตให้แอพ 3rd party จากผู้พัฒนารายอื่น สามารถรันในแบ็คกราวน์ได้แบบเดียวกับแอพ 1st party ของแอปเปิลเอง
openSUSE เปิดตัวซอฟต์แวร์ GUI จัดการแพ็กเกจตัวใหม่ชื่อ YQPkg เขียนด้วย Qt เพื่อเป็นทางเลือกใหม่แทน YaST ของเดิมที่มีความซับซ้อนสูง
จุดเด่นของ YQPkg คือเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งพาส่วนประกอบใดๆ ของ YaST เลย ตัวมันขี่อยู่บน libzypp ที่ใช้จัดการแพ็กเกจแบบคอมมานด์ไลน์
สถานะของ YQPkg ยังเป็นอัลฟ่า และยังขาดฟีเจอร์หลายอย่าง เช่น การจัดการคีย์ GPG แต่ในอนาคตก็ดูมีศักยภาพ ที่จะนำมาใช้แทน YaST ซึ่งถือเป็นแอพครอบจักรวาลในโลกของ SUSE และตอนนี้โครงการ SUSE เองกำลังเขียนหลายๆ ส่วนมาแทน YaST อยู่